Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1835
Title: BUILDING DATABASE AND RAISING AWARENESS ONCONSERVATION AND UTILIZATION OF LOCALRESOURCES IN THE REFORMED LAND AREA,BAN WANGLIANG, THUNG LUNG SUB-DISTRICT,LONG DISTRICT, PHRAE PROVINCE
การจัดทำฐานข้อมูลและการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่นในเขตปฏิรูปที่ดินบ้านวังเลียง ตำบลทุ่งแล้ง อำเภอลองจังหวัดแพร่
Authors: Nuefun Tinnarat
เหนือฝัน ติณรัตน์
Tipsuda Tangtragoon
ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล
Maejo University
Tipsuda Tangtragoon
ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล
tipsuda@mju.ac.th
tipsuda@mju.ac.th
Keywords: ฐานข้อมูล
ทรัพยากรท้องถิ่น
เขตปฏิรูปที่ดิน
การสร้างจิตสำนึก
การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร
databases
local resources
land reform areas
consciousness creation
conservation and utilization of resources
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of this participatory action research were to: 1) explore and collect data on local resources in the land reform area of Ban Wangliang, Thung Lung sub-district, Long district, Phrae province and 2) design activities in awareness creation on local resources utilization and conservation of youth in the land reform area.  The sample group consisted of Ban Wangliang community leaders and scholars, Ban Wangliang school, Thung Lung sub-district administrative organization personnel, youth, coordinating Center for Royal Initiative Plant Genetic Conservation Projects at Maejo University, Phrae Provincial Education Office and Phrae Provincial Land Reform Office.  Data were collected through questionnaire, observation, interview, and focus group discussion.  Obtained data were analyzed by using descriptive statistics and content analysis. Results of the study revealed that Ban Wangliang in the past covered an area of Moo 7-Ban Wangliang and Moo 12-Ban Thung Lung at present.  It was firstly established as a village in 1902.  At present, Ban Wangliang is in the land reform area of Thung Lung sub-district and it covers an area of 4,188 rai with 206 households (744 people).  More than one-half of the people there (62.52%) were adults doing tangerine orchards due to inadequate water and infertile soil.  People in Ban Wangliang were Buddhists and had a belief in the village guardian deity.  There was a ceremony to make offerings to the village guardian deity, which was local wisdom, the identity of the community. According to data exploration and collection, the following were found: 1) utilization of 25 types of plants; 2) utilization of one type of animals; 3) utilization of other bio-resources; 4) 5 wisdom information; 5) 2 resource information sources; and 6) 1 archeological information.  The design of activities in awareness creation of local resources for the youth comprised 3 parts : 1) local curriculum “Wangliang Studies” with liang, bamboo and tangerine as learning media; 2) preparation of a botanical garden operations plan with 5 components and plant studies of Ban Wangliang school.  Area A was designated to be the first study area where the mulberry tree was an educational plant.  There was an integrated plan to study and teach (11 learning plans).  There was an integrated plan on the school botanical garden with 5 components and on educational plant.  It was under the responsibility of Primary 1 – Secondary 3 teachers and 3) Phrae Provincial Agricultural Land Reform Office had a training project related to plant genetic conservation in fiscal year 2023 for lower secondary school students. This research operation had an effect on the occurrence of party networks driving the said projects in the land reform area.  Besides, children and youth had awareness of local resources utilization and conservation.  Not only this, Phrae Provincial Education Office encouraged Ban Wangliang school to be registered as a member of the school botanical garden.  This was in accordance with the project related to plant genetic conservation and the Phrae Provincial Agricultural Land Reform Office.  It was under the knowledge and skills development of personnel responsible for projects.
