Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2032
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอสวรรคโลก และอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
Other Titles: Factors contributing to the operation of home maker groups in Sawank and muang districts, Sukhothai, Thailand
Authors: ธนะรัตน์ แสงรัตนชัยกุล
Keywords: กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
สุโขทัย
แม่บ้าน
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรคือ ก) สถานภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ฝึกอบรม รายได้ การรับข่าวสารเคหกิจเกษตรจากลื่อมวลชน การติดต่อกับพนักงานส่งเสริม การติดต่อกับสังคมภายนอก ความพึงพอใจในพนักงานส่งเสริม ความพึงพอใจในผู้นำกลุ่ม ความพึงพอใจในวิธีการส่งเสริม การรับรู้ในวัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินงานของกลุ่ม ความพึงพอใจในผลตอบแทนที่ได้รับจากกลุ่ม ข) ลักษณะของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ ระยะเวลาการเป็นสมาชิก การมีส่วนร่วมของสมาชิก ความขัดแย้งของกลุ่ม และ 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้คือ สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรกลุ่มที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จในอำเภอสวรรคโลก และอำเภอเมืองจังหวัดสุโขทัย ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (muli-stage random sampling) จำนวน 302 คน ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ 45 คน และกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ไม่ประสบความสำเร็จ 257 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยและผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นแล้ว จากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม สถิติสำเร็จรูป เพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS/PC") ผลการวิจัยมีดังนี้ สถานภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรกลุ่มที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ ที่เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้ ประสบการณ์ฝืกอบรม การรับข่าวสารเคหกิจเกษตรจากสื่อมวลชน การติดต่อกับพนักงานส่งเสริม การติดต่อกับสังคมภายนอก ความพึงพอใจในพนักงานส่งเสริม ความพึงพอใจในผู้นำกลุ่ม ความพึงพอใจในวิธีการส่งเสริม การรับรู้ในวัตถุประสงค์และวิธีดำเนินงานของกลุ่ม ความพึงพอใจในผลตอบแทนที่ได้รับจากกลุ่ม และปัจจัยที่ไม่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร โดยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ สำหรับลักษณะของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร พบว่า การมีส่วนร่วมของสมาชิกและความขัดแย้งภายในกลุ่ม เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรโดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนระยะเวลาที่เป็นสมาชิกนั้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ จึงไม่ถือว่าเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรส่วนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร พบว่า ปัญหาด้านบุคคล ปัญหาด้านเงินทุน และปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ปัจจัยที่ไม่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มโดยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัญหาด้านการจัดการ"
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2032
Appears in Collections:Business Agriculture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanarat-sengratthanachaikul.PDF2.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.