Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1627
Title: IMPACTS OF CORONA INFECTION (COVID-19) PANDEMIC CRISIS ON PRODUCTION FACTORS PROVISTON OF RICE GROWING FARMERS IN MAE RIM DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE
ผลกระทบจากวิกฤติการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)ต่อการจัดหาปัจจัยการผลิต ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Jaturapol Phiromakaradej
จตุรพล ภิรมย์อัครเดช
Phahol Sakkatat
พหล ศักดิ์คะทัศน์
Maejo University
Phahol Sakkatat
พหล ศักดิ์คะทัศน์
phahol@mju.ac.th
phahol@mju.ac.th
Keywords: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
ปัจจัยการผลิต
เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
Corona virus infection
production factors
rice farmers
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: This study was conducted to investigate: 1) socio - economic attributes of rice farmers; 2) impacts on procurement of production factors due to Corona virous infection; 3) factors the procurement of production factors; and 4)problems encountered and suggestions about the impacts on procurement of production factors. The sample group consisted of 170 rice farmers in Mae Rim district, Chiang Mai province was used for data collection and analyzed by descriptive statistics / multiple regression. Results of the study revealed that most of the respondents were male, 62.54 years old on average, elementary  school graduates and married. They had 5.90 agricultural labors and 8.25 rai of rice field on average. The respondents earned incomes from rice growing for 39,352.94 baht per year and form the non. Agricultural sector for 3,852.94 baht per month on average. The respondents ousehold expense was 10,035.88 baht and their own rice production capital was 27,567.05 baht/crop on average. They attended the agricultural training for 1.14 time per years. The respondents were members of are agricultural institute group and had 31.61 years of experience in rice growing. They perceived agricultural information 7.75 times and COVID - 19 pandemic 43.89 times per mouth on average. Coronavirus injection had impacts on the respondents at lowest level. The following factors had a relationship with the impacts on the procurement of production factors with a statistical significance level (sig.< 0.05) : a number of agricultural labor, household expenses, experience in rice growing and information perception about COVID - 19 pandemic. For problems encountered, it was found at a lowest level. This might be because the rice farmers had good plan management and prepared readiness to find production factors. This anchored on self-reliance and cousin dependence in the village. For suggestions of the rice farmers, the concerned private sector should control fertilizer and insecticide prices. Also, it should have price rice guarantee to reduce production costs.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 2) ผลกระทบต่อการจัดหาปัจจัยการผลิตจากวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 3)ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดหาปัจจัยการผลิตจากวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 4) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการศึกษาผลกระทบ ต่อการจัดหาปัจจัยการผลิต ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว จำนวน 170 คนซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 62.54 ปี ระดับประถมศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนแรงงานทำเกษตรเฉลี่ย 5.90 คน มีที่ดินปลูกข้าวเฉลี่ย 8.25 ไร่ มีรายได้จากปลูกข้าวเฉลี่ย 39352.94 บาทต่อปี มีรายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 3,852.94 บาทต่อเดือน มีรายจ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย 10,035.88 บาทต่อเดือน มีเงินทุนปลูกข้าวเฉลี่ย 27,567.05 บาทต่อครั้ง  ส่วนใหญ่ใช้แหล่งเงินทุนส่วนตัวปลูกข้าว เข้าร่วมอบรมด้านเกษตรเฉลี่ย 1.14 ครั้งต่อปี มีประสบการณ์ปลูกข้าวเฉลี่ย 31.61 ปี เป็นสมาชิกของสถาบันเกษตร 1 กลุ่ม ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด – 19 เฉลี่ย 43.89 ครั้งต่อเดือน ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการเกษตรจากสื่อต่างๆ เฉลี่ยอยู่ที่ 7.75 ครั้งต่อเดือน เกษตรกรได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาต่อการจัดหาปัจจัยการผลิต ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบจากวิกฤติการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ต่อการจัดหาปัจจัยการผลิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(sig. <0.05) ได้แก่ จำนวนแรงงานทำเกษตร รายจ่ายของครัวเรือน  ประสบการณ์ในการปลูกข้าว และการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ผลการศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของผลกระทบจากวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ต่อการจัดหาปัจจัยการผลิต ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวคือ มีปัญหาอุปสรรคน้อยที่สุดมีสาเหตุมาจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวมีการจัดการวางแผนและเตรียมความพร้อมในการจัดหาปัจจัยการผลิต โดยมีรูปแบบการพึ่งพาตนเองและจากญาติพี่น้องที่อยู่ภายในหมู่บ้านเดียวกัน ข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวต้องการให้ภาครัฐควบคุมราคาปุ๋ยยาฆ่าแมลงและให้มีการประกันราคาข้าวเพื่อลดต้นทุนในการจัดหาปัจจัยการผลิต
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1627
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6401333001.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.