Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2092
Title: THE USE OF EXTRUDED JACK BEAN (Canavalin ensiformis L.) IN LAYING AND BROILER DIETS
การใช้ถั่วพร้าเอ็กทรูดในอาหารไก่ไข่และไก่เนื้อ
Authors: Apinya Boonbanlu
อภิญญา บุญบรรลุ
Buaream Maneewan
บัวเรียม มณีวรรณ์
Maejo University
Buaream Maneewan
บัวเรียม มณีวรรณ์
buaream@mju.ac.th
buaream@mju.ac.th
Keywords: ถั่วพร้า
ประสิทธิภาพการผลิต
ลักษณะซาก
คุณภาพเนื้อ
Jack Bean
Production performance
Carcass carateristics
Meat quality
Issue Date:  7
Publisher: Maejo University
Abstract: The study of the use of extruded jack bean in the diet of laying hens and broilers was divided into two experiments. Experiment 1 studied the effects of extruded Jack bean (Canavalin ensiformis L.) in laying hen diets on production performance and egg quality were conducted in a total 200 thirty-four weeks of age laying hens (Lohmann brown-classic). The hens were randomly divided into 5 groups with 4 replicates of 10 hens per replicate in a Complete Randomized Design (CRD). The hens in group 1 were fed diet without extruded jack bean (the control), while group 2 3 4 and 5 were fed diets with diets with extruded jack bean at the level of 3 6 9 and 12 %, respectively. The production performance and egg quality were observed for 8 weeks. The results showed that the feed intake, egg production, feed conversion ratio and egg quality were not different (P > 0.05) excepted that the yolk color value which a* value of the 3 and 6 % groups were not different from the control group (P < 0.05) but the levels 9 and 12 % groups were lower than the control group and the 3% group of jack bean had a higher b* than the other group of jack bean (P < 0.05). Therefore, extruded jack bean can be use as the alternative protein source in laying hen diets and at 12 % without any adverse effects on egg production performance. Experiment 2 studied the effect of using of extruded jack bean (Canavalin ensiformis L.)  in broiler diets on growth performance carcass characteristics and meat quality. A total of 160-day-old male broilers were assigned in completely randomized design (CRD) into 4 groups with 4 replicates of 10 birds of each. In groups 1 the chicks were fed a control diet. Groups 2 3 and 4 the chicks were fed an extruded jack bean 5.00 10.00 and 15.00% respectively. The growth performance carcass characteristics meat quality was observed for 5 weeks. The results showed that feed intake body weight gain, feed conversion ratio carcass characteristics drip loss cooking loss and TBARs were not different (P > 0.05). The feed conversion ratio throughout the experiment tended to be higher in the group that used 15.00% of the extruded jack bean (P = 0.08) and carcass characteristics tend to be higher in the breast meat shank and feet (P=0.05). The meat quality was found that in a period of 45 minutes in the group using extruded jack bean at the 10.00% level was the highest lightness (L*) values (P<0.05).  The yellowness (b*) value of breast meat in the group using extruded jack bean 10.00% was higher than the group using extruded jack bean 5.00% (P<0.05) but not different from the other groups (P>0.05). During the 24 hours after the slaughter chicken the lightness (L*) values of breast meat was higher in the group using extruded jack bean 10.00% compared with the group using extruded jack bean 15.00%(P<0.05)but not different from other groups (P>0.05). The using extruded jack bean 15.00% reduced feed cost per gain (P<0.05) and tended to reduced feed cost per gain (P=0.08). Therefore, the optimum level for using extruded jack bean in broiler diets without any adverse effect on growth performance carcass characteristics and reduced feed cost per gain is 15.00%. Base on the result of this studies the use of extruded jack bean in laying hen diets at all levels has no any adverse effect on egg production performance and egg quality. The use of extruded Jack bean in broiler diets has no adverse effect on growth performance carcass characteristics and meat quality. The optimum level for using extruded jack bean in laying hen diets is 12.00% and in broiler diets can be used extruded jack bean up to 15.00%. Jack bean extrusion can be used to reduce production costs for farmers who raise laying hens and broilers. In addition, using extruded jack bean increase the weight of breast meat. The jack bean contains essential amino acids and high oleic acid. Jack bean is the alternative source of protein for farmers who aim in protein sources production from chicken breast meat.
