Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1662
Title: STRATEGY AND TRANSFORMATION FOR TOURISM ENTREPRENEURS TO COMPETE IN THE MARKET IN THE DIGITAL AGE
กลยุทธ์การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวสำหรับยุคดิจิทัลในเชียงใหม่
Authors: Janwipa Saichumin
จันทร์วิภา สายชุ่มอินทร์
Preeda Srinaruewan
ปรีดา ศรีนฤวรรณ
Maejo University
Preeda Srinaruewan
ปรีดา ศรีนฤวรรณ
preeda@mju.ac.th
preeda@mju.ac.th
Keywords: กลยุทธ์การปรับตัว
ยุคดิจิทัล
ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวเชียงใหม่
Adaptation strategies
Digital age
Tour business operators in Chiang Mai
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: The disease outbreak of COVID-19 and impacted the tourism economy. The economic crisis caused tour operators in Chiang Mai, leading to the study of adaptation strategies for the business. This study aimed to review the adaptation strategies of tour operators for the digital age in Chiang Mai by using a qualitative research process. The tool was an interview form by studying and analyzing external environmental factors PEST Analysis and marketing strategies 3C Model. The acquisition of important information is interviews with tour operators and related agencies by bringing the information obtained from the consultation to analyze to create a conclusion. The result of this research on changing the COVID-19 situation that affected the tourism business in Chiang Mai Province found that the behavior of tourists has changed since there are social crises and disruptive technology that makes the tourists prefer to use social networks to buy goods and services. There is high market competition, so entrepreneurs must develop their organizations. Change the artistic direction to suit the times. Work with partners to make a difference novelty of the product to have a higher value. ​The adaptability of tour business operators in Chiang Mai Province found three aspects of adaptation: 1) Tourism promotion, 2) Changing tourism activities, and 3) Strengthening tourism businesses. Tour operators are aware of strategies to adapt for the business’s survival. They know how to plan and modify the service and recover quickly under challenging situations. All related agencies have seen the big picture and can create schemes and policies to support and apply a guideline for tourism businesses to continue to play a sustainable role in the Thai tourism industry.
จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง เศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ จึงนำมาสู่การศึกษากลยุทธ์การปรับตัวของธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การปรับตัวในยุคดิจิทัลของผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ ซึ่งผลการสำรวจได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว จำนวน 5 ราย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ราย จากนั้นรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์นำมาวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎี PEST Analysis ร่วมกับกลยุทธ์ทางการตลาด 3C Model เพื่อให้ได้บทสรุปในการปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ จากผลวิจัยการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โควิด-19 ที่มีผลต่อธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ จากการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกร่วมกับกลยุทธ์ทางการตลาด พบว่า ปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประกอบกับเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้นักท่องเที่ยวมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้บริโภคหันไปใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการซื้อสินค้าและบริการ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจนำเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ตลาดธุรกิจมีการแข่งขันกันสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการต้องพัฒนาภายในองค์กร ปรับเปลี่ยนทิศทางวัฒนธรรมให้เข้ากับยุคสมัย และทำงานร่วมกับคู่ค้าพันธมิตรทางธุรกิจ สร้างความแตกต่างและแปลกใหม่ของผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าสูงขึ้น การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีการปรับตัวด้วยกันทั้งหมด 3 ด้าน คือ 1) การส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยพัฒนาการให้บริการ บุคลากร และเพิ่มทักษะทางด้านภาษา นำเอาช่องทางการตลาดออนไลน์มาใช้ในการซื้อสินค้าและบริการ ภาครัฐให้การสนับสนุนและการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ 2) การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการท่องเที่ยว สร้างการตลาดที่แปลกใหม่และแตกต่าง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยส่งเสริมการตลาดออนไลน์ จัดเก็บฐานข้อมูลของลูกค้าที่มาใช้บริการเพื่อสื่อสารและแจ้งข่าวสารโปรโมชั่น 3) การสร้างความแข็งแกร่งให้กับการท่องเที่ยว ให้ความสำคัญในด้านความปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค ให้ความสำคัญแหล่งท่องเที่ยวชุมชน สร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น พัฒนาเศรษฐกิจจากฐานราก สู่กลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวได้ตระหนักถึงกลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ รู้ถึงการวางแผนและการปรับเปลี่ยนการให้บริการ สามารถฟื้นตัวอย่างรวดเร็วภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เห็นภาพรวม สามารถสร้างนโยบายแบบแผน และนำไปใช้เป็นแนวทางเพื่อให้ธุรกิจนำเที่ยวยังคงบทบาทในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยต่อไป
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1662
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6406401003.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.