Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1848
Title: DEVELOPMENT PATTERN  ON FARM WATER MANAGEMENT FOR SUSTAINABLE AGRICULTURE IN SAVANNAKHET LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLIC
การพัฒนารูปแบบการจัดการน้ำระดับไร่นาเพื่อการเกษตรแบบยั่งยืน ในแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Authors: Sathathep Thammachak
Sathathep Thammachak
Pawinee Areesrisom
ภาวิณี อารีศรีสม
Maejo University
Pawinee Areesrisom
ภาวิณี อารีศรีสม
pawinee@mju.ac.th
pawinee@mju.ac.th
Keywords: การพัฒนา
การจัดการน้ำระดับไร่นา
การเกษตรแบบยั่งยืน
การบริหารจัดการกลุ่มผู้ใช้น้ำ
ชลประทาน
development
water management at the farm level
sustainable agriculture
management of water user group
irrigation
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: This study was conducted to investigate: 1) factors effecting the success of water management to increase the efficiency in sustainable rice production; 2) develop a water management at a farm level model to increase the efficiency in sustainable rice production; and 3) problems encountered in the water management at a farm model.  A set of questionnaires was used for data collection administered with a sample group of 282 rice farmers of the irrigation water user association in Savannakhet province, Lao P.D.R.  Obtained data were analyzed by using descriptive statistics and multiple regression. Results of the study indicated that most of the respondents were female, 41-50 years old, secondary school graduates and married.  They had 31-40 years of experience in farming with an average monthly income of 251,000-750,000 kips.  The respondents had 5,001 m2 of farm land area and most of them had their own land.  The respondents had been members of the water user association for 31-40 years.  The water catchment areas were around the upper part of the irrigation canal (37.97%) and water was used for rice production most.  The respondents perceived information about water management through staff of the water user association most and they had a moderate level of knowledge about water management at the farm level.  As a whole, frequency in water management had an effect on the model of water management at farm level (mean=3.93).  It was also found that the respondents had a high level of successful water management at a farm level (mean=4.04).  There was a statistically significant relationship at 0.01 between the success of water management at the farm level and the following: a level of knowledge/understanding about water management at the farm level, form of the water management and incomes of the respondents.  The developed model created an awareness of continual participation of irrigation water users and concerned agencies.  This was because it was a factor leading to successful water management. The following were problems encountered: 1) some concerned personnel ignored to follow the water management and did not check water supply; 2) inadequate numbers of personnel responsible for monitoring of water management thoroughly; 3) needs for training about water management of the field level, pest/weed control and prevention, and use of solar energy.  To reduce these problems, the Department of Irrigation should promotes rice farmers to be members of the water user association with strict rules and regulations as well as the installation of solar systems to reduce production costs.  Also, the allocation of budgets for improving basic structure of the irrigation system should be taken in consideration.