Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1870
Title: PATTERN OF ADDED VALUED OF TAI LUE TEXTILE HANDICRAFT PRODUCT FOR TOURISM OF LUANGPRABANG PROVINCE, LAO PEOPLE DEMOCRATICE REPUBLIC
รูปแบบการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อ เพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดหลวงพระบาง  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 
Authors: Dalivanh Sirisack
Dalivanh Sirisack
Monsicha Inthajak
มนสิชา อินทจักร
Maejo University
Monsicha Inthajak
มนสิชา อินทจักร
monsicha_i@mju.ac.th
monsicha_i@mju.ac.th
Keywords: อัตลักษณ์ผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไทลื้อ
การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าทอ
รูปแบบการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อ
ผลิตภัณฑ์หัตถกรรม
ผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อ
Tailue textile identity
Tailue product development
Added valued of tailue handicraft product
Pattern of added valued of handicraft
handicraft products
Tailue texile
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: This mixed method was conducted to : 1) explore identity of Tailue woven fabric handicraft products in Luang Prabang province; 2) investigate a process of Tailue woven fabric handicraft product development in Luang Prabang province; 3) analyze value added of Tailue woven fabric handicraft products for tourism in Luang Prabang province; and 4) determine a pattern of value added Tailue woven fabric handicraft products for tourism in Luang Prabang province.  A set of questionnaires was used for data collection administered with a sample group of 400 Lao tourists obtained by simple random sampling.  Obtained data were analyzed by using descriptive statistics.  Besides, an interview schedule was conducted with 89 key informants. Results of the study revealed that the identity of Tailue woven fabric handicraft products comprised: raw materials, weaving technique, dyeing, weaving tool, clothing and product processing.  The pattern of Tailue woven fabric handicraft products conveyed the belief in Buddhism, power, merit, abundance of natural environment, ideal beauty greatness, prosperity, strength, patience and courage.  Culture of Tailue ethnic group was represented by patterns of asterisk, Krua Rung pattern, Naga pattern, Kunyai pattern, Markjack pattern, Ngouloy pattern, and Dok Yai pattern. Regarding the development process of Tailue woven fabric handicraft products, as a whole, screening and selecting process by adjusting product design to be modern and suitable for daily use was found at a highest level.  This was followed by idea generation by processing new products with a varieties of sizes and prices; product development which the prototype product must have a written history of Tailue ethnic woven fabric.  For the product testing, it must be on the basis of uniqueness conveying identity such as local wisdoms; and business analysis which must conform to the current situation, respectively.  As a whole, the following were found at a highest level based on value added of the products: image on local raw materials influencing identity; the products having background such as its origin; weaving process and knowledge transfer from generation to generation; personnel promoting continual local wisdom transfer for sustainability; and services based on diverse distribution channels. Regarding the multiple regression analysis, it was found that product development process had positive influence on value added of the products.  The following variables could predict best : product testing which the predictive regression coefficient was equivalent to (.313), business analysis (.264), product development (.215), and idea generation about the products (.133), with a statistical significance level at .05.  However, screening and selecting had no influence on value added of the products.  In other words, the 4 variables could explain the influence on value added of the products for 56.6% (R2=.566).  The other 43.4% arise from the influence of other variables (SEest =.200, R=.752 and a=.835).  The pattern determination of value added of the products comprised 4 forms: 1) Exploring the identity of Tai ethnic woven fabric products such as feature of pattern, interpretation and representation.  2) Product development process i.e. screening/selecting, idea generating about the products, product development, product testing, and business analysis.  3) Value of the products i.e. image, personnel, product, and service.  4) Identity determination of 7 features and product development focusing on product feature, product benefits, product attribute, and core product (tag, logo, and story telling).
