Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1616
Title: THE POTENTIAL DEVELOPMENT OF  MEMBERS OF A COMMUNITY PEST MANAGEMENT CENTER: A CASE OF KRAM COMMUNITY PEST MANAGEMENT CENTER, KRANG DISTRICT, RAYONG PROVINCE, THAILAND
การพัฒนาศักยภาพสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน กรณีศึกษา ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
Authors: Sumolnat Sosut
สุมลนาถ โสสุทธิ์
Pradtana Yossuck
ปรารถนา ยศสุข
Maejo University
Pradtana Yossuck
ปรารถนา ยศสุข
pradtana@mju.ac.th
pradtana@mju.ac.th
Keywords: ศักยภาพ
ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน
โรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริ
การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน
potential
community pest management center
farmer field school under the royal initiative
integrated pest management
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of study were to: 1) find current potential in the pest management of the Community Pest Management Center members in Kram sub-district, Klaeng district, Rayong province; 2) find needs for potential development of the Community Pest Management Center member; 3) develop the potential in pest management of the member; and 4) assess results of the potential development.  The sample group consisted of 32 members of the Community Pest Management Center who had been members of the center for at least one year. A set of questionnaires and quiz of knowledge and skills were used for data collection.  Obtained data were analyzed by using descriptive statistics and t-test. Results of the study revealed that the respondents had a low and moderate level of current knowledge and skills in sustainable pest management (mean=6.06 and 2.83 respectively).  Also, they had a low and very low level of survey and monitoring the pest situation (mean=6.44 and 1.77 respectively) and increasing production of natural enemies and biological products for pest control (mean= 6.25 and 2.46 respectively). The respondents had chosen to develop themselves in agricultural potential for sustainable pest management.  This was done through the process of the Farmer Field School under the Royal Initiative Project.  There were 4 topics of the participation in knowledge transfer: 1) creating a pest management calendar of a mangosteen; 2) introduction to identification of pests and natural enemies; 3) integrated pest management; and 4) agro-ecosystem analysis. There was both theoretical and practical learning in the process of the development. Findings showed that the respondents had a moderate and more level of the potential after the development of sustainable pest management in terms of knowledge and skills (mean=9 and 3.76, respectively).  According to a comparison between both results of the development, the respondents had increased knowledge and skills with a statistical significance level (P<0.05).
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทราบศักยภาพในการบริหารจัดการศัตรูพืชในปัจจุบันของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง 2) ทราบความต้องการการพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการศัตรูพืชของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน 3) พัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการศัตรูพืชของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน และ 4) ประเมินผลการพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการศัตรูพืชของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  โดยเป็นสมาชิกกลุ่มไม่ต่ำกว่า 1 ปี และสมัครใจเข้าร่วม จำนวน 32 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบวัดความรู้และทักษะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ t-test  ผลการศึกษา พบว่าสมาชิกผู้เข้าร่วมพัฒนาศักยภาพส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และเกือบทั้งหมดเป็นสมาชิกมากกว่า 9 ปี มีอายุเฉลี่ย 61 ปี มีการปลูกมังคุดเป็นหลัก ศักยภาพก่อนการพัฒนา พบว่า ด้านการบริหารจัดการศัตรูพืชได้อย่างยั่งยืน มีความรู้อยู่ในระดับน้อยและทักษะระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 6.06 และ 2.83) ด้านสำรวจและติดตามสถานการณ์ศัตรูพืช มีความรู้ระดับน้อย และทักษะระดับน้อยมาก (ค่าเฉลี่ย 6.44 และ 1.77) และด้านการผลิตขยายศัตรูธรรมชาติชีวภัณฑ์เพื่อใช้ควบคุมศัตรูพืช มีความรู้และทักษะในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 6.25 และ 2.46) สมาชิกมีมติเลือกพัฒนาศักยภาพด้านการเกษตรเพื่อการบริหารจัดการศัตรูพืชได้อย่างยั่งยืน โดยใช้กระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริ และการมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความรู้ 4 หัวข้อ ได้แก่ การจัดทำปฏิทินการดูแลมังคุดตลอดระยะ 1 ปี การจำแนกศัตรูพืชศัตรูธรรมชาติเบื้องต้น การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน  และการวิเคราะห์ระบบนิเวศเกษตร โดยเรียนรู้ภาคทฤษฎีและมีการฝึกปฏิบัติควบคู่กัน ศักยภาพหลังการพัฒนาด้านการบริหารจัดการศัตรูพืชอย่างยั่งยืน สมาชิกมีความรู้และทักษะ ในระดับปานกลางและระดับดี (ค่าเฉลี่ย 9 และ 3.76) การเปรียบเทียบผลการพัฒนาพบว่า สำหรับสมาชิกมีความรู้และทักษะหลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ (P<0.05)
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1616
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6101417016.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.