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและรวบรวมฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นในเขตปฏิรูปที่ดิน บ้านวังเลียง ต.ทุ่งแล้ง อ.ลอง จ.แพร่ และเพื่อออกแบบกิจกรรมในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่นให้กับเยาวชนในเขตปฏิรูปที่ดิน ต.ทุ่งแล้ง อ.ลอง จ.แพร่ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำและปราชญ์ชุมชนบ้านวังเลียง อบต.ทุ่งแล้ง โรงเรียนบ้านวังเลียง เยาวชน ศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดแพร่ และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดแพร่ (ส.ป.ก.แพร่) โดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูลการสังเกต การสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย ในการดำเนินการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่บ้านวังเลียงในอดีตครอบคลุมพื้นที่ ม. 7 บ้านวังเลียง และ ม. 12 บ้านทุ่งทอง ในปัจจุบัน ได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2445 ปัจจุบันอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ม.7 ต.ทุ่งแล้ง อ.ลอง จ.แพร่ มีเนื้อที่ 4,188 ไร่ มีประชากร 206 ครัวเรือน 747 คน ร้อยละ 62.52 ของประชากรเป็นวัยผู้ใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักเพาะปลูกส้มเขียวหวานเป็นส่วนใหญ่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ ชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธ และมีความเชื่อเรื่องพ่อเฒ่าหลวง มีพิธีแก้บนพ่อเฒ่าหลวงเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน การสำรวจและรวบรวมฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นในเขตปฏิรูปที่ดิน บ้านวังเลียง ต.ทุ่งแล้ง อ.ลอง จ.แพร่ ได้รวบรวมฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นในพื้นที่บ้านวังเลียง ม.7 และบ้านทุ่งทอง ม.12 ไว้ดังนี้ 1) ข้อมูลการใช้ประโยชน์พรรณไม้ 25 ชนิด 2) ข้อมูลการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์ 1 ชนิด 3) ข้อมูลการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพอื่น ๆ 1 ชนิด 4) ข้อมูลภูมิปัญญา 5 ภูมิปัญญา 5) ข้อมูลแหล่งทรัพยากร 2 แหล่ง และ 6) ข้อมูลโบราณคดี 1 โบราณคดี การวิจัยได้นำไปสู่การออกแบบกิจกรรมการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่นให้กับเยาวชน 3 ส่วน ได้แก่ 1) หลักสูตรท้องถิ่น “วังเลียงศึกษา” โดยมี เลียง ไผ่ไร่ และส้มเขียวหวาน เป็นสื่อการเรียนรู้ 2) การจัดทำแผนการดำเนินการงานสวนพฤกษศาสตร์ 5 องค์ประกอบและพืชศึกษาของโรงเรียนบ้านวังเลียง ได้กำหนดให้พื้นที่ A เป็นพื้นที่ศึกษาแห่งแรก มี “หม่อน” เป็นพืชศึกษา มีแผนบูรณาการพืชศึกษาสู่การเรียนการสอน 11 แผนการเรียนรู้ มีแผนการดำเนินการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 5 องค์ประกอบและพืชศึกษา ที่มีครูชั้น ป.1-ม.3 เป็นผู้รับผิดชอบ โดยดำเนินการในช่วงเดือนกันยายน ปี 2565 - มีนาคม 2567 และ 3) ส.ป.ก.แพร่ มีแผนการจัดฝึกอบรมโครงการ อพ.สธ.-ส.ป.ก. ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ให้แก่เยาวชน ชั้น ม.1-ม.3 ในหัวข้อการศึกษาและบันทึกลักษณะทางพฤกษศาสตร์และการทำตัวอย่างพรรณไม้ การดำเนินการวิจัยได้ส่งผลกระทบให้เกิดภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนโครงการ อพ.สธ. ในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดแพร่ เยาวชนเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดแพร่ได้ขับเคลื่อนให้โรงเรียนบ้านวังเลียงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ตามโครงการ อพ.สธ.-จังหวัดแพร่ และ ส.ป.ก.แพร่ ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ อพ.สธ.-ส.ป.ก.
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1835
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6301417015.pdf11.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.