Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1643
Title: FACTORS AFFECTING THE EFFECTIVENESS OF BEEF CATTLE FARMERS COOPERATION IN GUANGNAN COUNTY, YUNNAN PROVINCE, CHINA
ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ  ในเขตกว่างหนาน มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
Authors: Qi Jianling
Qi Jianling
Chalermchai Panyadee
เฉลิมชัย ปัญญาดี
Maejo University
Chalermchai Panyadee
เฉลิมชัย ปัญญาดี
chalermc@mju.ac.th
chalermc@mju.ac.th
Keywords: เกษตรกรรายย่อย
ความร่วมมือของเกษตรกร
การเลี้ยงโคเนื้อ
ธุรกิจการเกษตรประเภทใหม่
small-scale farmers
cooperation of farmers
beef cattle rearing
new types of agricultural business
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of this study were to: 1) analyze effectiveness of the coordination of small scale beef cattle farmers in Gungnan county, Yunan province, People’s Republic of China; 2) analyze factors effecting the effectiveness of the coordination of the small-scale beef cattle farmers; and 3) formulate guidelines for highest effectiveness in beef cattle production of the small-scale farmers.  The coordination was classified into 5 types based on the coordination with the following 5 central organizations : 1) the government, 2) organization, 3) cooperative, 4) family’s farm, and 5) neighbor.  The sample group consisted of 475 beef cattle farmers in Guangnan county.  Obtained by multi-stage sampling.  A set of questionnaires was used for data collection and analyzed by using descriptive statistics.  Another sample group consisted of cooperative leaders, entrepreneurs, technicians and government officials in the are.  Data were collected by interview, focus group discussion and analyzed by using content analysis OLS regression. Results of the study revealed that the effectiveness in the cooperation of the small-scale beef cattle in Guangnan were based on the following: 1) limitations on access to external support channels; 2) neighborhood relationships were and important channel of support; 3) effective coordinative between the small-scale beef farmers and stakeholders found at moderate level.  Age and time span of beef cattle rearing of the small scale beef cattle farmers were main positive factors effecting the coordination with neighbors.  For family traits, joining the cooperative was a main positive factor effecting the coordination with the 5 central organizations.  The government subsidies was the main positive factor effecting effective cooperation among the government, the small-scale beef cattle farmers had a positive effect to the government, the cooperative and small scale beef cattle farmers themselves. The following were policy recommendations: 1) The government should add subsidies appropriately for improving effective coordination. 2) The small-scale beef cattle farmers should be supported in business expansion and negotiation with the cooperative.  3) The government should supervise and protect benefits of the small-scale beef cattle farmers having coordination with various companies. 4) Improvement and assurance of fairness in government financial subsidies to various agencies. 5) Improvement of the efficiency in agricultural production related to beef cattle rearing.
วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยนี้คือ 1) วิเคราะห์ประสิทธิผลของความร่วมมือของเกษตรกรรายย่อยในการผลิตโคเนื้อในเขตกว่างหนาน มณฑลยูนนาน 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลในความร่วมมือในการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรในเขตกว่างหนาน และ 3) กำหนดแนวทางที่มีประสิทธิผลต่อความร่วมมือที่มีประสิทธิผลสูงสุดในการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรในเขตกว่างหนาน ทำการจำแนก 5 ประเภทความร่วมมือในการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ รัฐบาล องค์กร สหกรณ์ ฟาร์มครอบครัว และเพื่อนบ้าน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อที่อาศัยอยู่ในเขตกว่างหนาน มณฑลยูนนาน จำนวน 475 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบสามขั้นตอน นอกจากนี้ทำการสัมภาษณ์และอภิปรายกลุ่มย่อยในกลุ่มผู้นำสหกรณ์ ผู้ประกอบการ ช่างเทคนิค และข้าราชการในพื้นที่ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทำการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ และรวมถึงการใช้การถดถอย OLS ผลการศึกษารายงานว่าประสิทธิผลในการร่วมมือของเกษตรกรรายย่อยผู้เลี้ยงโคเนื้อในเขตกว่างหนาน มีความเป็นไปตามผลการศึกษาดังนี้ 1) เกษตรกรมีข้อจำกัดในการเข้าถึงช่องทางสนับสนุนจากภายนอก 2) ความสัมพันธ์กับละแวกใกล้เคียงเป็นช่องทางสนับสนุนที่สำคัญ 3) ความร่วมมือที่มีประสิทธิผลระหว่างเกษตรกรรายย่อยผู้เลี้ยงโคเนื้อกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่ในระดับปานกลาง อายุและเวลา ประสบการณ์การเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรรายย่อยเป็นปัจจัยบวกหลักที่มีผลต่อความร่วมมือกับเพื่อนบ้าน ลักษณะครอบครัวเป็นปัจจัยบวกหลักที่มีผลต่อการร่วมมือกับองค์การกลางทั้งห้า เงินอุดหนุนจากรัฐบาลเป็นปัจจัยบวกหลักที่มีผลต่อความร่วมมือของรัฐบาล เกษตรกรรายย่อยและเพื่อนบ้าน นกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรรายย่อยนี้มีผลในทางบวกต่อรัฐบาล สหกรณ์ และเกษตรกรรายย่อยด้วยกันเอง ข้อเสนอแนวทางการพัฒนามีดังนี้ 1) รัฐบาลควรเพิ่มเงินอุดหนุนที่เหมาะสมและเป็นการปรับปรุงประสิทธิผลของความร่วมมือ 2) สนับสนุนเกษตรผู้เลี้ยงโคเนื้อในการขยายธุรกิจและปรับปรุงความสามารถในการเจรจากับสหกรณ์ 3) รัฐบาลควรกำกับ ดูแล และปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกรรายย่อยที่มีความร่วมมือกับบริษัทต่าง ๆ 4) ปรับปรุงและประกันความเป็นธรรมของเงินอุดหนุนจากรัฐบาลให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ 5) ปรับปรุงประสิทธิผลการผลิตทางการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงโคเนื้อ
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1643
Appears in Collections:School of Administrative Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6005501011.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.