Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2114
Title: ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการพัฒนาการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Farmers' Satisfaction with Agricultural Development of Tambon Uvha Administration Organization in Sanpatong District, Chiang Mai Province
Authors: ผกากานต์ ทองสมบุญ, Phakakarn tongsomboon
Keywords: องค์การบริหารส่วนตำบล
การพัฒนาการเกษตร
เกษตรกร
ไทย
เชียงใหม่
Issue Date: 2004
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกรในเขตพื้นที่ตำบลยุหว่า 2) ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการพัฒนาการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลยุหว่า 3) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกรกับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการพัฒนาการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลยุหว่า 4) รวมทั้งปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรที่มีต่อการพัฒนาการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลยุหว่า โดยรวบรวมข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่างเกษตรกรที่เป็นหัวหน้าครอบครัวในเขตพื้นที่ตำบลยุหว่า จำนวน 291 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการทคสอบคุณภาพแล้ว จากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSSPC) โดยใช้สถิติ ค่ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิด ค่าเยี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าน้ำหนักคะแนนเฉลี่ย และสถิติไคสแควร์ (X' - (est) ผลการวิจัยเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคม พบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย ร1.35 ปี ส่วนใหญ่สมรสแล้ว จบการศึกษาระดับประถมศึกษา และมีรายได้เฉถี่ย 38,338.42 บาทต่อปี โดยผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ร้อยละ 61.86 ระบุว่าในรอบ 6 ปีที่ผ่านมาไม่เคยติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนผู้ให้ข้อมูลที่เคยติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลเคชคิดต่อเฉลี่ย เ.21 ครั้งต่อปีเท่านั้น นอกจากนี้ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ร้อยละ 68.04 มีความคิคเห็นว่าโครงกรสนับสนุนหรือพัฒนาทางการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร ผู้ให้ข้อมูลร้อยละ 50.1 7 มีความคิดเห็นว่ากิจกรรมการพัฒนาทางด้านการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลสามารถตอบสนองความต้องการของเกษตรกร สำหรับในค้านความน่าเชื่อถือขององค์การบริหารส่วนตำบล ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถือองค์การบริหารส่วนตำบล ในระดับปานกลางทั้ง 4 ค้าน คือ ค้านความน่ไว้วางใจ ความเป็นผู้รู้จักคุ้นเคย ความเป็นผู้มีความรู้ และความคล่องตัว สำหรับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการพัฒนาการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลยุหว่า พบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับปานกลางทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานทางการเกษตร ด้านการพัฒนาการผลิดทางการเกษตร ด้านการพัฒนาสถาบันและกลุ่มทางการเกษตร และด้านการดำเนินงานในด้านความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุกคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกรกับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการพัฒพาการเกษตรขององค์การบริหารส่วนคำบลยุหว่า พบว่า อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ความถี่ในการติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบล และความน่าเชื่อถือขององค์การบริหารส่วนตำบล มีความสัมพันธ์หรือมีผลต่อความพึงพอใจของเกษตรกร ส่วนเพศ และสถานภาพการสมรส ไม่มีความสัมพันธ์หรือไม่มีผลต่อความพึ่งพอใจของเกษตรกรส่วนด้านปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรต่อการพัฒนาการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลยุหว่า พบปัญหาในค้านการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานทางการเกษตร อาทิ เช่น แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรไม่เพียงพอ ตลาครองรับผลผลิตทางการเกษตรมีน้อย และราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำ เกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างประปาเพื่อการเกษตร ขุดลอกลำเหมือง จัดทาตลาครองรับผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งประกันราคาพืชผลทางการเกษตร สำหรับปัญหาด้านการพัฒนาการผลิตทางการเกษตร พบปัญหาองค์การบริหารส่วนตำบลมีการฝึกอบรมน้อย ขาดการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ เกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้องค์การบริหารส่วนตำบลจัดฝึกอบรม ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์ทางด้านการเกษตรให้มากขึ้น ส่วนปัญหาค้านการพัฒนาสถาบันและกลุ่มทางการเกษตร พบปัญหาสถาบันและกลุ่มขาดความเข้มแข็งขาดความรู้ ประสบการณ์ และงบประมาณในการทำกิจกรรมกลุ่ม เกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้องค์การบริหารส่วนคำบลสนับสนุนการรวมกลุ่มมากขึ้น จัดการฝึกอบรมให้ความรู้ทางการเกษตร และจัดหางบประมาณให้แก่สถาบันกลุ่มต่าง ๆ
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2114
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phakakamn-tongsomboon.PDF2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.