Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2067
Title: การผลิตและการตลาดไข่ไก่ในจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Production and marketing of eggs in Chiang Mai province
Authors: ทรงเกียรติ กุญชร
Keywords: ไข่ไก่
เชียงใหม่
แง่เศรษฐกิจ
Issue Date: 2000
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การศึกษาเรื่องการผลิตและการตลาดไข่ไก่ในจังหวัดเชียงใหม่ มุ่งประเด็นความสนใจศึกษาปัจจัยทางด้านสังคมและปัจจัยทางด้านการผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะทราบถึง 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลผลิตไข่ไก่ของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ 2 ลักษณะและภาวะการตลาด ตลอดจนความเคลื่อนไหวราคาไข่ไก๋ในจังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่จำนวน 48 ราย สำหรับข้อมูลทางด้านการตลาดได้จากการสัมภาษณ์พนักงานบริษัทและผู้ประกอบการ ส่วนข้อมูลทุติยภูมิเกี่ยวกับราคาไข่ไก่ เพื่อใช้วิเคระห์ความเคลื่อนไหวราคา ได้รวบรวมจากหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ คือ บริษัทลานนากสิกิจในเครือเจริญโคภัณฑ์ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรภาคเหนือ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้การประกอบอาชีพเลี้ยงไก่ไข่ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ไม่จำเป็นต้องมีการศึกษาสูงและไม่จำกัดเพศก็สามารถเลี้ยงไก่ไข่ได้ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ส่วนใหญ่มีที่ดินเป็นของตนเองส่วนมากอยู่ในวัยกลางคน เนื่องจากอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่เป็นอาชีพที่ต้องใช้เงินลพอสมควรสำหรับเกษตรกรโดยทั่วไปและเป็นการลงทุนในระยะยาว ดังนั้นปัจจัยเกี่ยวกับที่ดินทุนและแรงงาน ถือเป็นปัจจัยทางด้านความพร้อมของเกษตรกร การตัดสินใจเข้าสู่อาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ของเกษตรกร เนื่องจากเกษตรกรเล็งเห็นว่าโอกาสสร้างรายได้ให้สูงมีมาก และเกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาราคาและตลาดสินค้าเกษตรชนิดอื่นไม่แน่นอน ซึ่งเกษตรกรส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรผสมผสานและอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่สามารถเสริมเข้ากับอาชีพหลักได้เป็นอย่างดี โดยการเลี้ยงไก่ไข่ภายใต้ระบบสัญญา ผูกพันที่อำนวยผลประโยชน์ให้แก่เกษตรกรทางด้านปัจจัยการผลิต การมีตลาดและราคาที่แน่นอน ซึ่งเกษตรกรรับภาระความเสี่ยงทางด้านการผลิตเพียงประการเดียวปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณผลผลิตไไก่อย่างสำคัญคือ จำนวนไก่ไข่เริ่มเลี้ยงค่าอาหารปัจจัยสิ่งแวดล้อมคือโรงเรือนระบบปีด และปัจจัยแรงงานตามลำดับการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมโดยวิธีวัดค่า HerfindahI Summary Index (HSI)มีค่าเท่ากับ 0.54 แสดงว่าลักษณะโครงสร้างการตลาดเป็นตลาดแข่งขันกึ่งผูกขาด มีการรวมกลุ่มกันของผู้ประกอบการรายใหญ่ในนามชมรมผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่ โดยมีบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์และบริษัท อาร์.พี. เอ็ม ฟาร์มแอนด์ฟิด เป็นผู้นำด้านราคาเนื่องจากมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดร้อยละ 28.70 และ 25.11 ตามลำดับส่วนเหลื่อมการตลาดไข่ไก่เท่ากับ 0.64 บาท/ฟอง หรือคิดเป็นร้อยละ 28.70 ของราคาขายปลีก เนื่องจากตลาดไข่ไก่มีผู้ประกอบการหลายระดับทำหน้าที่กระจายผลผลิตไข่ไก่จากฟาร์มผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคซึ่งแต่ละขั้นตอนมีค่าใช้จ่ายการตลาดและผลกำไรของผู้ประกอบการเกิดขึ้นสำหรับการเคลื่อนไหวของราคาไข่ไก่มีอิทธิพลของแนวโน้มระยะยาวโดยราคาไข่ไก่จะเพิ่มขึ้นเดือนละ 0.001859 บาท/ฟอง ราคาจะสูงสุดในเดือนสิงหาคมและต่ำสุดในเดือนมีนาคม เพราะเดือนสิงหาคมมีพายุฝนเกิดขึ้นบ่อยทำให้ปริมาณไข่ไก่ลดลงและเดือนมีนาคมราคาไข่ไก่ตกต่ำเนื่องจากปริมาณไขไก่สะสมจากช่วงฤดูหนาว และเข้าสู่ช่วงการปิดภาคเรียนามต้องการไข่ไก่ในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาลดลง สำหรับเหตุการณ์ไม่สถานการณ์ชายแดนกับประเทศพม่าสงผลกระทบทางบวกต่อราคาไข่ไก่เท่ากับ 0.0772 บาพฟอง ส่งผลกระทบทางลบต่อราคาไข่ไก่เท่ากับ 0.0686 บาท/ฟอง และในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา ไม่ปรากฏอิทธิพลของวัฎจักรข้อเสนอแนะสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไขในอนาคต ควรเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรือนระบบปิดควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งต้นทุนการผลิตไข่ไก่จะต่ำกว่าและไก่ไข่ให้ผลผลิตสม่ำเสมอ ตลอดปีสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่รายใหม่ควรเลี้ยงไกไข่ภายใต้ระบบสัญญาผูกพัน เกษตรกรจะได้รับประโยชน์จากการถ่ายทอดวิทยาการ เทคโนโลยี ปัจจัยการผลิต การตลาดและราคาซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงสำหรับเกษตรกรรายใหม่สำหรับการแก้ไขปัญหาด้านการตลาดไข่ไก่ ควรขยายฐานการบริโภคไข่ไก่โดยการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้มีการบริโภคไข่ไก่เพิ่มขึ้น โดยเน้นให้เห็นคุณค่าทางโภชนาการของไข่ไก่"
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2067
Appears in Collections:ECON-Dissertation

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
songkiat-kunchorn.PDF2.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.