Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1875
Title: TECHNOLOGICAL INNOVATION CAPABILITY IMPACTS TO FINANCIAL PERFORMANCE AND GROWTH PERFORMANCE OF SMES IN GUANGXI
ความสามารถด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีส่งผลกระทบ ต่อประสิทธิภาพทางการเงินและประสิทธิภาพ การเติบโตของ SMEs ใน Guangxi
Authors: Lianmei Jiang
Lianmei Jiang
Prapassorn Vannasathid
ประภัสสร วรรณสถิตย์
Maejo University
Prapassorn Vannasathid
ประภัสสร วรรณสถิตย์
prapassorn_v@mju.ac.th
prapassorn_v@mju.ac.th
Keywords: ความสามารถด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี
ประสิทธิภาพทางด้านการเงิน
ขีดความสามารถด้านการเติบโต
ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกวางสี
Technological Innovation Capability
Financial Performance
Growth Performance
SMEs in Guangxi
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: The role of technological innovation in enterprise development has been gradually recognized, and some studies have shown that technological innovation ability has a significant positive impact on enterprise performance. The research objectives of this study are to investigate the impact of an enterprise's technological innovation capability on the financial performance and growth performance of SMEs in Guangxi, as well as to make recommendations to improve SMEs' performance in the context of SMEs' development in Guangxi". Theory of Technological Innovation Capability (TICs), Financial Performance (FP), and Growth Performance (GP) have been applied to this study in order to investigate the impact of TICs on both FP and GP. The data received from 361 respondents were used to analyze through statistical software. The results of the study are shown below.  (1) Resource allocation capability, manufacturing capability, marketing capability, organizational capability, and strategic planning capability positively impact the financial performance of SMEs in Guangxi. (2) Learning Capability, R&D Capability, Resource allocation capability, manufacturing capability, marketing capability, organizational capability, and strategic planning capability positively impact the growth performance of SMEs in Guangxi.  Based on the results of the study suggested that:  (1) Enterprises should strengthen their learning capabilities. (2) Pay attention to the cultivation of enterprise technology innovation capability, developing Technological talent.  (3) Improve enterprises' innovation and marketing capability and establish brand awareness. (4) Take appropriate incentives to improve the enthusiasm of employees' work and improve employee work satisfaction (5) Enterprises should consider a more balanced focus on the coordinated improvement of their TIC.  This study has some limitations that could potentially lead to an improved future. (1) Limitations related to the research methodology, as this study emphasized using quantitative methods. Therefore, future studies may utilize other research methods, such as adding interviews. Taking SMEs in private industrial enterprises in Guangxi as the object of the study, whether this generalizability can be applied to all SMEs given the limited sample size of the authors' existing capacity is yet to be investigated.       (2) The results of the data analysis are subject to some significant limitations, so in the long run, the interpretations must be regarded as tentative rather than conclusive since the data were obtained from senior managers of the firms, and the firms themselves are often not the best judges of their own performance.
แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการพัฒนาองค์กรนั้นถือได้ว่าเป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับว่ามีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยที่สำคัญ ผลการวิจัยจำนวนมากได้ชี้ให้เห็นว่าขีดความสามารถด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีนั้นส่งผลกระทบทางบวกต่อผลประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ประกอบไปด้วยการศึกษาผลกระทบของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่มีต่อประสิทธิภาพด้านการเงินและความสามารถทางด้านการเติบโตของธุรกิจของขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ในกวางซีรวมถึงให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ SME’s ในเขตปกครองตนเองกวางสี ทฤษฎีความสามารถด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี (TICS), ประสิทธิภาพทางการเงิน (FP) และประสิทธิภาพการเติบโต (GP) ได้ถูกนำไปใช้กับการศึกษานี้เพื่อตรวจสอบผลกระทบของ TICs ต่อทั้ง FP และ GP ข้อมูลที่ได้รับจากผู้ตอบแบบสอบถาม 361 คนถูกใช้เพื่อวิเคราะห์ผ่านโปรแกรมทางสถิติ ผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่า (1) ความสามารถในการจัดสรรทรัพยากร ความสามารถในการผลิต ความสามารถทางการตลาด ความสามารถขององค์กร และความสามารถในการวางแผนเชิงกลยุทธ์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพทางการเงินของ SMEs ในกวางสี (2) ความสามารถในการเรียนรู้ ความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา ความสามารถในการจัดสรรทรัพยากร ความสามารถในการผลิต ความสามารถทางการตลาด ความสามารถขององค์กร และความสามารถในการวางแผนเชิงกลยุทธ์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการเติบโตของ SMEs ในกวางสี จากผลการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า: (1) องค์กรควรส่งเสริมขีดความสามารถด้านการเรียนรู้ขององค์กรให้เพิ่มมากขึ้น (2) องค์กรควรให้ความสำคัญกับการบ่มเพาะให้เกิดบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี (3) ปรับปรุงและพัฒนานวัตกรรมขององค์กรในด้านต่างๆ พัฒนาความสามารถทางการตลาดขององค์กร และสร้างการรับรู้แบรนด์ (4) กำหนดให้มีมาตรการด้านการจ่ายผลตอบแทนที่จูงใจเพื่อก่อให้เกิดความกระตือรือร้น และความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน (5) องค์กรควรพิจารณาเพิ่มประสิทธิภาพด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในแต่ละด้านอย่างสมดุล ข้อจำกัดของการศึกษาในครั้งนี้ และข้อเสนอสำหรับการวิจัยในครั้งถัดไป (1) ข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับวิธีการวิจัยเนื่องจากการศึกษานี้เน้นการใช้วิธีการเชิงปริมาณ และข้อจำกัดด้านเวลาของผู้วิจัยทำให้ไม่สามารถเก็บแบบสอบถามได้ทั่วถึงในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ดังนั้นการศึกษาในอนาคตอาจใช้วิธีการวิจัยอื่น ๆ รวมด้วย เช่น การเพิ่มการสัมภาษณ์ หรือเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในกวางสี (2) ผลของการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นจากข้อมูลความคิดเห็นที่ได้รับผู้จัดการอาวุโสทั้งหมดในภาพรวมมิได้เกิดจากความคิดเห็นของผู้จัดการอาวุโสคนใดคนหนึ่งดังนั้นการนำข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการดำเนินงานไปใช้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1875
Appears in Collections:Maejo University International College

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6416303004.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.