Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1456
Title: การเพิ่มมูลค่าสาหร่ายน้ำจืดเป็นอาหารสุขภาพชนิดเจล
Other Titles: VALUE ADDED OF THE FRESHWATER ALGAE AS JELLY FUNCTIONAL FOOD
Authors: รัตนาภรณ์, จันทร์ทิพย์
Keywords: สาหร่ายไก
สาหร่ายเตา
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ลดน้ำตาล
ลดคอเลสเตอรอล
Rhizoclonium hieroglyphicum
Spirogyra neglecta
antioxidant
anti- hyperglycemia
anti-hypercholesterolemia
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: สาหร่ายไก (Rhizoclonium hieroglyphicum (C. Agardh) Kitzing) และสาหร่ายเตา (Spirogyra neglecta (Hassall) Kutzing เป็นสาหร่ายน้ำจืดสีเขียวที่นิยมนำมาบริโภคเป็น อาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ถูกนำมาสกัดด้วยน้ำได้เป็นสารสกัดสาหร่ายไก (RE) และสารสกัดสาหร่ายเตา (SE) จากนั้นนำมาวิเคราะห์หาปริมาณ สารประกอบฟินอลิก และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ก่อนนำมาพัฒนาสูตรสารสกัดผสมสาหร่ายทั้ง 2 ชนิด (RSE) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ทางชีวภาพ โดยนำ RSE ไปวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก และทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระก่อนถูกนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพชนิดเจล (RSP) 4 สูตร ผลิตภัณฑ์นำไปทดสอบการยอมรับในอาสาสมัครเพื่อให้ได้สูตรที่ดีที่สุด และทดสอบ ประสิทธิภาพของ RSE และ RSP ต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือด ไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอล ในหนูขาว รวมถึงการวัดระดับเอนไซม์ต้านออกซิเดข้น ผลการสกัด RE และ SE ให้ปริมาณสารสกัด 46.97% และ 35.518 ตามลำดับ พบสารประกอบฟินอลิกใน SE (107.02 mgGAE/g extract) ปริมาณสูงกว่า RE (8.58 mgGAE/g extract) และเมื่อวิเคราะห์ปริมาณไอโซเควอชิทินในสารสกัด RE และ SE ด้วยเทคนิคลิควิดโครมาโทกราฟี-แมสเปกโทเมทรี (LC-MS) พบว่า มีปริมาณ 264 และ 288 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมตามลำดับ ฤทธิ์ขจัดอนุมูลอิสระเอบีทีเอสของ RE และ SE มีค่า 4.95 และ 379.01 mM TEAC/g extract ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าสารสกัดทั้ง 2 ชนิดมีสารไอโซเควอซิทิน เป็นสารฟีนอลิกที่ทำให้สารสกัดมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระได้ ผสการทดสอบเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ RSP พบว่า ระดับความเข้มข้น 0. 59 ของ ควรได้รับการยอมรับของสี กลิ่น เนื้อสัมผัส มีปริมาณ สารประกอบฟีนอลิกรวม 42.3 1 MgGAE/ s extract มีฤทธิ์ขจัดอนุมูลอิสระเอบีทีเอส ตีพีพีเอซ และ อนุมูลซุปเปอร์ออกไซด์ เท่ากับ 1115.28 mM TEAC/g extact , 33:17 และ 139.44 mgGAE/g extract ตามลำดับ และผลการทดสอบความชอบโดยรวมในอาสาสมัครที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป พบว่ามีความพึงพอใจในระดับชอบมากถึงชอบมากอย่างยิ่ง ส่วนผลการทดสอบในกลุ่มหนูขาวที่มี ภาวะเบาหวานและได้รับการป้อน RSE และ RSP ขนาด 500 มก/กก. เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า RSE และ RSP สามารถลดระดับน้ำตาล (38.539 และ 41.289) ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ (2.96% และ 36.849) และคอเลสเตอรอลรวมลดลง (25. 98%6 และ 21.0796) นอกจากนี้ทั้ง RSE และ RSP ยังสามารถลดระดับมาลอนไตอัลตีไฮต์ และเพิ่มระดับเอนไซม์ซุปเปอร์ออกไซด์ติสมิวเทสได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องจาก RSE และ RSP มีสารประกอบฟีนอลิก ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูล อิสระ มีฤทธิ์ช่วยเพิ่มความไว้ในการตอบสนองฮอร์โมนอินจูลิน ช่วยลคคอเลสตอรอล และเพิ่มระดับของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ดังนั้นทั้ง RSE และผลิตภัณฑ์ 3รP ที่พัฒนาขึ้นจากการผสมสารสกัดสหว่ายทั้ง 2 ชนิด เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภามในการควบคุมระดับน้ำตาล ลดคอเลสเตอรอลและลดภาวะเครียดออกชิเดชันในผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานได้
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1456
Appears in Collections:AP-Dissertation

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rattanaporn_chanthip.pdf90.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.