Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2113
Title: การตลาดลำไยในจังหวัดลำพูน ปี พ.ศ. 2544
Other Titles: Marketing of longan in Lamphun province, 2001
Authors: สุรสิทธิ์ วงศ์การณ์, surasit wongkarn
Keywords: ลำไย
การตลาด
ลำพูน
Issue Date: 2002
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการตลาดลำไยในจังหวัดลำพูนปีการผลิต พ.ศ. 2544 และเพื่อศึกษาถึงปัญหาการตลาดที่เกษตรกรผู้ปลูกลำไยและพ่อค้าคนกลางในจังหวัดลำพูนในปี พ.ศ. 2544 โดยรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกลำไย จำนวน 100 ราย และพ่อค้าคนกลางในจังหวัดลำพูน จำนวน 31 ราย ในปี พ.ศ. 2544 ผลการศึกษาด้านสถานภาพโดยทั่วไปของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย พบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 38 - 47 ปี มีการศึกษาระคับ ป.4 - ป.6 และ ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีพื้นที่เพาะปลูกลำไยรวมเฉลี่ยรายละ 12.68 ไร่ เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างนิยมปลูกลำไยพันธุ์อีดอมากที่สุด มีปริมาณผลผลิตรวมทั้งปีเฉลี่ยรายละ 7,516.54 กิโลกรัมมีรายได้จากการขายลำไยในฤดูเฉลี่ยรายละ 107,150.68 บาท และมีรายได้จากการขายลำไยนอกฤดูเฉลี่ยรายละ 156,148.15 บาท ผลการศึกษาวิถีการตลาดลำไยในฤดูของเกษตรกรผู้ปลูกลำไยในจังหวัดลำพูน พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้วิธีการจำหน่ายลำไยในฤดูโคยการเก็บผลผลิตไว้ขายเอง โดยจะขายเป็นลำไยสด (ไม่ร่วง) ในลักษณะของการกัดเกรคบรรจุตะกร้า และนิยมขายให้พ่อค้าในท้องที่ ส่วนวิถีการตลาดลำไยนอกฤดูของเกษตรกรผู้ปลูกลำไยในจังหวัดลำพูน จะใช้วิธีการจำหน่ายลำไยนอกฤดูโดยการ เก็บผลผลิตไว้ขายเอง โดยเกษตรกรจะขายเป็นลำไยสด (ไม่ร่วง) มากที่สุด ในลักษณะของการคัดเกรดบรรจุตะกร้ามากที่สุด และนิยมขายให้พ่อค้าส่งออกมากที่สุด เกษตรกรผู้ปลูกลำไยในจังหวัดลำพูนที่ขายลำไขในฤดูและนอกฤดูประเภทลำไยสด (ไม่ร่วง) และลำไขอบแห้ง ประสบกับปัญหา ทางค้านการตลาดในเรื่องของราคาผลผลิตตกต่ำมากที่สุด ผลการศึกษาค้านพ่อค้าคนกลาง พบว่า ในปี พ.ศ. 2544 พ่อค้าลำไยสดรายใหญ่เป็น พ่อค้าคนกลางที่รับซื้อลำไยถึง 27.860 ตัน/ปี โดยรับซื้อลำไยในฤดูจำนวน 16,150 ตัน/ปี และรับซื้อ ลำไขนอกฤดูจำนวน 11,710 ตันปี โดยพ่อค้าลำไยสดรายใหญ่และรายย่อยต่างก็รับซื้อลำไยสดทั้งในฤดูและนอกฤดูแบบตัดเกรคบรรจุตะกร้ามากที่สุด โดยพ่อค้าลำไยสดรายใหญ่และรายย่อยจะนิยมรับซื้อผลผลิตลำไยโดยวิธีการให้เกษตรกรนำมาขายเองสำหรับวิถีการตลาดลำไยในฤดูของพ่อก้าคนกลางในจังหวัดลำพูน ปี พ.ศ. 2544 พบว่า พ่อค้าลำไยสดรายใหญ่จะส่งออกเอง ส่วนพ่อค้าลำไยสดรายย่อยจะขายต่อให้กับผู้ส่งออกสำหรับพ่อค้าลำไขอบแห้งจะส่งออกเองประมาณร้อยละ 56.15 ส่วนอีกร้อยละ 43.85 จะขายให้กับผู้ส่งออก พ่อค้าลำไยรายใหญ่และรายย่อยจะนิยมใช้วิธีการกำหนดราคาโดยการพิจารณาจากสายตาและประสบการณ์ สำหรับพ่อค้าลำไยอบแห้งจะใช้วิธีการกำหนดราคาด้วยเครื่องกัดเกรด พ่อค้าคนกลางในจังหวัดลำพูนนิยมขนส่งลำไยทางรถยนต์มากที่สุดสำหรับวิถีการตลาดลำไยนอกฤดูของพ่อค้าคนกลางในจังหวัดลำพูน ปี พ.ศ. 2544 พบว่า พ่อค้าลำไยสดรายใหญ่ส่งออกเอง ส่วนพ่อค้าลำไขสดรายย่อยจะขายต่อให้กับผู้ส่งออก สำรับพ่อค้าลำไขอบแห้งจะส่งออกเองมากที่สุดพ่อค้าลำไยรายใหญ่และรายย่อยจะใช้วิธีการกำหนดรากโดยการพิจารณาจากสายตาและประสบการณ์ส่วนพ่อค้าลำไขอบแห้งจะใช้วิธีการกำหนดราคาด้วยเกรื่องคัดเกรดวิถีการตลาดลำไยโดยรวมในจังหวัดลำพูน ปี พ.ศ. 2544 เกษตรกรจะขายลำไยออกเป็น 2 ประเภท คือ ลำไยสด(ไม่ร่วง) และลำไยร่วง โดยลำไยสดจะขายให้กับพ่อค้าเร่ พ่อค้าในท้องถิ่นพ่อค้าส่งออก พ่อค้าท้องที่ โดยพ่อค้าท้องที่จะขายนำไปขายต่อให้กับพ่อค้าท้องถิ่น และพ่อค้าส่งออก ซึ่งพ่อค้าท้องถิ่นจะนำไปขายต่อกับพ่อก้าเลึกซึ่งเป็นผู้ที่จะนำไปขายให้กับผู้บริโภคในประเทศต่อไป ส่วนพ่อค้าส่งออกจะนำไปขายต่อผู้ส่งอถกซึ่งจะนำไปขายให้กับผู้บริโภคในต่างประเทศต่อไป สำหรับลำไยร่วงเกษตรกรจะขายให้กับผู้อาแห้งรายบ่อย โรงงานอบแห้ง โรงงานกระป๋องซึ่งโรงงานลำไขอบแห้ง และโรงงานลำไยกระป๋อง เปรรูปส่งขายให้กับผู้บริโภคภายในประเทศและขายผู้ส่งออกเพื่อนำไปขายให้กับผู้บริโภคต่างประเทศต่อไป พ่อค้าคนกลางในจังหวัดลำพูนนิยม ขนส่งลำไยทางรถยนต์มากที่สุด พ่อค้าคนกลางในจังหวัดลำพูนประสบกับปัญหาคุณภาพของผลผลิตลำไยในฤดูต่ำมากที่สุด โดยที่พ่อค้าลำไยสดรายใหญ่ประสบกับปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำและคุณภาพของผลผลิตลำไยต่ำมากที่สุด ส่วนพ่อค้าลำไยสดรายย่อยประสบกับปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำและไม่มีอำนาจต่อรองราคากับผู้รับซื้อลำไย
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2113
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
surasit-wongkarn.PDF1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.