Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2136
Title: การศึกษาลักษณะการเจริญเติบโตและคุณภาพซากของโคขาวลำพูนในสภาพการเลี้ยงที่แตกต่างกัน
Other Titles: Growth Performance and Carcass Quality of White Lamphun Cattle under Different Production Systems
Authors: ประมวล เดชคง, Pramual Dejkong
Keywords: โคขาวลำพูน
การเจริญเติบโต
ลำไย
กากน้ำตาล
Issue Date: 2012
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการเจริญเติบโต คุณภาพซาก และ ต้นทุนการผลิตของโคขาวลำพูนในสภาพการเลี้ยงของเกษตรกรและการเลี้ยงในฟาร์มทดลองของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ การทดลองที่ 1 ใช้โครุ่นเพศผู้อายุ 1.5-3.0 ปี ของฟาร์มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขาวลำพูน อำเภอป่าซาง จำนวน 6 ตัว น้ำหนักเฉลี่ย 153.17+-33.06 กิโลกรัม และเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จำนวน 5 ตัว น้ำหนักเฉลี่ย 154.30+-39.70 กิโลกรัม การทดลองที่ 2 โคทดลองใช้โคขาวลำพูนรุ่นเพศผู้ไม่ตอนอายุเฉลี่ย 2.33+0.16 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 155.58+-11.71 กิโลกรัม จำนวน 12 ตัว แบ่งการทดลองเป็น 2 กลุ่ม ตามน้ำหนักตัว ใช้สถิติ Paired sample T test โดยโคทดลองได้รับอาหารเสริมได้แก่ กากน้ำตาลหรือผลลำไยเกรดซี ในอัตรา 0.5% ของน้ำหนักตัว โคแต่ละตัวได้รับอาหารข้น (12% CP) ในอัตรา 0.5% ของน้ำหนักตัว และได้รับหญ้ารูซี่และ/หรือหญ้ากินนีสดอย่างเต็มที่ ทำการบันทึกน้ำหนักตัว อัตราการเจริญเติบโต คุณภาพซาก ต้นทุนค่าอาหาร และต้นทุนการผลิตของโคขาวลำพูนในสภาพการเลี้ยงของเกษตรกรและการเลี้ยงในฟาร์มทดลอง ผลการทดลอง พบว่าโคขาวลำพูนภายใต้การเลี้ยงของเกษตรกรมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่ำเพียง 0.163 กิโลกรัม/วัน และโคขาวลำพูนภายใต้การเลี้ยงในฟาร์มทดลอง พบว่าอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยของโคที่เสริมผลลำไยมากกว่าโคที่เสริมกากน้ำตาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (0.376 และ 0.315 กิโลกรัม/วัน ตามลำดับ) (P<0.05) และมีแนวโน้มว่าอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็น น้ำหนักตัวของโคที่เสริมผลลำไขดีกว่าโคที่เสริมกากน้ำตาล (16.58 และ 19.25) (P=0.078) โคทั้งสองกลุ่มมีปริมาณการกินได้ของวัตถุแห้งไม่แตกต่างกัน แต่โคที่เสริมผลลำไยได้รับพลังงานรวมมากกว่าโคที่เสริมกากน้ำตาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (26.29 และ 25.37 เมกะแคลอรี่/วันตามลำดับ) (P<0.05) และมีแนวโน้มได้รับโปรตีนรวมมากกว่า (447.63 และ 430.83 กรัม/วันตามลำดับ) (P=0.062) เปอร์เซ็นต์ซากอุ่นและเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงของโคที่เสริมกากน้ำตาลและเสริมผลลำไย ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) โดยมีเปอร์เซ็นต์ซากอุ่น 50.84 และ 51.42เปอร์เซ็นต์ และเปอร์เซ็นต์เนื้อแดง 60.31 และ 61.16 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่เปอร์เซ็นต์กระดูก ของโคที่เสริมด้วยกากน้ำตาล สูงกว่าโคที่เสริมด้วยผลลำไย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติยิ่ง (P<0.01) โดยมีค่าเฉลี่ย 21.07 และ 19.10 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เปอร์เซ็นต์ซากอุ่น เปอร์เซ็นต์เนื้อแดง และเปอร์เซ็นต์กระดูกของโคขาวลำพูนที่เลี้ยงโดยเกษตรกร มีค่าเฉลี่ย 51.53, 59.54 และ 24.14เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ต้นทุนการผลิตโคขาวลำพูนของเกษตรกรเฉลี่ย 30.93 บาท/กิโลกรัม ส่วน ต้นทุนค่าอาหารของโคขาวลำพูนที่เสริมด้วยผลลำไยสูงกว่าโคที่เสริมกากน้ำตาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (34.68 และ 28.06 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ) (P<0.05)
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2136
Appears in Collections:SCI-Theses
SCI-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pramual_dejkong.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.