การศึกษาการใช้ถั่วพร้าเอ็กทรูดในอาหารไก่ไข่และไก่เนื้อ แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 ศึกษาผลการใช้ถั่วพร้าในอาหารไก่ไข่ที่ระดับแตกต่างกันต่อประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพไข่ โดยใช้ไก่ไข่สายพันธุ์ Lohmann Brown-Classic อายุ 34 สัปดาห์ จำนวนทั้งหมด 200 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว กลุ่มที่ 1 แม่ไก่ได้รับอาหารพื้นฐานไม่ใช้ถั่วพร้าเอ็กทรูด และกลุ่มที่ 2 3 4 และ 5 แม่ไก่ได้รับอาหารที่ใช้ถั่วพร้าเอ็กทรูด 3.00 6.00 9.00 และ 12.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ทำการศึกษาประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพไข่เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่าปริมาณอาหารที่กิน ผลผลิตไข่ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักไข่ และคุณภาพไข่ตลอดการทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) ยกเว้น ค่าสีของไข่แดง ซึ่ง a* ของกลุ่มที่ใช้ถั่วพร้าเอ็กทรูดที่ระดับ 3.00 และ 6.00 เปอร์เซ็นต์ ไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุม (P < 0.05) แต่ที่ระดับ 9.00 และ 12.00 เปอร์เซ็นต์ มีค่าต่ำกว่ากลุ่มควบคุม และกลุ่มที่ใช้ถั่วพร้าที่ 3 เปอร์เซ็นต์ มีค่า b* สูงกว่า กลุ่มที่ใช้ถั่วพร้ากลุ่มอื่น (P < 0.05) ดังนั้นถั่วพร้าเอ็กทรูดสามารถใช้เป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกในอาหารไก่ไข่ได้ถึง 12.00 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตไข่ การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของการใช้ถั่วพร้าเอ็กทรูดในอาหารไก่เนื้อที่ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต ลักษณะซาก และคุณภาพซาก โดยใช้ไก่เนื้อเพศผู้อายุ 1 วันจำนวน 160 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว ประกอบด้วยกลุ่มที่ 1 เลี้ยงด้วยอาหารควบคุม กลุ่มที่ 2 3 และ 4 เลี้ยงด้วยอาหารที่ใช้ถั่วพร้าเอ็กทรูด 5.00 10.00 และ 15.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ทำการศึกษาสมรรถภาพการเจริญเติบโต ลักษณะซาก และคุณภาพเนื้อเป็นเวลา 5 สัปดาห์ พบว่าปริมาณอาหารที่กิน น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว ลักษณะซาก การสูญเสียน้ำจากการแช่เย็น การสูญเสียน้ำจากการทำให้สุก และค่าออกซิเดชันในเนื้อไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) แต่อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวตลอดการทดลองมีแนวโน้มของกลุ่มที่ใช้ถั่วพร้า 15.00 เปอร์เซ็นต์ดีขึ้น (P=0.08) และลักษณะซากในส่วนของอกนอก แข้ง และตีน มีแนวโน้มสูงขึ้น (P=0.05) และด้านคุณภาพเนื้อ พบว่าในช่วงเวลา 45 นาทีแรก ค่าความสว่างของสีเนื้อในกลุ่มที่ใช้ถั่วพร้าที่ระดับ 10.00 เปอร์เซ็นต์ มีค่าสูงที่สุด และค่าความเหลืองของเนื้ออกในกลุ่มที่ใช้ถั่วพร้าที่ระดับ 10.00 เปอร์เซ็นต์มีค่าสูงกว่ากว่ากลุ่มที่ใช้ถั่วพร้าที่ระดับ 5.00 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่แตกต่างกับกลุ่มอื่นๆ (P<0.05) และในช่วง 24 ชั่วโมงหลังการฆ่า พบว่าค่าความสว่างของเนื้ออกในกลุ่มที่ใช้ถั่วพร้าที่ระดับ 10.00 เปอร์เซ็นต์ มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ใช้ถั่วพร้าที่ระดับ 15.00 เปอร์เซ็นต์แต่ไม่แตกต่างกับกลุ่มอื่นๆ (P>0.05) การใช้ถั่วพร้าเอ็กทรูดที่ระดับ 15.00 เปอร์เซ็นต์ ลดต้นทุนค่าอาหารต่อการผลิตเนื้อ 1 กิโลกรัม (P<0.05) และมีแนวโน้มลดค่าอาหารต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (P=0.08) ดังนั้นระดับที่เหมาะสมในการใช้ถั่วพร้าเอ็กทรูดในอาหารไก่เนื้อโดยไม่ส่งผลเสียต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต ลักษณซากและลดต้นทุนค่าอาหารต่อการผลิตเนื้อ 1 กิโลกรัม คือ 15.00 เปอร์เซ็นต์  โดยภาพรวมกล่าวได้ว่าการใช้ถั่วพร้าเอ็กทรูดในอาหารไก่ไข่ทุกระดับไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตไข่ และคุณภาพไข่ และการใช้ถั่วพร้าเอ็กทรูดในอาหารไก่เนื้อทุกระดับไม่ส่งผลต่อ สมรรถภาพการเจริญเติบโต ลักษณะซาก และคุณภาพเนื้อ โดยระดับที่เหมาะสมในการนำถั่วพร้าเอ็กทรูดไปใช้ในสูตรอาหารไก่ไข่อยู่ที่ 12.00 เปอร์เซ็นต์ และในสูตรอาหารไก่เนื้อสามารถใช้ได้ถึง 15.00 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถใช้ถั่วพร้าเอ็กทรูดเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่และไก่เนื้อ นอกจากนี้การใช้ถั่วพร้าเอ็กทรูดยังสามารถช่วยเพิ่มน้ำหนักเนื้ออกนอกได้ เนื่องจากในถั่วพร้ามีกรดอะมิโนจำเป็น และกรดไขมันโอเลอิกที่มีประโยชน์สูง จึงเป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกให้กับเกษตรกรที่มุ่งเน้นผลิตแหล่งโปรตีนจากเนื้ออกไก่
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2092
Appears in Collections:Animal Science and Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6522301002.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.