Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1834
Title: KNOWLEDGE MANAGEMENT OF LOCAL VEGETABLE RODUCTION AND CONSUMPTION FOR HEALTH BAN MAE KAD NOI, PA PAI SUB-DISTRICT, SANSAI DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE
การจัดการความรู้การผลิตและการบริโภคผักพื้นบ้านเพื่อสุขภาพ บ้านแม่แก้ดน้อย ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Sanasiri Morkpang
สนาสิริ หมอกแปง
Tipsuda Tangtragoon
ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล
Maejo University
Tipsuda Tangtragoon
ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล
tipsuda@mju.ac.th
tipsuda@mju.ac.th
Keywords: การจัดการความรู้
เซกิ โมเดล (SECI Model)
การผลิตและการบริโภคผักพื้นบ้าน
knowledge management
SECI model
local vegetable production and consumption
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of this study were to: 1) explore community context and prior knowledge about local vegetable production and consumption; 2) create a knowledge set as good practice guidelines on production and consumption; and 3) expand knowledge sets on production and consumption.  The sample group consisted of 15 farmers having more than 20 years of experience in vegetable production and 10 young farmers living in the community.  Data were collected through in-depth interview, observation and focus group discussion.  The researcher had set a schedule guide in advance.  Obtained data were analyzed by using descriptive statistics, prioritization and descriptively presented. Results of the study indicated that Ban Maekad Noi was a semi-urban, semi-rural community.  Most people there were farmers because there were an irrigation system and flat area suitable for cultivation.  Ban Maekad Noi was a kinship society with a strong relationship.  The main income of most people there was from selling agricultural products.  They had an average farm area about 1 ngan to 2 rai per family.  Vegetables were grown for consumption and selling throughout the year.  Regarding prior knowledge about production and consumption, it was found that the informants preferred to produce and consume more than 40 kinds of local vegetables.  The following were top ten local vegetables grown there: 1) holy basil, 2) morning glory, 3) bok choy, 4) gurmar, 5) spinach, 6) wild pepper, 7) giant elephant ear, 8) paco fern, 9) phak nam and 10) wate fern.  The researcher and the sample group selected these local vegetables for creating two knowledge sets through SECI model: 1) production of 10 kinds of local vegetables and 2) local vegetable consumption for health.  Principles of alternative medicine, Dhamma medicine were used for cooking 9 healthy food and herbal juice.  The following were the expansion of the knowledge sets on local vegetable production and consumption: 1) farmer formal group forming called “Mor Din” group; 2) participation in a project to distribute seeds and vegetable produce without toxic chemicals; and 3) an agricultural learning source for students of Samma Sikkha Lanna Asoke.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทชุมชนและองค์ความรู้เดิมด้านการผลิตและบริโภคผักพื้นบ้าน 2) การสร้างชุดความรู้ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตและการบริโภค 3) การขยายผลชุดความรู้การผลิตและบริโภค กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือเกษตรกรที่มีประสบการณ์การปลูกผักมามากกว่า 20 ปี จำนวน 15 คน และเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่อาศัยอยู่ในชุมชนจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การสร้างเวทีโดยการสนทนากลุ่ม โดยผู้วิจัยใช้วิธีการกำหนดประเด็นหรือแนวคำถาม ไว้ล่วงหน้า บันทึกและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย การจัดอันดับและนำเสนอแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า บริบทของบ้านแม่แก้ดน้อยเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท อาชีพส่วนใหญ่ เป็นเกษตรกร  ชุมชนเป็นสังคมแบบระบบเครือญาติมีความสามัคคีมีวัดเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ มีโรงเรียน มีระบบสาธารณูประโภคที่ดี มีระบบชลประทาน มีพื้นที่ในการผลิตเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีอุณภูมิที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก มีพื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยครอบครัวละประมาณ 1 งาน – 2 ไร่  รายได้หลักมาจากผลผลิตทางการเกษตร มีการปลูกพืชผักเพื่อบริโภคและจำหน่ายตลอดทั้งปี องค์ความรู้เดิมด้านการผลิตและบริโภคพบว่า มีพืชผักพื้นบ้านที่เกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง นิยมผลิตและบริโภคมากกว่า 40 ชนิด โดยพืชผักพื้นบ้านที่นิยมผลิตและบริโภค 10 อันดับแรก ได้แก่ 1) กะเพรา 2) ผักบุ้ง 3) ผักกวางตุ้งดอก 4) ผักเชียงดา 5) ผักปลัง 6) ชะพลู 7) ทูน 8) ผักกูด 9) ผักหนาม 10) ผักแว่น ซึ่งผู้วิจัยและเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างได้ทำการคัดเลือกเพื่อนำมาสร้างชุดความรู้ ผ่านกระบวนการ เซกิ โมเดล (SECI Model) ได้ชุดความรู้ 2 ชุด คือ 1) ชุดความรู้ด้านการผลิตผักพื้นบ้าน 10 ชนิด 2) ชุดความรู้ด้านการบริโภคผักพื้นบ้านเพื่อสุขภาพโดยใช้หลักของแพทย์ทางเลือกแพทย์วิถีธรรมในการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ จำนวน 9 เมนู และน้ำสมุนไพร ส่วนการขยายผลชุดความรู้การผลิตและบริโภคผักพื้นบ้านเพื่อสุขภาพได้ดำเนินดังนี้ 1) มีการรวมกลุ่มเกษตรกรอย่างเป็นทางการในชื่อกลุ่มหมอดิน 2) เข้าร่วมโครงการแจกเมล็ดพันธุ์ มีโต๊ะปันสุข แจกผลผลิตพืชผักไร้สารพิษหน้าบ้าน 3) เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนสัมมาสิกขาลานนาอโศกมาเรียนรู้การทำกสิกรรม
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1834
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6301417013.pdf9.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.