Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1919
Title: THE MAKING OF COMMUNITY DEVELOPMENT PLAN ACCORDING TO SUFFICIENCY ECONOMY PHILOSOPHY OF PAE CHADI VILLAGE, MAE FAEK MAI SUB DISTRICT, SAN SAI DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE
การจัดทำแผนพัฒนาชุมชน ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านแพะเจดีย์ ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Ittipon Suksri
อิทธิพล สุขศรี
Porramin Narata
ปรมินทร์ นาระทะ
Maejo University
Porramin Narata
ปรมินทร์ นาระทะ
porramin_narata@mju.ac.th
porramin_narata@mju.ac.th
Keywords: แผนพัฒนาชุมชน
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กระบวนการจัดทำแผน
community development plan
philosophy of sufficiency economy
planning process
Issue Date: 2024
Publisher: Maejo University
Abstract: The sample group in this qualitative study consisted of 179 household representatives of Phae Jedi community obtained by Yamane’s formula.  Interview schedule and focus group discussion were used for data collection and analyzed by using descriptive statistics and content analysis.  It was found that Pae Chadi community had separated from Chadi Maekhrua community since 1987.  Its topographic condition was hillside plains at an altitude of 330-950 meters above mean sea level.  Most people there were hired workers inside and outside the area and they had 139,862.05 baht of an average annual income per head.  Regarding problems encountered and needs of the community, it was found that the prominent internal factor was strong community leaders but the weak point was lack of community participation and water sources.  However, external factors which were opportunities were private agency support for industrial plant around the community and villager career/livelihood promotion by government agencies.  For obstacles, it included lack of budget support for continual development.  The village committee and villagers participated in the preparation of a village development plan comprising 6 steps.  It included the following: 1) village basic data collection; 2) participation in an analysis of data gained from questionnaires; 3) participation in an analysis of village environment (SWOT analysis); 4) public hearing of the plan, projects and draft project development plans; 5) participation in designing of a village development plan under the philosophy of sufficiency economy; and 6) participation in an assessment of the project implementation. The garbage bank project was selected to be assessed and it consisted of 3 steps: 1) a village meeting to gain data on garbage sorting at the household level; 2) preparation of garbage sorting equipment for convenient sorting; and 3) correct methods of garbage disposal.  According to the assessment under the philosophy of sufficiency economy the following were found: 1) Moderation – including a better life planning, household accounting, reduction of natural resource using, and community market building. 2) Reasonableness – reduction of conflicts arising in the community, unity promotion and conservative forest management. 3) Good immunity and participation in problem reduction related to natural resource rehabilitation and conservation as well as career creation. 4) Knowledge on incomes/expenses Management, systematic planning and learning. 5) Morality Ethics - acceptance other’s opinions about the village development, participation in community activities and group forming for opinion/knowledge exchange.
การศึกษาการจัดทำแผนพัฒนาชุมชน ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บ้านแพะเจดีย์ ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ตัวแทนจากแต่ละครัวเรือนของบ้านแพะเจดีย์ จำนวน 179 คน โดยใช้เครื่องมือการสุ่มตามสูตร Yamane จัดเก็บและรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่ม จากนั้นนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า บ้านแพะเจดีย์เป็นชุมชนที่แยกตัวมาจากบ้านเจดีย์แม่ครัวในปี พ.