Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2131
Title: EFFECTS OF PELLETING FORMULAS AND METHODS OF PELLETING SEED WITH FUNGICIDES ON SEED QUALITY, CONTROLLING DAMPING-OFF AND LONGEVITY ON MARIGOLD SEEDS
ผลของสูตรตำรับและวิธีการพอกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ การควบคุมโรคเน่าคอดิน และการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ของดาวเรือง
Authors: Aranya Singsopha
อรัญญา สิงโสภา
Jakkrapong Kangsopa
จักรพงษ์ กางโสภา
Maejo University
Jakkrapong Kangsopa
จักรพงษ์ กางโสภา
jakkrapong_ks@mju.ac.th
jakkrapong_ks@mju.ac.th
Keywords: การพอกเมล็ดพันธุ์
การยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์
เมล็ดพันธุ์ดาวเรือง
สารป้องกันกำจัดโรคพืช
seed pelleting
seed enhancement
marigold seed
fungicides
Issue Date:  7
Publisher: Maejo University
Abstract: Marigold seeds are small in size, lightweight, and contain low nutrient reserves, leading to issues with slow and inconsistent germination. To address this, seed pelleting technology has been employed to increase seed size and uniformity, thereby improving germination consistency. Additionally, marigold seeds often face problems caused by the Pythium sp. fungus, a significant pathogen that attacks seeds before germination, resulting in shriveled, decayed seeds or water-soaked lesions at the base of the plant, eventually leading to seedling breakage and death. To tackle these challenges, a combination of seed pelleting techniques and fungicide agents for fungal protection has been applied. This study is divided into three experiments: Experiment 1: Investigation of suitable composite and pelleting materials for marigold seed pelleting. Sub-experiment 1.1: Study of suitable composite materials and their ratios for seed pelleting. Three composite materials were used: carboxymethyl cellulose (CMC), methyl hydroxyethyl cellulose (MHEC), and methylcellulose (MC) at concentrations of 0.2%, 0.3%, and 0.4%. It was found that pelleting with 0.3% CMC resulted in slower dissolution of the pelleting pellet and longer seedling length compared to non-pelleted seeds. Sub-experiment 1.2: Study of suitable pelleting materials for marigold seeds. Seven pelleting materials were used: calcium sulfate (CaSO4), calcium carbonate (CaCO3), talcum, bentonite, zeolite, pumice, and vermiculite. Pelleting with vermiculite resulted in slower dissolution of the pelleting pellet and longer seedling length compared to non-pelleted seeds. Experiment 2: Study of the effects of pelleting marigold seeds with fungicide agents to inhibit plant disease-causing pathogens. Sub-experiment 2.1: Study of fungicide agents that can inhibit Pythium sp. Six chemical agents were tested: metalaxyl, captan, mancozeb, Imidazole, fosetyl aluminium, and chlorothalonil. It was found that mancozeb and fosetyl aluminium were the most effective in inhibiting Pythium sp. growth by 100%. Sub-experiment 2.2: Study of the effects of pelleting marigold seeds with mancozeb and fosetyl aluminium on seed quality. Pelleting with mancozeb 0.4 g.ai. and fosetyl aluminium 0.1 g.ai. resulted in significantly higher germination rates and vigour seedlings compared to non-pelleted seeds, while also inhibiting Pythium sp. Experiment 3: Study of the effectiveness of preventing Pythium sp. infection and changes in seed quality after storage under different conditions. 3.1: Study of disease prevention from Pythium sp. after storage in different conditions. 3.2: Study of the effects of pelleted marigold seeds on seed quality after storage in different conditions. Pelleting with mancozeb 0.4 g.ai. resulted in better germination and growth compared to non-pelleted seeds after 8 months of controlled environmental storage and 6 months of ambient conditions, while also inhibiting Pythium sp. for up to 4 months in both controlled and ambient conditions.
          เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองเป็นเมล็ดที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา อาหารสะสมภายในเมล็ดน้อย ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการงอกที่ช้า และไม่สม่ำเสมอ จึงได้มีการใช้เทคโนโลยีการพอกเมล็ดพันธุ์ที่สามารถช่วยเพิ่มขนาด เปลี่ยนแปลงรูปร่างของเมล็ดพันธุ์ ให้มีความสม่ำเสมอกัน อีกทั้งดาวเรืองยังมักประสบปัญหาของการถูกเข้าทำลายของ เชื้อรา Pythium sp. เป็นเชื้อราสาเหตุโรคที่สำคัญในการเข้าทำลายเมล็ดพันธุ์ก่อนเมล็ดดาวเรืองงอก ทำให้เมล็ดเหี่ยวย่นและเน่าในที่สุด หรือเกิดเป็นแผลฉ่ำน้ำบริเวณโคนต้น แล้วขยายรอบลำต้น ทำให้ต้นกล้าหักพับลงและแห้งตาย จากปัญหาดังกล่าวจึงประยุกต์ใช้เทคนิคการพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเคมีป้องกันเชื้อรา โดยการศึกษานี้ แบ่งออกเป็น 3 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1) การศึกษาหาชนิดของวัสดุประสาน และวัสดุพอก ที่เหมาะสมสำหรับการพอกเมล็ดพันธุ์ดาวเรือง ประกอบด้วย การทดลองย่อยที่ 1.1 การศึกษาชนิด และอัตราส่วนของวัสดุประสานที่เหมาะสมสำหรับการพอกเมล็ดพันธุ์ดาวเรือง ใช้วัสดุประสาน 3 ชนิด คือ carboxymethyl cellulose (CMC), methyl hydroxyethyl cellulose (MHEC) และ methylcellulose (MC) ที่อัตรา 0.2%, 0.3% และ 0.4% พบว่าการพอกร่วมกับ CMC 0.3% ทำให้ก้อนพอกมีความกร่อนต่ำละลายได้ช้า และทำให้มีความยาวต้นดีมากกว่าเมล็ดที่ไม่ผ่านการพอก และ การทดลองย่อยที่ 1.2 การศึกษาวัสดุพอกที่เหมาะสมสำหรับการพอกเมล็ดพันธุ์ดาวเรือง ใช้วัสดุพอก 7 ชนิด คือ calcium sulfate (CaSO4), calcium carbonate (CaCO3), talcum, bentonite, zeolite, pumice และ vermiculite จากการทดลองพบว่า การพอกด้วย vermiculite ทำให้ก้อนพอกมีความกร่อนต่ำละลายได้ช้า และท่าให้มีความยาวต้นดีมากกว่าเมล็ดที่ไม่ผ่านการพอก จากนั้นนำผลที่ได้มาใช้ในการทดลองที่ 2) การศึกษาผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองร่วมกับสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุโรค ประกอบด้วย การทดลองย่อยที่ 2.1 ศึกษาหาชนิดของสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชที่สามารถยับยั้งเชื้อ Pythium sp. 6 ชนิด คือ metalaxyl, captan, mancozeb, Imidazole, fosetyl aluminium และ chlorothalonil พบว่า สารเคมีที่สามารถยับยั้งการเจริญของ เส้นใยของเชื้อ Pythium sp. ได้ดีที่สุดซึ่งมีผลยับยั้งการเจริญของเส้นใยได้ 100 เปอร์เซ็นต์ คือ mancozeb และ fosetyl aluminium จากนั้นนำมาพอกร่วมกับเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองในการทดลองย่อยที่ 2.2 ศึกษาผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ดาวเรือง ร่วมกับสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช ต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพหลังการพอกเมล็ดพันธุ์ดาวเรือง พบว่า การพอกเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองร่วมกับ mancozeb 0.4 g.ai. และ fosetyl aluminium 0.1 g.ai. ทำให้เมล็ดมีความงอกความแข็งแรงที่ดีมากกว่าเมล็ดที่ไม่ผ่านการพอก อีกทั้งยังมีการยับยั้งเชื้อ Pythium sp. จากนั้นนำมาศึกษาผลของการเก็บรักษาในการทดลองที่ 3) ศึกษาประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อสาเหคุโรคและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพเมล็ดพันธุ์หลังการเก็บรักษาที่อายุและสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน ประกอบด้วย 3.1 ศึกษาการป้องกันโรคจาก Pythium sp. หลังเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน และ 3.2 การศึกษาผลของเมล็ดพอกดาวเรืองที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพเมล็ดพอกหลังการเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน พบว่า การพอกเมล็ดร่วมกับ mancozeb 0.4 g.ai. ทำให้เมล็ดมีความงอก การเจริญเติบโตที่ดีมากกว่าเมล็ดที่ไม่ผ่านการพอกหลังผ่านการเก็บรักษาในสภาพควบคุมสภาพแวดล้อมเป็นเวลา 8 เดือน และการเก็บรักษาในสภาพไม่ควบคุมสภาพแวดล้อมเป็นเวลา 6 เดือน อีกทั้งยังมีการยับยั้งเชื้อ Pythium sp. ทั้งในการเก็บรักษาที่ควบคุมและไม่ควบคุมเป็นระยะเวลา 4 เดือน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2131
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6401301006.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.