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อจังหวัดหลวงพระบาง เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อจังหวัดหลวงพระบาง เพื่อวิเคราะห์คุณค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดหลวงพระบาง และ เพื่อกำหนดรูปแบบการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดหลวงพระบาง เป็นการวิจัยแบบผสมทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวลาว จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นด้วยเทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อหลักจำนวน 89 คน ผลการวิจัยการค้นหาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อ จังหวัดหลวงพระบาง พบว่า อัตลักษณ์ผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อถูกสร้างขึ้นในหลายมิติ ประกอบด้วย อัตลักษณ์ด้านวัตถุดิบ เทคนิคการทอ การใส่สีผ้าทอ การย้อมสีผ้าทอ เครื่องมือการทอผ้า การนุ่งถือ และการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ การสื่อความหมาย ลวดลายผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อสื่อถึงความเชื่อในพุทธศาสนา การมีพลังอำนาจ และบาปบุญคุณโทษ ความอุดมสมบูรณ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ความงามในอุดมคติ ความยิ่งใหญ่ ความเจริญ ความแข็งแรง ความอดทน ความกล้าหาญ และ การสร้างภาพตัวแทน ลวดลายดอกเครือรุ่ง ลายดอกจันทน์ ลายนาคต่าง ๆ ลายอีกุนใหญ่ ลายหมากแจ๋ก ลายงูลอย ลายดอกใหญ่เป็นลายโบราณที่กำหนดเป็นตัวแทนทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ไทลื้อ ผลการวิจัย กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อ จังหวัดหลวงพระบาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดได้แก่ ด้านการคัดกรองและการเลือกในประเด็น ปรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความนำสมัยเหมาะสมสำหรับใช้สอยในชีวิตประจำวัน รองลงมาได้แก่ด้านการสร้างแนวความคิดผลิตภัณฑ์ ในประเด็นมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้ ให้มีความหลากหลายด้านขนาด ราคา และง่ายต่อการพกพา ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในประเด็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบต้องเขียนประวัติผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อ มีที่มาหรือเรื่องเล่า ที่บอกกล่าวเรื่องราวของผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อได้เป็นอย่างดี และผลิตภัณฑ์ต้นแบบต้องมีต้องมีความหลากหลายทั้งขนาดและราคา ด้านการทดสอบในประเด็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อต้องมีความเป็นเอกลักษณ์และศิลปะหัตถกรรมที่สื่อถึงเอกลักษณ์ เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการวิเคราะห์ธุรกิจ ในประเด็นการวิเคราะห์ธุรกิจต้องมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ผลการวิจัย การวิเคราะห์คุณค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อ จังหวัดหลวงพระบางโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ คุณค่าด้านภาพลักษณ์ในประเด็นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นทำให้เกิดภาพจำเกี่ยวกับการผลิตทำให้เกิดอัตลักษณ์เฉพาะตัว คุณค่าด้านผลิตภัณฑ์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเรื่องเล่า มีที่มาไม่ว่าจะเป็นต้นกำเนิด กระบวนการทอ และการถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น คุณค่าด้านบุคลากรในประเด็น ส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือการสืบทอดองค์ความรู้ให้แก่บุตรหลานอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน และคุณค่าด้านบริการในประเด็น มีช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย เช่น ออนไลน์และออฟไลน์ ผลการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ พบว่า กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดหลวงพระบาง โดยตัวแปรต้นสามารถพยากรณ์ดีที่สุด คือ ด้านการทดสอบผลิตภัณฑ์ (.313) ด้านการวิเคราะห์ธุรกิจ (.264) ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (.215) และด้านการสร้างแนวความคิดผลิตภัณฑ์ (.133) โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ด้านการคัดกรองและการเลือกไม่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อ ทำให้สี่ตัวแปรสามารถอธิบายอิทธิพลการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดหลวงพระบาง ได้ร้อยละ 56.6 (R2=.566) และอีกร้อยละ 43.4 เกิดจากอิทธิพลของตัวแปรอื่น โดยมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์ (SEest=.200) มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ (R=.752) ค่าคงที่ในรูปแบบคะแนนดิบ (a=.835) ผลการวิจัยการกำหนดรูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ 1) การค้นหาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าทอชาติภัณฑ์ไทลื้อ เช่น อัตลักษณ์เด่น การสื่อความหมาย และการสร้างภาพตัวแทน 2) กระบวนการพัฒนาสินค้า ได้แก่ การคัดกรองและการเลือก การสร้างแนวความคิดผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทดสอบผลิตภัณฑ์ และการวิเคราะห์ธุรกิจ  3)คุณค่าผลิตภัณฑ์ได้แก่ คุณค่าด้านภาพลักษณ์ คุณค่าด้านบุคลากร คุณค่าด้านผลิตภัณฑ์ และคุณค่าด้านบริการ 4) การกำหนดอัตลักษณ์ 7 ลักษณะเด่น และการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยมุ่งเน้น ด้านจุดเด่นผลิตภัณฑ์ ด้านประโยขน์ใช้สอย ด้านคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ และด้านผลิตภัณฑ์หลัก พัฒนาป้ายแขวนสินค้า โลโก้สินค้า และเรื่องเล่า
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1870
Appears in Collections:School of Tourism Development

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6209501006.pdf14.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.