Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1964
Title: ความพึงพอใจของสมาชิกที่มีต่อบทบาทการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรหางดง จำกัด
Other Titles: Members' satisfaction with the roles of Hangdong agricultural cooperative,Ltd
Authors: ขจรเกียรติ กันธิมา
Keywords: การบริหาร
มหาวิทยาลัยแมโจ้
สหกรณ์การเกษตรหางดง จำกัด
Issue Date: 2000
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ระบุถึงบทบาทการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรหางดง จำกัด ว่าสามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิกด้านธุรกิจเครดิต(สินเชื่อ) ธุรกิจการซื้อ ธุรกิจการขาย ธุรกิจออมทรัพย์ (การรับฝากเงิน) ธุรกิจการอบรมส่งเสริมอาชีพ และอื่นๆ (2) ทราบถึงระดับความพึงพอใจของสมาชิกที่มีต่อบทบาทการดำเนินงานของณ์การเกษตรหางดง จำกัดในการตอบสนองความต้องการของสมาชิก (3) ทราบที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของสมาชิกที่มีต่อบทบาทการดำเนินงานของสหกรณ์ ผลการศึกษาปรากฎว่าสมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุเฉลี่ย 45 ปี และได้รับการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 อยู่สถานภาพการสมรสมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นแรงงานในภาคเกษตร เฉลี่ย 3-4 คน มีระยะเวลาการเป็นสมาชิกเฉลี่ย 46 ปี มีพื้นที่ในการเกษตร ทั้งแบบเช่าและเป็นของตนเองเฉลี่ยไม่เกิน 5 ไร่ เช่าเฉลี่ยไม่เกิน 5 ไร่ และหลายแบบรวมกันเฉลี่ย 6-10 ไร่ สมาชิกสวนใหญ่มีรายได้ในภาคเกษตรเฉลี่ย 80,000 บาทปี รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 20,000 บาทปี สมาชิกมีหนี้เฉลี่ย 80 หุ้น ข่าวสารที่สมาชิกได้รับเป็นส่วน (4) ใหญ่ คือ ข่าวสารเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ย รองลงมาคือ สมาชิกเพื่อการเกษตร สมาชิกมีความสนใจเข้าร่วมกลุ่มทุกครั้งเมื่อสหกรณ์มีการประชุมสำหรับบทบาทการดำเนินงานของสหกรณ์ในการตอบสนองความต้องการของสมาชิก ธุรกิจสินเชื่อพบว่า สมาชิกส่วนใหญ่กู้เงินกับสหกรณ์ในรูปเงินสดเฉลี่ย 80,000 บาท กู้ทั้งในประเกทระยะสั้นและระยะปานกลาง วัตถุประสงค์ในการกู้ คือ เพื่อการผลิตสมาชิก ส่วนใหญ่ 69.05 สามารถชำระคืนได้ตามกำหนดระยะเวลา ธุรกิจซื้อ สมาชิกส่วนใหญ่ซื้อสินค้าประเภทวัสดุอุปกรณ์การเกษตรและอุปโภคบริโภค โดยมีสาเหตุต้องการอุดหนุนสหกรณ์และต้องการเงินเฉลี่ยกันตามส่วนธุรกิจ นอกจากนี้ธุรกิจขายพบว่า สมาชิกส่วนใหญ่ไม่นำผลผลิตมาขายสหกรณ์เนื่องจากสหกรณ์ไม่รับซื้อ เช่นเดียวกับธุรกิจออมทรัพย์พบว่าสมาชิกส่วนหนึ่งที่ไม่นำงินมามาฝากกับสหกรณ์ เนื่องจากสมาชิกฝากธนาคารมาก่อนเป็นสมาชิก และเห็นว่าธนาคารสะดวกในการฝาก-ถอน สำหรับธุรกิจอบรมส่งเสริมการเกษตร พบว่าสมาชิกสวนใหญ่เคยได้รับข่าวสารทางการเกษตรจากสหกรณ์ โดยฝ่ายจัดการเป็นผู้ให้ข่าวสารทางการเกษตรเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ปุ้ย และการใช้พันธุ์พืชสำหรับผลการวิจัยเกี่ยวกับความพึงพอใจของสมาชิก มีต่อบทบาทการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรหางดง จำกัด พบว่า สมาชิกมีความพึงพอใจในระดับมากต่อธุรกิจด้านต่างๆ ได้แก่ ธุรกิจเครดิต ธุรกิจซื้อ ธุรกิจขาย ธุรกิจออมทรัพย์ ธุรกิจอบรมส่งเสริมอาชีพ และผลการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจของสมาชิกที่มีต่อบทบาทการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรหางดง จำกัด พบว่า จากตัวแปรสระ 10 ตัว ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือนระยะเวลาการเป็นสมาชิก ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การถือครองที่ดิน จำนวนพื้นที่ทำการเกษตรมูลค่าหุ้นที่ถือกับ สหกรณ์ ได้ผลการวิจัยคือ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความพึงพอใจในบทบาทการดำเนินงานของสหกรณ์ 3 ตัวแปร คือ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน และระยะเวลาการเป็นสมาชิกปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 7 ตัวแปร คือ เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส การถือครองที่ดิน จำนวนพื้นที่ทำการเกษตร มูลค่าหุ้นที่ถือกับสหกรณ์ และรายได้
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1964
Appears in Collections:

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kachonkiet-kuntima.PDF2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.