Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1670
Title: MANAGEMENT MODEL FOR LOCAL FOOD TOURISM IN TRANG
รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาหารประจำถิ่นของจังหวัดตรัง
Authors: Suyaporn Sortrakul
สุญาพร ส้อตระกูล
Monsicha Inthajak
มนสิชา อินทจักร
Maejo University
Monsicha Inthajak
มนสิชา อินทจักร
monsicha_i@mju.ac.th
monsicha_i@mju.ac.th
Keywords: รูปแบบการจัดการ
การท่องเที่ยวเชิงอาหาร
อาหารประจำถิ่น
ประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหาร
management model
gastronomy tourism
local foods
food tourism experience
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: The local cuisine background of Trang Provinces that there are three types of local cuisine in Zhuang: Thai China, southern Thailand, and coastal seafood. The uniqueness of Trang is known as "Trang people eating 9 meals" The unique taste, spiciness, and rich flavor of the dish. The specialty dish on the menu is chicken curry. The Three Major Cultures of China, Thailand, Buddhism, and Islam Most local restaurants have passed certification for food safety standards, clean food labels, and safe travel labels. As for the value of high-quality food that inherits wisdom, it can be passed down from generation to generation. The potential of local food tourism in Trang Province has been discovered, with 63.25% of women aged between 21 and 40, accounting for Most of them are self-employed. They enjoy dining with 4-5 friends. The overall potential of local food tourism in Trang is very high (average 4.00). Considering the potential of local food tourism management and the attractiveness of local food tourism There is great potential for supporting local food tourism, especially the unique cuisine of Dongli Prefecture. The cultural value of Trang. otherwise some facilities such as   private car rental services, clean and safe toilets in restaurant are the lowest average of the potential for local food tourism in Trang The overall demand for local cuisine experience is high (average 4.04) Most customers hope to have a travel experience to avoid monotony and gain a good experience in food tourism activities. The locals recognize the cultural and religious diversity of the Trangarea, as well as the culinary tourism activities that are different from those familiar with food. Knowledge and experience are required to create simple local menus during training activities for self-consumption at home. Attend cooking seminars and short-term local cooking courses and experience the need for local cooking with renowned chefs from TrangProvince. Experience the need for fun during festivals, food festivals, competitions, or local cooking competitions and watch performances during festivals. Thailand Food Tour Chinese and Southern cuisine and seafood. Start by searching for ingredients and cooking Southern cuisine together with rural lifestyles. Cooking, dining and activities, such as roast pork, Dim sum, deep-fried dough sticks, roti, grandparent curry Steamed crabs, etc. The Muslim lifestyle on the island and local seafood cooking. And activities to live with the old urban community in Trang cuisine, starting with selecting ingredients, cooking, and eating. Local food tourism management to achieve sustainability by using upstream management model to develop food tourism infrastructure. Midstream management to improve the quality of life of personnel involves food tourism, including local people. and downstream management as a tourism destination through experiences from local food tourism activities that foresee the importance of cultural values. Catering to a specific group of tourists who come to eat local food that is linked to the 4 specific groups in the experience activities. From the aspects of entertainment, Education, esthetic and Escapist, daily repetition for a suitable and sustainable tourism destination at Trang province
การศึกษาวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาหารประจำถิ่นของจังหวัดตรัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทอาหารประจำถิ่นของจังหวัดตรัง 2) วิเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารประจำถิ่น 3) วิเคราะห์ความต้องการประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหารประจำถิ่น และ4) สร้างรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาหารประจำถิ่นของจังหวัดตรัง งานวิจัยนี้เป็นการใช้วิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวนทั้งหมด 400 คน  จากการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวนทั้งหมด 29 คน และการสนทนากลุ่มย่อยในการระดมความคิดเห็นรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาหารประจำถิ่นของจังหวัดตรัง