Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1615
Title: AGRICULTURAL LAND USE OF THE YOUNG SMART FARMERS IN THE REFORMED ALLOCATIVE DEMONSTRATION PLOT OF MAE AO RIVER BASIN DEVELOPMENT PROJECT BASED ON THE ROYAL INITIATION, NAKHON CHEDI SUB-DISTRICT, PASANG DISTRICT, LAMPHUN PROVINCE, THAILAND
การใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ในพื้นที่จัดสรร แปลงสาธิตโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
Authors: Supattra Khattha
สุพัตตรา ขัดทา
Pradtana Yossuck
ปรารถนา ยศสุข
Maejo University
Pradtana Yossuck
ปรารถนา ยศสุข
pradtana@mju.ac.th
pradtana@mju.ac.th
Keywords: โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่
เกษตรกรรุ่นใหม่
การใช้ประโยชน์ที่ดินทำการเกษตร
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
young smart farmer preparation and development project
young smart farmers
agricultural land use
Agricultural Land Reform Office
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: This study was conducted to explore: 1) agricultural land use of young smart farmers in the demonstration plot of Mae Ao Basin Development Project due to the royal initiation in Nakhon Chedi sub-district, Pasang district, Lamphun province; 2) factors related to land allocation and non allocation land of the young smart farmers; 3) problems encountered in the agricultural land use of the young smart farmers; and 4) guidelines for improving the agricultural land use of the young smart farmers.  In-depth interview was conducted with 13 young smart farmers who had been allocated agricultural land used since 2017. Results of the study revealed that the informants performed integrated farming (plant and animal domestication), crop rotation and refined agriculture.  In other words, they grew vegetables, annual plants, perennial plants, fruit trees and raised commercial animals.  Factors related to agricultural land use included needs for arable land and the transition from a hired worker to be a farmer.  However, those who were not allocated the agricultural land use was because they lacked of investment and household workforce.  The following were problems encountered: 1) infertile soil which needed long-time soil improvement; 2) restricted rules and regulations of Agricultural Land Reform Office; and 3) lack of community acceptance since the implementation of the project was not acknowledge to the surrounding community.  Guidelines for improving agricultural land use included the following: 1) the young smart farmers should be visited the site before they started their production planning; 2) concerned agencies must pay closed attention to the young farmers; 3) concerned agencies should support an accommodation to the farmer during the beginning of the land allocation should also provide initial understanding of the project to the surrounding community and stakeholders for future mutual collaboration between the young farmers and related agencies and community.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทราบการใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ในพื้นที่จัดสรรแปลงสาธิตโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน 2) เพื่อระบุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์และไม่ใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตร และค้นหาสภาพปัญหาอุปสรรคในการใช้ประโยชน์ที่ดิน 3)  เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ในพื้นที่จัดสรรแปลงสาธิตโครงการฯ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ได้รับการคัดเลือกและเข้าร่วมโครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ได้รับจัดสรรพื้นที่เข้าทำประโยชน์ทางการเกษตรจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดลำพูน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 จำนวน 13 ราย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ จำนวน 4 ราย ผู้นำชุมชน เกษตรกรบริเวณโครงการฯ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 6 ราย ผลการศึกษาพบว่า การใช้ประโยชน์ทางการเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ มีลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินโครงการทำการเกษตรผสมผสาน (พืช - พืช, พืช - สัตว์) พืชหมุนเวียนและ เกษตรประณีต โดยปลูกเป็นพืชผักสวนครัวและพืชอายุสั้น ไม้ผล ไม้ยืนต้น และเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงสาธิต คือ ความต้องการที่ดินทำกินเป็นของตนเอง และความต้องการปรับเปลี่ยนอาชีพจากการรับจ้างมาเป็นการทำเกษตรกรรม ส่วนเกษตรกรที่ไม่ใช้ประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับจัดสรร เนื่องจากขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพ ขาดแรงงานในครัวเรือน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมในโครงการด้านสภาพพื้นที่ของโครงการ คือ สภาพดินไม่สมบูรณ์จึงต้องใช้ระยะเวลาในการปรับปรุงบำรุงดินเป็นระยะเวลานาน ปัญหาในด้านระเบียบ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขและการดำเนินงานต่าง ๆ ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน ปัญหาด้านพื้นที่รองรับ คือ การไม่ได้รับการยอมรับจากชุมชน เนื่องจากชุมชนไม่มีการรับรู้ถึงการดำเนินงานของโครงการ แนวทางในการปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ คือ เกษตรกรควรได้เห็นพื้นที่จริงก่อนการวางแผนการผลิตและก่อนทดลองเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่จริง เมื่อเกษตรกรเข้ามาปฏิบัติจริงในพื้นที่รองรับแล้วเจ้าหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสนใจ ใส่ใจในรูปแบบของการเข้ามาอยู่ของเกษตรกรอย่างใกล้ชิด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนส่งเสริมด้านที่อยู่อาศัยระหว่างการทดลองเข้าประโยชน์ฯ รวมถึงต้องสร้างการรับรู้และทำความเข้าใจกับชุมชนและผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่เกี่ยวกับโครงการฯ เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันและเกิดการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างเกษตรกรรุ่นใหม่และชุมชน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1615
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6101417014.pdf5.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.