Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1920
Title: GUIDELINES FOR INCREASING GREEN AREAS IN AGRICULTURALLAND USE: A CASE STUDY OF BAN MAE PHAE ANDBAN MAE PA, SAMOENG NUEA SUB-DISTRICT,SAMOENG DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE
แนวทางเพิ่มพื้นที่สีเขียวในการใช้ที่ดินทางการเกษตร กรณีศึกษาพื้นที่บ้านแม่แพะ และบ้านแม่ปะ ตำบลสะเมิงเหนืออำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่  
Authors: Narongsak Tanchina
ณรงค์ศักดิ์ ตันจินะ
Phanit Nakayan
ผานิตย์ นาขยัน
Maejo University
Phanit Nakayan
ผานิตย์ นาขยัน
phanit@mju.ac.th
phanit@mju.ac.th
Keywords: พื้นที่สีเขียว
แนวทางการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในการใช้ที่ดินทางการเกษตร
แนวขอบเขตที่ดินทำกิน
green space
agricultural land use
boundaries of an arable land
Issue Date: 2024
Publisher: Maejo University
Abstract: This study was conducted to : 1) investigate changes of agricultural land use in 2002, 2014 and 2022; 2) prepare the boundaries of each plot of arable land under the provision of arable land for the community (According to the National Reserved Forest Act, 1966, Section 16 (1); and 3) find guidelines for increasing a green space for agricultural land use at Ban Mae Phae and Ban Mae Pa.  It relied on aerial photograph data 2022 and photos from the satellite in 2014 and 2022 through overlapping. It was found that the extending agriculture area was 543.62 rai during 2002-2014 (The area of Ban Mae Phae forest decreased by 8.9%).  However, the green space expanded for 789.3 rai during 2014-2022 (The forest area decreased by 12.93%).  Meanwhile, the agricultural land area in Ban Maepa expanded for 543.36 rai during 2002-2014 (The forest area decreased by 8.9%).  During 2014-2022, the agricultural land area expanded for 394.55 rai (The forest area decreased by3.5%).  Based on the two periods, it was found that the forest area at Ban Mae Phae decreased for 1,332.92 rai (21.84%).  Likewise, that of Ban Maepa decreased for 937.91 rai (12.4%).  According to results of the study, there was a meeting to prevent the expansion of the agricultural land area by surveying the use of land plot by plot.  It was done by walking and capturing coordinates with a geographic coordinate measurement tool. According to a survey of land use in 2022, Ban Mae Phae had 2,813.93 rai of an agricultural land area (167 farmers and 324 plots).  Meanwhile, that of Ban Mae Pa was 1,425.96 rai (124 farmers and 263 plots).  There was a way to increase green space by planting bamboo forests and local trees with the participation of farmers in the community (18 farmers and 19 plots).  In this regard, the total planting area of the two communities was 23.82 rai.  The increasing in green space helped store carbon in the form of forest biomass which was responsive to the public sector policy sustainably.
การศึกษาเรื่องแนวทางการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในการใช้ที่ดินทางการเกษตร กรณีศึกษาพื้นที่ บ้านแม่แพะ และบ้านแม่ปะ ตำบลสะเมิงเหนือ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แพะ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินทางการเกษตรของชุมชนระหว่างปี พ.ศ.2545 พ.ศ.2557 และ พ.ศ.2565 2) เพื่อการจัดทำแนวขอบเขตที่ดินทำกินรายแปลง ภายใต้การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 16 (1) 3) เพื่อหาแนวทางการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในบ้านแม่แพะ และบ้านแม่ปะ ตำบลสะเมิงเหนือ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ใช้วิธีการศึกษาแนวทางการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้วยการซ้อนทับข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ.2545 และภาพถ่ายดาวเทียมปี พ.ศ.2557 และ ปี พ.ศ.2565 ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงปี พ.ศ.2545 - ปี พ.ศ.2557 มีการขยายพื้นที่เกษตร 543.62 ไร่ (พื้นที่ป่าบ้านแม่แพะลดลงร้อยละ 8.9 %) และช่วงปี พ.ศ.2557 – พ.ศ.2565 มีการขยายพื้นที่เพิ่มอีก 789.3 ไร่ (พื้นที่ป่าลดลงร้อยละ 12.93 %) ส่วนบ้านแม่ปะ มีพื้นที่ทำการเกษตรที่มีการขยายเพิ่ม ในช่วงปี พ.ศ.2545 - ปี พ.ศ.2557 เป็นพื้นที่ 543.36 ไร่ (พื้นที่ป่าลดลงร้อยละ 8.9 %) และช่วงปี พ.ศ.2557 – พ.ศ.2565 มีการขยายพื้นที่เกษตรเพิ่มอีก 394.55 ไร่ (พื้นที่ป่าลดลงร้อยละ 3.5 %) ทั้ง 2 ช่วงเวลา พบว่าพื้นที่ป่าบ้านแม่แพะลดลงทั้งหมด 1,332.92 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 21.84 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด และบ้านแม่ปะ พื้นที่ป่าทั้งสองช่วงเวลาพื้นที่ป่าลดลงทั้งหมด 937.91 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 12.4 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด จากผลการศึกษาดังกล่าว ได้มีการประชุมเพื่อป้องกันการขยายพื้นที่ทำการเกษตรเพิ่มโดยการสำรวจการใช้ที่ดินรายแปลง ด้วยการเดินจับพิกัดด้วยเครื่องมือวัดพิกัดทางภูมิศาสตร์ ผลจากการสำรวจการใช้ที่ดินปี พ.ศ.2565 บ้านแม่แพะ เป็นพื้นที่เกษตรทั้งหมด 2,813.93 ไร่ จำนวนเกษตรกร 167 ราย จำนวน 324 แปลง และบ้านแม่ปะ มีพื้นที่เกษตรทั้งหมด 1,425.96 ไร่ จำนวนเกษตรกร 124 ราย จำนวน 263 แปลง และได้เสริมแนวทางการเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยการปลูกป่าชาวบ้านโดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในชุมชน ในการปลูกไม้ไผ่ และไม้ท้องถิ่นในพื้นที่ทำกินของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งหมด 18 ราย 19 แปลง โดยมีพื้นที่ปลูกรวม 2 ชุมชนทั้งหมด 23.82 ไร่ ทั้งนี้การเพิ่มพื้นที่สีเขียวจะเป็นการช่วยเพิ่มแหล่งอาหารในรูปแบบป่าชุมชน กักเก็บคาร์บอนในรูปแบบมวลชีวภาพของป่าไม้ และตอบสนองนโยนายขององค์กรภาครัฐได้อย่างยั่งยืน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1920
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6401417002.pdf10.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.