Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1907
Title: ผลตอบแทนของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
Authors: วิภา แก้วยองผาง
Keywords: โคนม
ลำพูน
แง่เศรษฐกิจ
Issue Date: 2001
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน และ 2) ปัญหาการเลี้ยงโคนม และความต้องการความช่วยเหลือจากรัฐและเอกชนประชากรที่ทำการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูนจำนวน 72 ราย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็งรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Statistical Package For the Social Science SPSS/PC') เพื่อหาคำร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (arithmetic mean) ค่าสูงสุด (maximum)ค่ต่ำสุด (minimum) และค่าเบื่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ส่วนในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุน - ผลตอบแทน ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม โดยคิดเป็นต้นทุน - ผลตอบแทนต่อตัวและนำดันทุน - ผลตอบแทนที่ได้มาหาค่าเฉลี่ยอีกครั้งหนึ่งเพื่อใช้สรุปเป็นต้นทุน - ผลตอบแทนของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงโดนมมีอายุเฉลี่ย 38.57 ปี ทั้งหมดเป็นเพศชายส่วนใหญ่แค่งงานแล้ว จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หรือต่ำกว่า มีสมาชิกในครอบครัวประมาณ 3 คน โดยเป็นแรงงานทางการเกษตร 2 คน ส่วนใหญ่จะทำงานในฟาร์มโคนมประกอบอาชีพการเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพหลัก โดยมีรายได้อยู่ระหว่าง 100,001 - 200,000 บาท/ปี มีประสบการณ์ในการเลี้ยงโดนมอยู่ระหว่าง 5 - 10 ปี และให้เหตุผลในการเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพหลักเนื่องมาจากเป็นอาชีพที่มีรายได้ดี สม่ำเสมอ โดยมีลักษณะการทำฟารั่มขนาดกลางมีโคทั้งหมด ประมาณ 1120 ตัวฟาร์ม มีที่ดินในการทำฟาร์มเฉลี่ย 3.67 ไร่ และมีพื้นที่ในการปลูกพืชอาหารสัตว์เฉลี่ย 2.57 ไร่ฟาร์ม แต่จะมีหญ้าไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงโด โดยเฉพาะในฤดูแล้ง ส่วนการรีคนมส่วนใหญ่จะใช้เครื่องรีคนม น้ำนมที่ได้จะค้างส่ง มีเพียงส่วนน้อยที่ไปส่งเองจากผลการศึกษาผลตอบแทนสุทธิในการผถิดน้ำนมดิบของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน ต่อฟาร์มต่อปี โดยสามารถแยกเป็นผลตอบแทนแต่ละประเภท พบว่า มีผลตอบแทนสุทธิ เท่ากับ -3,120.83 บาท/ฟาร์ม/ปี มีผลตอบแทนสุทธิที่เป็นเงินสด เท่ากับ 178,813.06 บาท/ฟารั่ม/ปี และมีผลตอบแทนสุทธิเหนือต้นทุนผันแปร เท่ากับ 51,995.75 บาท/ฟาร์ม/ปี ปัญหาและความต้องการความช่วยเหลือของเกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาการผสมติดยาก โรค พืชอาหารสัตว์ไม่เพียงพอ และราคาน้ำนมดิบต่ำกว่าราคาดันทุน โดยเกษตรกรต้องการความช่วยเหลือในค้านการดูแลรักบา การผสมเทียม จากเข้าหน้าที่ปศุสัตว์ และการประกันราคาน้ำนมดิบจากหน่วยงานของรัฐบาลข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป คือ การเลี้ยงโคนมมีการเปลี่ยนแปลงแบบพลวัตเกิดขึ้นตลอดเวลา ควรมีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง จะทำให้มองเห็นการพัฒนาการที่เกิดขึ้น และควรมีการศึกษาถึงผลตอบแทนด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ผลตอบแทนทางด้านสังคม สิ่งแวคล้อมคุณภาพชีวิต ของกลุ่มตัวอย่างด้วย
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร Department of Agricultural Economics and Cooperative
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1907
Appears in Collections:

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wipa-keawyongphang.PDF1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.