Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2116
Title: มูลเหตุจูงใจในการเข้าไปใช้ประโยชน์จากของป่า ภายในพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ของราษฎรบ้านแม่สาใหม่ บ้านโป่งแยงนอก และบ้านแม่แมะ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Causes of motivation in forest product utilization inqueen sirikit botanic garden area of people in Ban Maesa-Mai, Ban Pongyang-Nok and Ban Mae-Mhae,amphur Maerrim, Chaingmai, Thailand
Authors: ฉัตรทอง เจือจันทร์, Chatthong chuachan
Keywords: ทรัพยากรป่าไม้
สวนพฤษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
Issue Date: 2001
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ถักษณะส่วนบุดคถ เศรษฐกิจ สังคมของราษฎรบ้านแม่สาใหม่ บ้านโป่งแยงนอก และบ้านแม่แมะ 2) มูลเหตุจูงใจการเข้าไปใช้ประโยชน์จากของป่า ภายในพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ของราษฎรบ้านแม่สาใหม่ บ้านโป่งแยงนอก และบ้านแม่แมะ 3 ) เปรียบเทียบประเภทแรงจูงใจที่เป็นมูลเหตุจูงใจการเข้าไปใช้ประโยชน์จากของป่าภายในพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิดิ์ ของราษฎรบ้านแม่สาใหม่ บ้านโป่งแยงนอก และบ้านแม่แมะ 4) ความรู้ความเข้าใจในแนวคิดความหลากหลายทางชีวภาพของราษฎรบ้านแม่สาใหม่ บ้านโป่งแยงนอก และบ้านแม่แมะ 5) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจในแนวคิดความหลากหลายทางชีวภาพของราษฎรบ้านแม่สาใหม่บ้านโป่งแยงนอก และบ้านแม่แมะ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ หัวหน้าครอบครัว จำนวน 223 ราย โดยได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic random sampling) และข้อมูลจากการวิจัยครั้งนี้ได้มาจากการสัมภายณ์ โดยอาศัยแบบสอบถามเป็นเครื่องมือและได้จัดเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงระหว่างเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2543 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีอายุเฉลี่ย 43 ปี] จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาตอนต้น มีรายได้เฉลี่ย 42,56 บาทต่อปี และมีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักและประกอบอาชีพรับข้างทั่วไปเป็นอาชีพรอง มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน ส่วนใหญ่มีสถานภาพการถือครองที่ดินเป็นของตนเองทั้งหมด ผู้ให้ข้อมูลเกินครึ่งไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม ที่มีกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกหมู่บ้าน และผู้ให้ข้อมูลส่วนมากไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมมูลเหตุจูงใจในการเข้าไปใช้ประโยชน์จากของป่า ภายในพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์สมเด็งพระนางเจ้าสิริกิติ์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลทั้ง 3 หมู่บ้านมีมูลเหตุดูงใจในการเข้าไปใช้ประโยชน์จากของป่าจัดอยู่ในประเภทแรงจูงใจภายใน และผลการเปรียบเทียบประเภทแรงจูงใจที่เป็นมูลเหตุจูงใจในการเข้าไปใช้ประโชน์จากของป้า ของราษฎรบ้านแม่สาใหม่ บ้านโป่งแยงนอกและบ้านแม่แมะ พบว่ามูลเหตุจูงใจในการเข้าไปใช้ประโยชน์จากของป่าจัดอยู่ในประเภทแรงจูงใจภายในในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ทั้ง 3 หมู่บ้านความรู้ความเข้าใจในแนวคิดความหลากหลายทางชีวภาพ ของราษฎรบ้านแม่สาใหม่ บ้านโป้งแยงนอก และบ้านแม่แมะ ผลการวิจัยพบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีระดับความรู้ความข้าใจในแนวคิดความหลากหลายทางชีวภาพอย่างถูกต้องอย่างน้อย 3 แนวคิด ได้แก่ 1.) แนวคิดการรักษาสภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ให้คงอยู่ต่อไปได้ตลอด จำเป็นต้องรักษาค้ำจุนสิ่งมีชีวิตทุกชนิดให้อยู่รอดปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์และมนุษย์ เพื่อให้เกิดความสมคุลของธรรมชาติ 2.) แนวคิดความหลากหลายทางชีวภาพเป็นความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดรวมทั้งความหลากหลายทางพันธุกรรมและถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น 3.) แนวคิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเป็นผลมาจากการถางป่า และเผาป่าเพื่อทำไร่ ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย การล่าสัตว์ การเก็บของป่าและพืชหายากผลการเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจในแนวคิดความหลากหลายทางชีวภาพของของราษฎรบ้านแม่สาใหม่ บ้านโป่งแยงนอก และบ้านแม่แมะ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลทั้ง 3 หมู่บ้านมีระดับความรู้ความเข้าใจในแนวคิดความหลากหลายทางชีวภาพอย่างถูกต้องน้อยเช่นเดียวกัน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2116
Appears in Collections:Science
Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chatthong-chuachan.PDF1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.