Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2095
Title: การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตข้าวนาปรังของประเทศไทย
Other Titles: Productity efficency of input uses in major and second rice production of Thailand
Authors: สุชาดา คชฤกษ์, suchada kotchareak
Keywords: ปัจจัยการผลิต
ข้าวนาปิ
ข้าวนาปรัง
Issue Date: 2000
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาฟังค์ชันการผลิตข้าวนาปีและข้าวนาปรังของประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตข้าวนาปีและข้าวนาปรังของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 - 2539 รวม 25 ปี จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงช้อน (multiple regression) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS fo Windows) โดยใช้วิธีการประมาณค่าแบบกำลังสองน้อยที่สุด (OrdinaryLeast Squares : OLS) โดยการคัดเลือกตัวแปรแบบ stepwise regression ผลการวิจัยมีดังนี้ คือ ผลการศึกษาฟังค์ชันการผลิตข้าวนาปี พบว่า สมการแบบ กึ่งล็อก (semi-0g form) สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณผลผลิตและปัจจัยการผลิตข้าวนาปีได้ดีกว่าสมการในรูปแบบเส้นตรง (linear form) และสมการแบบล๊อกคู่ (double-logform) โดยปัจจัยการผลิตที่สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ประกอบด้วย พื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปี แรงงานภาคเกษตร และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี โดยแรงงานภาคเกษตรเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการผลิตข้าวนาปี รองลงมาคือพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปี และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีตามลำดับการศึกษาประสิทธิภาพทางเทคนิคข้าวนาปี พบว่าหากมีการเพิ่มพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าว-นาปี 1 ไร่ จะทำให้ผลผลิตข้าวนาปีเพิ่มขึ้น 138.23 กิโลกรัม การเพิ่มแรงานภาคเกษตร 1 คน จะมีผลทำให้ผลผลิตข้าวนาปีเพิ่มขึ้น 691.15 กิโลกรัม และการเพิ่มปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1 มิลลิเมตรจะทำให้ผลผลิตข้าวนาปีเพิ่มขึ้น 2,488.17 ตัน เมื่อกำหนดให้ปัจจัยการผลิตอื่น ๆ คงที่การศึกษาประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจข้าวนาปีปรากฎว่าอัตราส่วนมูลค่าเพิ่มหน่วยสุดท้าย (MVP) ของผลผลิตข้าวนาปีต่อราคาปัจจัยการผลิตคือ พื้นที่เก็บเกี่ยวช้าวนาปี และแรงงานภาคเกษตรมีค่าเท่ากับ 2.7433 และ 1.6593 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่ามีการใช้ปัจจัยการผลิตต่ำกว่าระดับที่มีประสิทธิภาพ ณ ระดับราคาปัจจัยการผลิตและผลผลิตเฉลี่ยในช่วงที่ทำการศึกษาคือเกษตรกรจะมีกำไรสูงขึ้นถ้าเพิ่มการใช้ปัจจัยทั้ง 2 ชนิด ดังกล่าวผลการศึกษาฟังค์ชันการผลิตข้าวนาปรัง พบว่าสมการแบบกึ่งล๊อก (semi-log forr) สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณผลผลิตและปัจจัยการผลิตข้าวนาปรังได้ดีกว่าสมการในรูปแบบเส้นตรง (inear form) และสมการแบบล็อกคู่ (double-log form) เช่นกันโดยปัจจัยการผลิตที่สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99% ประกอบด้วยพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปรังและแรงงานภาคเกษตร โดยพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าว นาปรังเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการผลิตข้าวนาปรังการศึกษาประสิทธิภาพทางเทคนิคข้าวนาปรัง พบว่าหากมีการเพิ่มพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง 1 ไร่ จะทำให้ผลผลิตข้าวนาปรังเพิ่มขึ้น 521.37 กิโลกรัม ส่วนการเพิ่มแรงงานภาคเกษตร 1 คน จะมีผลทำให้ผลผลิตข้าวนาปวังเพิ่มขึ้น 115.86 กิโลกรัม เมื่อกำหนดให้ปัจจัยการผลิตอื่น ๆ คงที่การศึกษาประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของข้าวนาปรัง ปรากฎว่าอัตราส่วนของมูลค่าเพิ่มหน่วยสุดท้าย(MVE) ของผลผลิตข้าวนาปรังต่อราคาปัจจัยการผลิตคือ พื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปรังและแรงงานภาคเกษตร มีค่าเท่ากับ 10.4601 และ 2.1646 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าในการผลิตข้าวนาปรังของไทยยังมีการใช้ปัจจัยการผลิตต่ำกว่าระดับที่มีประสิทธิภาพ ณ ระดับราคาปัจจัยการผลิตและผลผลิตที่เป็นอยู่ดังนั้นการเพิ่มพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปรังและแรงงานภาคเกษตรจะทำให้กำไรจากการผลิตข้าวนาปรังเพิ่มสูงขึ้น
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2095
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suchada-kotchareak.PDF1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.