ศ.2527 มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขาอยู่ในชั้นความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 330 - 950 เมตร ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปจากในพื้นที่และนอกพื้นที่ และมีความรู้ในการประดิษฐ์โคมยี่เป็งซึ่งเป็นภูมิปัญญาล้านนาที่สืบทอดต่อกันมา โดยมีรายได้เฉลี่ยปีละ 139,862.05 บาทต่อคนต่อปี ผลจากการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของหมู่บ้านบ้านแพะเจดีย์ พบว่ามีปัจจัยภายในที่เป็นจุดเด่น คือ มีผู้นำหมู่บ้านที่เข้มแข็งและมีความคิดก้าวหน้า อยากที่จะพัฒนาหมู่บ้านไปในทิศทางที่ดีขึ้น และมีจุดอ่อน คือ ขาดกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค และบริโภค ส่วนปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาส คือ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานเอกชนคือ โรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่บริเวณรอบหมู่บ้าน และหน่วยงานราชการที่เข้าส่งเสริมการพัฒนาความเป็นอยู่และส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนในหมู่บ้าน และมีอุปสรรค คือ การขาดแคลนการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาต่ออย่างต่อเนื่อง จึงไม่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาต่อยอดความรู้จากหน่วยงานได้ต่อ และผลการศึกษากระบวนการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านแพะเจดีย์ พบว่า คณะกรรมการหมู่บ้านและประชาชนในหมู่บ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน สามารถกำหนดกระบวนการในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านได้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเก็บและรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน 2) การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามร่วมกันของคณะกรรมการและประชาชนในหมู่บ้าน 3) การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของหมู่บ้าน (SWOT Analysis) 4) มีการทำประชาพิจารณ์แผนงาน โครงการและจัดทำร่างแผนพัฒนาหมู่บ้าน 5) การมีส่วนร่วมในการออกแบบแผนพัฒนาหมู่บ้านตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกันของคณะกรรมการและประชาชนในหมู่บ้าน 6) คณะกรรมการและประชาชนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการประเมินการดำเนินโครงการตามแผนพัฒนาหมู่บ้านตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการประเมินกระบวนการดำเนินการตามแผนพัฒนาหมู่บ้านตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านแพะเจดีย์ โดยเลือกกิจกรรมโครงการธนาคารขยะ โดยจำแนกเป็นขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 จัดประชุมหมู่บ้านเพื่อให้ข้อมูลด้านการคัดแยกขยะในระดับครัวเรือน ขั้นตอนที่ 2 การจัดเตรียมอุปกรณ์ในการคัดแยกขยะในครัวเรือนเพื่อสามารถคัดแยกขยะได้อย่างสะดวก ขั้นตอนที่ 3 การจัดการกับขยะที่ถูกคัดแยกแล้ว มีการนำขยะต่าง ๆ ไปจัดการอย่างถูกวิธี จากการดำเนินโครงการดังกล่าว ทำให้คนในชุมชนมีการออมและยังช่วยในการลดขยะในพื้นที่หมู่บ้านเพื่อสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ของในหมู่บ้านที่ดีขึ้น เมื่อประเมินตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า 1) ความพอประมาณ มีการจัดทำแผนเพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นจากเดิมเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ มีการจัดทำรายการรายรับรายจ่าย มีการฝากออมจากโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ มีการสร้างตลาดในชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีแหล่งหารายได้เสริมภายในชุมชน และสามารถหาซื้อสินค้าราคาถูก 2) ความมีเหตุผล ลดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดในชุมชนโดยการสร้างกิจกรรมให้สมาชิกในหมู่บ้านสามารถเข้าร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีกันในชุมชน มีการจัดการป่าที่เป็นของชุมชนและมีการจัดการป่าที่เป็นป่าอนุรักษ์ข้างเคียงของชุมชน มีกองทุนที่เกิดจากหมู่บ้าน ซึ่งเป็นกองทุนของหมู่บ้านเอง 3) การมีภูมิคุ้มกัน การมีส่วนร่วมช่วยลดการเกิดปัญหาที่เกิดขึ้น ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้ลูกหลานในหมู่บ้านได้ร่วมกันอนุรักษ์ไว้เพื่อสืบสาน การอยู่ร่วมกันกับทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน มีการสร้างอาชีพเพื่อรองรับความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้าน 4) เงื่อนไขด้านความรู้ มีการจัดทำรายการรายรับ-รายจ่าย และการจัดทำบัญชี มีการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และมีการประเมินผลการดำเนินงานเพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาและจัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และมีการสุ่มกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ 5) เงื่อนไขด้านคุณธรรม มีการจัดการบนพื้นฐานของคุณธรรม การยอมรับความเห็นของผู้อื่นในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน การเข้าร่วมในการจัดกิจกรรมต่าง ๆของชุมชน และมีการร่วมกลุ่มในการแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกันของคนในชุมชน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1919
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6301417016.pdf6.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.