Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2083
Title: DEVELOPMENT OF TRANSPORTATION MANAGEMENT SYSTEM TO INCREASE EFFICIENCY IN DISTRIBUTING AND TRADING FROZEN FOOD PRODUCTS IN THAILAND TO JAPANESE MARKET: A CASE STUDY OF LANNA AGRO INDUSTRY CO., LTD.
การพัฒนาระบบการจัดการขนส่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสินค้า ผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งในประเทศไทยสู่ตลาดญี่ปุ่น กรณีศึกษา บริษัท ลานนาเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด  
Authors: Warunyu Srichiangrai
วรัญญู ศรีเชียงราย
Raphassorn Kongtanajaruanun
รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์
Maejo University
Raphassorn Kongtanajaruanun
รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์
raphassorn@mju.ac.th
raphassorn@mju.ac.th
Keywords: การขนส่ง
การกระจายสินค้า
ผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง
โลจิสติกส์
transportation
product distribution
frozen food products
logistics
Issue Date:  22
Publisher: Maejo University
Abstract: This quantitative study was conducted to: 1) investigate environmental situations and conditions related to fright management and frozen food product distribution in Thailand; 2) analyze factors effecting efficiency in LEAN logistics system; and 3) find guidelines for developing cold chain system of transportation management and increasing efficiency in frozen food products in Thailand to Japanese market.  In-depth interview schedule was used for data collection conducted with 20 employees of Warehouse and Logistics section, Lanna Agro Industry Co., Ltd.  Obtained data were analyzed by using descriptive statistics, Chi-square and SWOT analysis. Results of the study revealed that Lanna Agro Co., Ltd. Had customer base based on a variety of products.  The company could market well, had a good reputation, and used technology to track and report the status of products and transport.  However, the company still had limitations in personnel shortage and new staff often had no experience which needed training.  This resulted in lack of flexibility in adapting to market conditions.  Besides, there were marketing threats because competitors had better resources and technology.  Yet, still receiving support from the American and European market that had the opportunity to expand the market.  The company could expand investment in machinery and technology to make production and product distribution systems more efficient.  Findings showed that most of the informants were bachelor’s degree graduates and their age range was 35-40 years old.  They had been working for the company for 5 years and above with the salary of 15,001-20,000 baht.  It was found that there was a high level of organization managerial administration.  Key factors included shared value, skills, strategies, structure, form, administration, personnel and operational system, respectively.  Organizational development had high potential at a high level.  This was in terms of 5 aspects: integrated technology, self-management team, overall quality management, employee involvement and organizational learning. The difference in socio-economic attributes of the informants-sex, age, educational attainment, income, years of service and position had a relationship with a level of the efficiency in LEAN logistics on transportation management and increased efficiency in frozen food product distribution.  Meanwhile, factors on structure, strategies, personnel, administration, operation, values and skills had a significant a relationship with a level of the efficiency in LEAN logistics. Regarding the development of LEAN logistics system and cold chain management for increasing the efficiency in frozen food product distribution, the following should be done: knowledge and skill development for employees; creation of fair compensation, opening opinions in the chain of command, and improvement of process flexibility.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์และสภาพแวดล้อม จัดการขนส่งสินค้าและกระจายสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งในประเทศไทย 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบ LEAN Logistics และ 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาระบบ Cold Chain การจัดการขนส่งและเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งในประเทศไทยสู่ตลาดญี่ปุ่น โดยผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ของประชากรแผนกคลังสินค้าและโลจิสติกส์ของบริษัท ลานนาเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด จำนวน 20 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เนื้อหา และการทดสอบ Chi-square ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร่วมกับการวิเคราะห์ SWOT จากการศึกษาพบว่า บริษัท ลานนาเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด มีฐานลูกค้าตามสินค้าที่หลากหลาย สามารถทำการตลาดได้ดี กิจการมีชื่อเสียง มีการใช้เทคโนโลยีในการติดตามและรายงานสถานะของสินค้าและรถขนส่ง แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังมีข้อจำกัดเรื่องของบุคลากรที่ขาดแคลน บุคลากรใหม่มักไม่มีประสบการณ์จึงต้องใช้เวลาในการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะให้กับพนักงาน จึงส่งผลให้ขาดความยืดหยุ่นในการปรับตัวต่อสภาพการตลาด และยังมีภัยจากการตลาดเนื่องจากคู่แข่งที่มีทรัพยากรและเทคโนโลยีที่ดีกว่า และยังได้รับความผันผวนของราคาวัตถุดิบทำให้ควบคุมต้นทุนได้ยาก แต่อย่างไรก็ดี ยังคงได้รับแรงสนับสนุนจากตลาดอเมริกาและยุโรปที่มีโอกาสในการขยายตลาด สามารถขยายการลงทุนในเครื่องจักรและเทคโนโลยีให้ระบบการผลิตและการขนส่งสินค้ามีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น จากกลุ่มตัวอย่างในแผนกคลังสินค้าทั้งในระดับผู้บริหารและพนักงาน ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ 15,001 – 20,000 บาทต่อเดือน ซึ่งปฏิบัติงานมาแล้ว 5 ปีขึ้นไป ในการวิเคราะห์ปัจจัยการบริหารจัดการองค์กร พบว่า ระดับการบริหารจัดการองค์กรอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะปัจจัยที่สำคัญได้แก่ ด้านค่านิยมร่วม ด้านทักษะความสามารถ ปัจจัยด้านกลยุทธ์ ด้านโครงสร้าง ด้านรูปแบบการบริหาร ด้านบุคลากร และด้านระบบการปฏิบัติงาน ตามลำดับ สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพสูง พบว่า การพัฒนาองค์กรให้ศักยภาพสูงอยู่ในระดับมาก โดยพิจารณาจาก 5 ด้าน และมีระดับความสำคัญเรียงลำดับได้ คือ ด้านเทคโนโลยีแบบประสมประสาน ด้านทีมงานบริหารตนเอง ด้านการบริหารคุณภาพโดยรวม ด้านความเกี่ยวข้องของพนักงาน และด้านการเรียนรู้ขององค์กร จากการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และตำแหน่งงาน มีความสัมพันธ์ต่อระดับประสิทธิภาพของระบบ LEAN Logistics การจัดการขนส่งและเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งในประเทศไทยสู่ตลาดญี่ปุ่นให้มีศักยภาพสูง ขณะเดียวกันปัจจัยด้านโครงสร้าง ด้านกลยุทธ์ ด้านบุคลากร ด้านการบริหาร ด้านการปฏิบัติงาน ด้านค่านิยม และด้านทักษะ มีความสัมพันธ์ต่อระดับประสิทธิภาพของระบบ LEAN Logistics การจัดการขนส่งและเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งในประเทศไทยสู่ตลาดญี่ปุ่นให้มีศักยภาพสูง อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับการพัฒนาระบบ LEAN Logistic และการจัดการโซ่ความเย็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง คือ ควรพัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถของบุคลากรให้เพียงพอเพื่อทันต่อการแข่งขัน สร้างผลตอบแทนให้กับบุคลากรอย่างเป็นธรรม และเปิดรับความคิดเห็นในสายการบังคับบัญชา เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนงานให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2083
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6401735013.pdf6.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.