Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2030
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโทรศัพท์ จังหวัดลำปาง
Other Titles: Factors influencing the effectiveness in working operation of the employees of telephone authority, Lampang province
Authors: สุดธิดา แก้วปลั่ง
Keywords: พนักงานโทรศัพท์
จังหวัดลำปาง
Issue Date: 2002
Publisher: Maejo University
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงลักษณะส่วนบุคคลของพนักงานโทรศัพท์จังหวัดลำปาง 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโทรศัพท์จังหวัดลำปาง 3 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโทรศัพท์จังหวัดลำปางประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานโทรศัพท์จังหวัดลำปาง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูลจำนวน 115 ชุด ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพทั่วไปของพนักงานโทรศัพท์จังหวัดลำปาง ที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 115 คนเป็นเพศชาย จำนวน 66 คน คิดเป็นร้อยละ 57.39 และเป็นเพศหญิง จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 42.61 ส่วนใหญ่มีอายุในระหว่าง 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 63.48 สถานภาพการสมรสแล้ว 67 คน คิดเป็นร้อยละ 58.26 ระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี 67 คน คิดเป็นร้อยละ 58.26 มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 5-10 ปีคิดเป็นร้อยละ 53.04 มีระดับตำแหน่งงานในระดับสายงานด้านช่าง 57 คน คิดเป็นร้อยละ49.57 มีรายได้ระหว่าง 10.001 - 14.000 บาท คิดเป็นร้อยละ 40.87ระดับความสำคัญของปัจจัยจูงใจที่มิใช่ตัวเงินที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานพบว่า ปัจจัยด้านความก้าวหน้าในงานที่ทำ ปัจจัยด้านการได้รับการยอมรับนับถือปัจจัยด้านความมั่นคงและปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ปัจจัยด้านความรับผิดชอบ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในระดับมาก ส่วนปัจจัยด้านนโยบายและการบริหารงาน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลตอประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในระดับปานกลางความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน พบว่า 1) ลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านความก้าวหน้าในงานที่ทำ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ระดับตำแหน่งงาน (สายงาน)และรายได้ 2) ลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านการได้รับการยอมรับนับถือได้แก่ประสบการณ์ในการปฏบัติงาน ระดับตำแหน่งงาน (สายงาน) สถานภาพและรายได้ 3) ลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านความมั่นคงและปลอดภัยในการปฏิบัติงานได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และรายได้ 4) ลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านนโยบายและการบริหารได้ก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ระดับตำแหน่งงน (สายงาน) สถานภาพ และรายได้ 5) ลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านความรับผิดชอบได้แก่ อายุระดับการศึกษาประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและรายได้6) ลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานได้แก่ อายุระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงน ระดับตำแหน่งงาน (สายงาน) สถานภาพและรายได้ และ 7 ลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และรายได้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยซน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน คือ ในการปฏิบัติงาน ผู้บังคับบัญชาควรให้ความยุติธรรมในการพิจารณาเปิดโอกาสให้พนักงานได้รับการส่งเสริมความก้าวหน้าในงาน โดยการศึกษาต่อ การฝึกอบรมของหน่วยงาน การดูงาน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ เกิดความชำนาญในการปฏิบัติงาน และให้คำชี้แนะช่วยเหลือแก่พนักงานเมื่อเกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน ส่วนในระบบงานควรมีการจัดลำดับขั้นตอนการบริหารให้มีความคล่องตัว มีการกระจายอำนาจการบริหารให้แก่หัวหน้าแผนกในแต่ละแผนกรับผิดชอบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และความรวดเร็วในการปฏิบัติงานส่วนในการจัดเครื่องมืออุปกรณ์ในการปฏิบัติงานควรให้มีเพียงพอกับจำนวนของพนักงานผู้ปฏิบัติงาน"
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2030
Appears in Collections:Business Agriculture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sudtida-keowpung.PDF1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.