ประกอบด้วยตัวแทนผู้ประกอบการร้านอาหาร นักวิชาการ และตัวแทนภาครัฐ จำนวน 5 คน ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ในแต่ละประเด็นและสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย นำเสนอข้อมูลแบบพรรณนา บริบทอาหารประจำถิ่นของจังหวัดตรัง พบว่า อาหารประจำถิ่นของตรังมี 3 ประเภท ได้แก่ มนูอาหารประเภท ไทย – จีน  ไทยพื้นถิ่นใต้ และอาหารทะเลชายฝั่ง ความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดตรังได้รับขนานานามว่า “คนตรังกินกัน 9 มื้อ” ความเป็นเอกลักษณ์ของการย่างหมูโดยใช้หลุมเตา มีความโดดเด่นในด้านรสชาติมีเอกลักษณ์ความเผ็ดร้อน และรสชาติที่เข้มข้นของอาหาร รวมถึงเมนูที่โดดเด่น คือ แกงไก่ตายายเป็นอาหารสืบทอดผสมผสาน 3 วัฒนธรรม ของชาวจีน ชาวไทยพุทธ และ อิสลามเข้าไว้ด้วยกัน ส่วนด้านคุณภาพอาหาร ร้านอาหารประจำถิ่นส่วนใหญ่ได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร ป้ายอาหารสะอาด และป้ายมาตฐานท่องเที่ยวปลอดภัย ส่วนความคุ้มค่าอาหารเชิงคุณภาพในการการถ่ายทอดภูมิปัญญา การทำอาหารท้องถิ่นแท้ ๆ ดั้งเดิมจากรุ่นสู่รุ่นได้ ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารประจำถิ่นของจังหวัดตรัง พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 63.25 อายุ ระหว่าง 21 – 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 53 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว นิยมรับประทานกับกลุ่มเพื่อน ประมาณ 4-5 คน ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารประจำถิ่นของจังหวัดตรังโดยภาพรวมอยู่ในระดับมีศักยภาพมาก (ค่าเฉลี่ย 4.00) เมื่อพิจารณาศักยภาพด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาหารประจำถิ่น การดึงดูดใจของการท่องเที่ยวเชิงอาหารประจำถิ่น และการรองรับการท่องเที่ยวเชิงอาหารประจำถิ่นมีศักยภาพอยู่ในระดับมากตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารประจำถิ่นตรังมีความเป็นเอกลักษณ์ และส่งเสริมความงดงามทางวัฒนธรรมของตรังมีศักยภาพอยู่ในระดับมากที่สุด อย่างไรก็ตาม การบริการรถเช่าของบริษัทเอกชนที่มีให้เลือกอย่างการบริการห้องน้ำที่สะอาดปลอดภัย และมีเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการร้านอาหารถือว่ามีค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด ความต้องการประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหารประจำถิ่นโดยรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.04) ส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการมีความต้องการประสบการณ์การท่องเที่ยวในการหลีกหนีความจำเจทำให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารประจำถิ่นรับรู้ถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม และศาสนา และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารประจำถิ่นตรังที่สร้างความแตกต่างจากอาหารที่คุ้นเคย ความต้องการประสบการณ์ด้านความรู้ ในกิจกรรมการอบรมทำเมนูอาหารประจำถิ่นแบบง่ายเพื่อทานเองในบ้าน การเข้าร่วมกิจกรรมฝึกมอบรมสัมมนาเชิงอาหาร การเรียนหลักสูตรทำอาหารประจำถิ่นระยะสั้น และความต้องการประสบการณ์การร่วมทำอาหารประจำถิ่นกับเชฟดังของจังหวัดตรัง ความต้องการประสบการณ์เพื่อเกิดความสนุกสนานในเข้าร่วมกิจกรรมเทศกาลงานอาหาร การชมการประกวดหรือการแข่งขันการทำอาหารประจำถิ่น และการชมการแสดงในงานเทศกาล และความต้องการประสบการณ์ในด้านความสุนทรียะในกิจกรรมการทำเส้นทางท่องเที่ยวชิงอาหารเพื่อแสวงหาอาหารประจำถิ่นครบทั้ง อาหารแบบไทย – จีน อาหารพื้นถิ่นใต้ และอาหารทะเล กิจกรรมการใช้ชีวิตร่วมกับวิถีชีวิตชุมชนชนบทในการทำอาหารพื้นถิ่นใต้ ตั้งแต่การเริ่มหาวัตถุดิบ การปรุง การรับประทาน และกิจกรรมที่ได้รับประทานอาหารประจำถิ่นที่มีชื่อเสียง เช่น หมูย่าง ติ่มซำ ปาท่องโก้ โรตี แกงไก่ตายาย ปูม้านึ่ง เป็นต้น อีกทั้งกิจกรรมการใช้ชีวิตร่วมกับวิถีชีวิตชาวมุสลิมบนเกาะและร่วมทำอาหารทะเลท้องถิ่น และกิจกรรมการใช้ชีวิตร่วมกับชุมชนย่านเมืองเก่าในการทำอาหารแบบไทย – จีน เริ่มตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบ การปรุง และการรับประทาน ตามลำดับ การจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาหารประจำถิ่นเพื่อให้เกิดความอย่างยั่งยืนโดยใช้รูปแบบการจัดการต้นน้ำในการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวอาหาร การจัดการกลางน้ำในการยกระดับคุณภาพชีวิตของบุคลากรเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงอาหารรวมถึงคนในท้องถิ่น และการจัดการปลายน้ำในการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวผ่านประสบการณ์จากกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารประจำถิ่นที่มีเล็งเห็นความสำคัญทางด้านคุณค่าทางวัฒนธรรม การรองรับนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มที่เดินทางมาเพื่อทานอาหารท้องถิ่นที่เชื่อมโยงประสอบการที่ได้รับจากกิจกรรมทั้งทางด้านความสนุกสนาน ความรู้ ความมีสุนทรียะและการหลีกหนีความจำเจจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ซ้ำ ๆ ในทุกวันได้ เพื่อให้จังหวัดตรังเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสมยั่งยืน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1670
Appears in Collections:School of Tourism Development

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6109501003.pdf8.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.