Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1664
Title: FACEBOOK MARKETING STRATEGY AFFECTING THE BUYING DECISION MAKING FOR HEALTHY FOOD IN THAILAND
กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ ผ่านแพลตฟอร์ม Facebook ในประเทศไทย
Authors: nattakul wongka
ณัฐกุล วงศ์กา
Pusanisa Thechatakerng
ภูษณิศา เตชเถกิง
Maejo University
Pusanisa Thechatakerng
ภูษณิศา เตชเถกิง
sunny@mju.ac.th
sunny@mju.ac.th
Keywords: กลยุทธ์การตลาดออนไลน์
แพลตฟอร์ม Facebook
การตัดสินใจซื้อ
อาหารเพื่อสุขภาพ
Online marketing strategy
Facebook platform
Purchase decision
Healthy food
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of this research were to study the influence of different personal factors and online marketing strategies affecting on purchase decision making for healthy food via Facebook platform in Thailand. 400 of Facebook users aged between 25-65 years with prior experience to purchase healthy food via the Facebook platform in Thailand were collected data via questionnaire with its reliability of greater than 0.7 in this quantitative research. Data was analyzed by using the statistics; frequency, mean, percentage, standard deviation, T-Test, One-Way ANOVA, Pearson Correlation Coefficient and Multiple Regression Analysis with a statistical significance level of 0.05. The results indicated that most of the respondents were females, between 25-35 years of age, as government officers/state enterprise employees, bachelor’s degree holding, with single status, and average monthly income between 15,001-25,000 baht earning. Most of them live in the northern region, with prior experience purchasing healthy food, in particular natural food through the Facebook platform. T-test implied that the respondents with different gender had different purchase decision making for healthy food and One-Way ANOVA revealed that the respondents with different educational level had different purchase decision making for healthy food via Facebook platform in Thailand as well. In the same way, Multiple Regression Analysis confirmed that marketing promotion strategies in terms of promotion and personal service affected the healthy food purchase decision making via the Facebook platform in Thailand. Moreover, the results also showed that Female respondents were more likely to purchase healthy food through the Facebook platform than males. Respondents with higher education were more likely to purchase healthy food through the Facebook platform than those respondents with lower education.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลและกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านแพลตฟอร์ม Facebook ในประเทศไทย งานวิจัยเชิงปริมาณนี้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากผู้ใช้งาน Facebook ที่เคยซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านแพลตฟอร์ม Facebook ในประเทศไทยที่มีช่วงอายุระหว่าง 25-65 ปี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบค่าความเชื่อมั่นสูงกว่า 0.7 และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที (T-Test) สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียสันและการวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25-35 ปี มีอาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ระดับการศึกษาปริญญาตรี สถานะภาพโสด มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-25,000 บาท นอกจากนี้ยังเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่อาศัยในภาคเหนือ และเคยซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านแพลตฟอร์ม Facebook ประเภทอาหารธรรมชาติ ผลการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (T-Test) พบว่าเพศที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านแพลตฟอร์ม Facebook ในประเทศไทย และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ยังพบว่าระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านแพลตฟอร์ม Facebook ในประเทศไทย นอกจากนี้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ได้ยืนยันว่า กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ด้านการส่งเสริมการตลาดและด้านการให้บริการส่วนบุคคล มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านแพลตฟอร์ม Facebook ในประเทศไทย โดยเฉพาะเพศหญิงมีแนวโน้มที่จะซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านแพลตฟอร์ม Facebook มากกว่าเพศชาย และในระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่า มีแนวโน้มที่จะซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านแพลตฟอร์ม Facebook มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี 
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1664
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6406401008.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.