Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2035
Title: ปัจจัยที่มีต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกยาสูบของชาวไร่ สถานีใบยาแม่เลน กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Factors affecting adoption of tobacco-growing technology by growers registerd at Mae Len tobacco station, Mae-on subdistrict, Chiangmai province, Thailand
Authors: ขวัญเมือง จุ้ยคลัง
Keywords: เกษตรกรไทย
ยาสูบ
Issue Date: 1999
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงด์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคมของชาวไร่สถานีใบยาแม่เลน กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ (2) ทัศนคติของชาวไร่ต่อพนักงานส่งเสริม สถานีใบยาแม่เลน(3) การถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกยาสูบของพนักงานส่งเสริมและการใช้เทคโนโลยีการปลูกยาสูบของชาวไร่สถานีใบยาแม่เลน กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ (4)ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการใช้เทคโนโลยีในการปลูกยาสูบของชาวไร่บ่มเองสถานีใบยาแม่เลนผู้ให้ข้อมูลครั้งนี้คือชาวไร่ยาสูบสถานีใบยาแม่เลน จำนวน 182 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ดีอ แบบสัมภาษณ์ เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกยาสูบของชาวไร่สถานีใบยาแม่เลน และการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS/PC)ผลการวิจัยพบว่าลักษณะพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคมของผู้ให้ข้อมูลมีอายุโดยเฉลี่ย 45 ปี ผู้ให้ข้อมูลส่วนมากมีการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสบการณ์ในการปลูกยาสูบโดยเฉลี่ย 21 ปี มีการถือครองที่ดินโดยเฉลี่ยจำนวน 4 ไร่ ปลูกยาสูบโดยเฉลี่ยจำนวน 12 ไร่ เป็นที่ดินที่เช่าปลูกยาสูบจำนวน 11 ไร่ ให้ผู้อื่นปลูกยาสูบจำนวน 6 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 27 กิโลกรัมต่อไร่ ได้เข้ารับการประชุมในรอบปีจำนวน1 ครั้ง มีรายได้จาการขายใบยาสูบระหว่าง 180,001 - 210,000 บาท การติดต่อกับพนักงานส่งเสริมในช่วง3 เดือน จำนวน 3 - 4 ครั้งทัศนคติของชาวไร่ต่อพนักงานส่งเสริมในระดับเห็นด้วยมากมี 2 ข้อ คือ 1) ความซื่อสัตย์สุจริตคะแนนเฉลี่ย 3.40) และ 2) มีอัธยาศัย ไมตรีเข้ากับชาวไร่ได้ง่าย (ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.29) ส่วนด้วยน้อยมี 1 ข้อ คือ การวางแผนร่วมกับชาวไร่ (ค่าคะแนนเฉลี่ย 2.24) หัวข้อที่เหลืออยู่มี ทัศนคติในระดับปานกลาง โดยรวมชาวไรมีทัศนคติต่อพนักงานส่งเสริมในระดับปานกลาง (ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.07)การถ่ายทอดเทดโนโลยีการปลูกยาสูบของพนักงานส่งเสริมผู้ให้ข้อมูลระบุว่าได้วับการถ่ายทอดความรู้ โดยการอธิบายแนะนำการปฏิบัติร้อยละ 71.43 ส่วนการถ่ายทอดความรู้โดยการอธิบายแนะนำการปฏิบัติและทำตัวอย่างให้ดูร้อยละ 25.27 แต่ผลของการศึกษาถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีตามความต้องการของชาวไร่ พบว่า วิธีการถ่ายทอดความรู้ โดยการอธิบายแนะนำการปฏิบัติและทำตัวอย่างให้ดูร้อยละ 50.55รองลงมาเป็นการอธิบายแนะนำการปฏิบัติและใช้สื่อประกอบร้อยละ36.27 ส่วนการอธิบายแนะนำการปฏิบัติและการอธิบายแนะนำการปฏิบัติทำตัวอย่างให้ดูและใช้สื่อประกอบมีค่าเท่ากันคือร้อยละ 6.59จากผลการวิจัยถึงระดับการใช้ทคโนโลยื พบว่า ชาวไร่นำเทคโนโลยีไปใช้ในระดับปานกลางร้อยละ49.45 และนำไปใช้ในระดับน้อย ร้อยละ 46.70 ส่วนการใช้ทคโนโลยีระดับมาก ร้อยละ 2.75 และอีกร้อยละ 1.10 ไม่มีการใช้เทคโนโลยีเมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ซึ่งไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Chi-square แต่เมื่อพิจารณาจากค่าความถี่พบว่าตัวแปรที่มีแนวโน้มมีความสัมพันธ์กับการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกยาสูบ คือ ผลผลิตต่อไร่ การติดต่อกับพนักงานส่งเสริม ส่วนตัวแปรที่เหลือคือ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การปลูกยาสูบ การถือครองที่ดิน พื้นที่ที่ปลูกยาสูบ รายได้ การประชุมในรอบปี ทัศนคติต่อพนักงานส่งเสริม เมื่อพิจารณาจากค่าความถี่พบว่ามีแนวโน้มไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกยาสูบปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการใช้เทคโนโลยี จากการวิจัย พบว่า การขุดหลุมแบบสลับฟันปลา ระยะปลูกระหว่างต้นระหว่างแถว การชำกล้าในกระทง การใส่ฟูราดานรองกันหลุม การใช้]ยเสริมการใช้ปุ๋ยโปแตสเชียมการใช้ยาคุมหน่อหลังการตอนยอด การเก็บใบยาที่สุก-สุกจัดมาบ่มมีการใช้เทคโนโลยีในระดับน้อย ข้อเสนอแนะให้ใช้เทคโนโลยีในระดับที่เหมาะสมและถูกต้อง การใช้ปุยฝัง การตอนยอดเมื่อดอกตูมหรือดอกบานเล็กน้อย มีการใช้ทคโนโลยีในระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะ ให้ใช้ปิยฝังเพิ่มขึ้นโดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง และให้ตอนยอดในช่วงดอกตูมหรือดอกบานเล็กน้อย การใช้งุยเร่ง มีการใช้เทคโนโลยีในระดับมาก ข้อเสนอแนะ ให้ลดการใช้ปุ๋ยเร่งให้น้อยลง และใช้เพียงครั้งเดียว เมื่อยาสูบอายุยังน้อย
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2035
Appears in Collections:Business Agriculture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kwuanmuang-juyklang.PDF2.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.