Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1885
Title: ความจำเป็นในการใช้แรงงานต่างด้าว ของกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ จังหวัดตาก
Other Titles: needs for foreign laboups by textile industries in tak province
Authors: ซินเนีย รัติภัทร์
Keywords: แรงงานต่างด้าว
อุตสาหกรรมสิ่งทอ
ลูกจ้าง
Issue Date: 2001
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 ศึกษาสาเหตุด้านปัจจัยภายนอกและภายในองค์กร ที่มีผลต่อความจำเป็นในการใช้แงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอจังหวัดตาก 2)ศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ จังหวัดตาก ภายหลังมาตรการผลักดันแรงงานต่างด้าวออกนอกประเทศ ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2542 3)ทราบข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการกลุ่มดุตสานกรมสิ่งทอจังหวัดตากในการเตรียมการและวางแผนการดำเนินงาน ผู้ให้ช้อมูลคือ ผู้ประกอบการกลุ่มจุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยแยกเป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวน 28 โรงาน และผู้ผลิตเสื้อถักทอไหมพรม จำนวน 20 โรงงาน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคระห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ส่วนสถิติที่ใช้ ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน ผลจากการวิจัย พบว่ากลุ่มประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้จัดการของสถานประกอบการและมีอำนาจในการตัดสินใจคัดเลือกพนักงาน ลักษณะรูปแบบของสถานประกอบการส่วนใหญ่เป็นกิจการสาขาย่อยแยกจากบริษัทแม่ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จัดจำหน่ายภายนอกประเทศ ขนาดของกิจการจำแนกตามจำนวนเงินลงทุน ส่วนใหญ่มีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่า 20 ล้านบาท จัดว่าเป็นขนาดเล็ก และมีการจ้างทั้งแรงงานไทยและแรงานต่างด้าว ซึ่งแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่เป็นพนักงานชั่วคราว มีกาจ่ายค่าางแบบเหมาจ่ย ปฏิบัติงานระดับค่าง และมีจำนวน 50 - 200 คน ส่วนการจ้างแรงงานไทยมีลักษณะเป็นพนักงานประจำ มีการจ่ายค่าจ้างแบบรายวัน ปฏิบัติงานธุรการและหัวหน้า และมีจำนวนอยู่ระหว่าง 10 - 50 คน สาเหตุความจำเป็นแบ่งออกเป็น ปัจจัยภายใน ซึ่งจำแนกได้ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านนโยบายและการวางแผนของกิจการ 2) การเปลี่ยนแปลงชยงกิจการ 3) ลักษณะเครื่องจักรและ กระบวนการผลิต พบว่าผู้ประกอบการมีความคิดเห็นต่อสาเหตุปัจจัยภายในเป็นเหตุให้เกินระดับความจำเป็นในการใช้แรงงานต่างด้าวอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านลักษณะเครื่องจักรและกระบวนการผลิตอยู่ในระดับมาก และปัจจัยภายนอกซึ่งจำแนกได้ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเศรษฐกิจ 2) ด้านกฎหมาย 3) ด้านสภาพภูมิประเทศ 4) ต้านการเมือง 5) ด้านแรงงาน 6) ด้านสังคมและวัฒนธรรม พบว่าผู้ประกบการมีความคิดเห็นต่อสาเหตุปัจจัยภายนอกทั้ง 6 ด้าน อันเป็นเหตุให้เกิดระดับความจำเป็นในการใช้แรงงานต่างด้าวอยู่ในระดับมากแทบจะทุกสาเหตุ มีเพียงชาเหตุด้านแรงานเท่านั้นที่อยู่ในระดับปานกลางผลกระทบต่อกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอจังหวัดตากภายหลังมาตรการผลักดันแรงงานต่างต้าวออกนอกประเทศ ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2542 พบว่ามีความคิดเห็นต่อปริมาณแรงงานไทยที่มาทดแทนแรงงานต่างด้าวยังไม่เพียงพอจัดอยู่ในระดับมากที่สุด ตันทุนด้านการผลิตและการจ้างแรงงานของกิจการเพิ่มขึ้นจัดอยู่ในระดับมาก ความเสี่ยงของแรงงานไทยที่มาทดแทนแรงานต่างต้าวเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวจัดอยู่ในระดับปานกลาง และเรื่องความชัดแย้งและการอยู่ร่วมกันของแรงงานทั้งสองจัดอยู่ในระดับน้อยข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอจังหวัดตากในการเตรียมการและวางแผนการดำเนินงาน พบว่าหากรัฐยังใช้มติคณะรัฐมนตรี3 สิงหาคม 2542 ผู้ประกอบการเตรียมการโดยพยายามหาแรงงนไทยทดแทน แต่ปัญหาคือจำนวนของแรงงานไทยมีไม่เพียงพอและไม่ใช่แรงงานกลุ่มเป้าหมาย ความคิดเห็นต่อการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตไปยังสถานที่อื่นมีความเป็นไปได้ค่อนข้างมาก และต้องการขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลคือ ให้รัฐช่วยหาแรงงานไทยเพื่อทดแทนแรงานต่างด้าว ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงมาตรการใช้แรงงานต่างด้าวและกฎหมายคุ้มครองแรงงานไทย และจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนโดยเร็วโดยพิจารณาเรื่องการใช้แรงงานต่างด้าว ส่วนความคิดเห็นต่อการจัดตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานว่าเป็นเรื่ยงที่ดีและมีประโยชน์มากแต่ปัญหาคือวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานกับอุตสาหกรรมแตกต่างกัน และความคิดเห็นต่อความจำเป็นในการใช้แรงานต่างด้าวอยู่ในระดับมาก เนื่องจากแรงงานไทยมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการและมีปัญหาต่าง ๆ ค่อนข้างมาก
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1885
Appears in Collections:

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
zinnia-ratipat.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.