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยต่อความสำเร็จการบริหารจัดการน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูกข้าวแบบยั่งยืน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูกข้าวแบบยั่งยืน และ 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของรูปแบบการบริหารจัดการน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูกข้าวแบบยั่งยืน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างในสมาคมผู้น้าใช้น้ำชลประทาน บ้านเวินต้นแหน เมืองไชยบุรี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 282 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ในช่วง 41-50 ปี ได้รับการศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีสถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ย 251,000 – 750,000 กีบต่อเดือน มีประสบการณ์การทำเกษตรกรรม 31-40 ปี มีพื้นที่ทำการเกษตร มากกว่า 5,001 ตารางเมตร เกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่ถือครองเป็นของตนเอง โดยเป็นสมาชิกในสมาคมผู้ใช้น้ำมาแล้ว 31-40 ปี ซึ่งพื้นที่รับน้ำมีการกระจายตัวอยู่บริเวณต้นคลองน้ำชลประทาน (ร้อยละ 37.9) ใช้น้ำทำการเกษตรด้านการปลูกข้าวมากที่สุด และได้รับแหล่งข้อมูลความรู้เรื่องการบริหารจัดการน้ำจากเจ้าหน้าที่สมาคมผู้ใช้น้ำมากที่สุด เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำระดับไร่นาอยู่ในระดับปานกลาง มีรูปแบบการจัดการน้ำระดับไร่นาที่ส่งผลต่อการจัดการน้ำระดับไร่นา โดยภาพรวมอยู่ในระดับจัดการบ่อยครั้ง (ค่าเฉลี่ย 3.93) เกษตรกรมีระดับความสำเร็จในการจัดการน้ำระดับไร่นาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.04) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า รายได้ของเกษตรกร ระดับความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรในการจัดการน้ำระดับไร่นา และรูปแบบการจัดการน้ำระดับไร่นาของเกษตรกร มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จของเกษตรกรในการจัดการน้ำระดับไร่นาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูกข้าวแบบยั่งยืน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งนี้การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูกข้าวแบบยั่งยืน ควรมุ่งเน้นเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มในลักษณะของวิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์การเกษตรเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบยั่งยืน ด้วยรูปแบบการจัดการน้ำระดับไร่นาที่คำนึงถึงความต้องการใช้น้ำและปริมาณน้ำที่สอดรับกัน มีการวางแผนอย่างรัดกุมและดำเนินการตามแผนอย่างยืดหยุ่น สร้างความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมระหว่างเกษตรกรผู้ใช้น้ำและเจ้าหน้าที่สมาคมผู้ใช้น้ำหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการจัดการน้ำ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเกษตรกรประสบกับปัญหาหลายประการนั่นคือ 1) เจ้าหน้าที่ยังละเลยต่อการติดตามการจัดการน้ำ ขาดการตรวจสอบการจ่ายน้ำ เจ้าหน้าที่ไม่เข้มงวดในกฎระเบียบ อีกทั้งยังมีเจ้าหน้าที่จำนวนจำกัดทำให้ไม่สามารถดูแลและตรวจสอบการบริหารจัดการน้ำได้อย่างทั่วถึง 2) เกษตรกรมีปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์ในการบริหารจัดการน้ำระดับไร่นา มีข้อจำกัดด้านสภาพแวดล้อมของคลองส่งน้ำ รวมถึงอุปสรรคด้านกฎ ระเบียบ ของสมาคมผู้ใช้น้ำ และ 3) เกษตรกรมีความต้องการให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานเฉพาะด้านจัดฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำระดับไร่นา อาทิ การอบรมเกี่ยวกับการจัดการควบคุมศัตรูพืชและวัชพืช การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนไฟฟ้าเพื่อลดต้นทุน ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการน้ำ ดังนั้น เพื่อให้รูปแบบการจัดการน้ำระดับไร่นามีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน กรมส่งเสริมการเกษตรต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้เกษตรกรตระหนักการใช้น้ำในทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อควบคุมการใช้ทรัพยากรน้ำได้อย่างคุ้มค่า ลดปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง กรมชลประทานต้องส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มเป็นสมาคมผู้ใช้น้ำ มีการกำหนดกฎระเบียบที่ชัดเจน อาจอยู่ในรูปแบบวิสากิจชุมชนหรือสหกรณ์ผู้ใช้น้ำ เพื่อให้กลุ่มเกิดความเข้มแข็ง สมาชิกสามารถช่วยกันแก้ไขปัญหาภายในกลุ่มเองได้ สำหรับภาครัฐจะต้องมอบหมายเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลการจ่ายน้ำประจำสถานีในแต่ละพื้นที่ให้เกษตรกรอย่างทั่วถึง ส่งเสริมการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์เพื่อลดต้นทุนค่ากระแสไฟฟ้า รวมไปถึงจัดสรรงบประมาณก่อสร้างและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานของระบบชลประทาน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1848
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6401535005.pdf7.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.