Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1676
Title: ACTIVE AGING OF THE ELDERLY IN URBAN AREA,CHIANG MAI PROVINCE
ภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Pitchawee Oborm
พิชชาวีร์ โอบอ้อม
Apichart Traisaeng
อภิชาติ ไตรแสง
Maejo University
Apichart Traisaeng
อภิชาติ ไตรแสง
apichart@mju.ac.th
apichart@mju.ac.th
Keywords: ภาวะพฤฒพลัง
ผู้สูงอายุ
Active Aging
Elderly
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of this research were to: 1) determine the level of active aging of elderly; 2) study factors associated with active aging among elderly; and 3) provide guidelines for health promotion management of elderly in urban area, Chiang Mai province. The samples used in the study according to research objective number one and number two were 395 elderly people aged 60 years and over living in urban areas in Chiang Mai province who scored at least 12 from the daily activity score (Barthel Activities of Daily Living: ADL). The multi-stage random sampling was implemented the data was collected by questionnaires. The first one was questionnaires assessing the level of active aging. The second one was questionnaires assessing factors associated with active aging among elderly, biosocial, social and culture, psychology, health behaviors, and health literacy. The data were analyzed by using descriptive statistics including frequency, percent, arithmetic mean, and standard deviation. The data were analyzed by using Inferential statistics including Person’s Product Moment Correlation Coefficient, Stepwise Multiple Regression Analysis. The sample group used in the study according to objective number three was 4 elderly club presidents and 1 community leader from each sub-district, totaling 8 people. Data was gathered using brainstorming techniques. The results of the study were as follows: 1.  Active aging of the elderly in urban area, Chiang Mai province was found at a good level (x̅ = 0.80, S.D. = 0.41). 2. For biosocial factor, 52.91 percent of them were female, aged between 60 - 69 years old 66.08 percent, most of them were married 78.20 percent, got an elementary education level 53.42 percent, lived on the elderly allowance 64.30 percent, earned less than 2,500 baht/month, 30.38 percent had insufficient incomes. Most of them have underlying diseases (94.94%). The underlying diseases were diabetes, high blood pressure, hyperlipidemia, osteoarthritis and cancer. Most of the elderly were with spouses (78.23%) and there were elderly who could rely on their children (78.55%). Most of the elderly were registered as the elderly 92.91%. 3. Social and Culture, Psychology, Health behaviors, and Health literacy factors associated with active aging among elderly were found at a good level. (x̅ = 3.52, S.D. = 0.78), (x̅ = 3.50, S.D. = 0.71), (x̅ = 3.42, S.D. = 0.52), (x̅ = 3.44, S.D. = 0.68) respectively. 4. Factors affecting active aging of elderly in urban areas, Chiang Mai province the most, including the factors of health literacy, health behaviors, psychology, social and culture. These factors could together explain the variation in active aging the elderly by 76 percent (Adjusted R Square = 0.76, F = 14.74, p < 0.01). 5. The guidelines for health promotion management revealed the following: enhancement unit of health service management, the process of public health policy; focus on self-reliance, participation of community and preventing health promotion and development of medical personal, nursing, public health officer, public health volunteer and others.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ และ 3) ศึกษาแนวทางการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยข้อที่ 1 และ 2 เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อยู่ในเขตชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และมีคะแนนจากการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันได้ไม่น้อยกว่า 12 คะแนน การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi stage random sampling) รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 395 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุและแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ ได้แก่ ปัจจัยด้านชีวสังคม ด้านสังคมวัฒนธรรม ด้านจิตวิทยา ด้านพฤติกรรมสุขภาพ และด้านความรอบรู้เรื่องสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย (Descriptive statistics) ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงสรุปอ้างอิง (Inferential statistics) ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product – Moment Correlation Coefficient) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ทำการเลือกจากผู้นำชุมชนที่เป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 8 คน (ชาย 4 คน/หญิง 4 คน) และทำการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interviews) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)     ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 0.80, S.D. = 0.41) 2. ปัจจัยด้านชีวสังคม พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.91 อายุระหว่าง 60 - 69 ปี ร้อยละ 66.08 สถานภาพสมรสส่วนใหญ่สมรส ร้อยละ 78.20 ระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 53.42 แหล่งที่มาของรายได้มาจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.30 รายได้เฉลี่ยต่อคน ส่วนใหญ่น้อยกว่า 2,500 บาท/เดือน ร้อยละ 30.38 และรายได้ไม่เพียงพอ ร้อยละ 74.43 ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวตัว ร้อยละ 94.94 เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเส้นเลือด โรคข้อเสื่อม และโรคมะเร็ง การพักอาศัยส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับคู่สมรส ร้อยละ 78.23 และมีบุคคลสามารถพึ่งพาได้ส่วนใหญ่เป็นบุตร ร้อยละ 78.55 และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้สูงอายุ ร้อยละ 92.91 3. ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านจิตวิทยา ด้านพฤติกรรมสุขภาพ และด้านความรอบรู้เรื่องสุขภาพ ที่มีผลต่อภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุในภาพรวมแต่ละปัจจัยอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.52, S.D. = 0.78), (x̅ = 3.50, S.D. = 0.71), (x̅ = 3.42, S.D. = 0.52), (x̅ = 3.44, S.D. = 0.68) ตามลำดับ 4. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่มากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านความรอบรู้เรื่องสุขภาพ ปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพ ปัจจัยด้านจิตวิทยา และปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรมตามลำดับ สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่ได้ ร้อยละ 76 (Adjusted R Square = 0.76, F = 14.74, P < 0.01) 5. แนวทางการดำเนินการจัดการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพของหน่วยบริการสุขภาพผู้สูงอายุ การกำหนดนโยบายที่เหมาะสม โดยเน้นการพึ่งพาตนเอง การมีส่วนร่วมของชุมชน และการสร้างเสริมสุขภาพเชิงป้องกันเป็นสำคัญ มีการพัฒนาบุคลากรทางแพทย์พยาบาล อาสาสมัครสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1676
Appears in Collections:Liberal Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6214402001.pdf4.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.