Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2150
Title: ความพึงพอใจของสหกรณ์ออมทรัพย์ภายใต้รูปแบบการส่งเสริมสหกรณ์ใหม่ของกรมส่งเสริมสหกรณ์
Other Titles: Satisfaction of Thrift and Credit Cooperative towards newly restructured promotion practices of the Cooperative Promotion Department
Authors: สุรินทร์ วทัญญู, surin vathanyoo
Keywords: กรมส่งเสริมสหกรณ์
สหกรณ์ออมทรัพย์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปัญหาพิเศษ
Issue Date: 2005
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ความพึงพอใจของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ ตามรูปแบบการส่งเสริมใหม่ ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ 2)ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานในรูปแบบใหม่ โดยการรวบรวมข้อมูลจาก ประธานคณะกรรมการในฐานะตัวแทนฝ่ายบริหาร และผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ในฐานะตัวแทนของฝ่าย จัดการของสหกรณ์อมทรัพย์ในภาคตะวันเอกเฉียงเหนือ จำนวน 19 จังหวัด การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 228 รายผลการศึกษาพบว่า ประธานคณะกรรมการและผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 142 ราช คิดเป็นร้อยละ 62.3 มีอายุระหว่าง 41-45 ปี จำนวน 101 ราย คิดเป็นร้อยละ 44.3 ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 134 ราย คิดเป็นร้อยละ 58.8 มีรายได้มากกว่า 13,500 บาท จำนวน 133 ราย คิดเป็นร้อยละ 58.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ได้รับการส่งเสริมสหกรณ์ภายใต้รูปแบบเคิมและแบบใหม่ ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ ด้านการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ ด้านการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ ด้านการรับทราบข้อมูลค้านการฝึกอบรมและพัฒนาบุดลากร พบว่า สหกรณ์ขนาดใหญ่มาก ขนาดเล็ก และขนาดเล็กมาก มีระดับความพึงพอใจคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ารูปแบบเดิมในทุก ๆ ด้าน สหกรณ์ขนาดใหญ่มีระดับความพึงพอใจคะแนนเฉลี่ยในรูปแบบใหม่ต่ำกว่ารูปแบบเดิมทุกด้าน ยกเว้น ด้านการรับทราบข้อมูลข่าวสาร สหกรณ์ขนาดกลางมีระดับความพึงพอใจคะแนนเฉลี่ยในรูปแบบใหม่ทุกด้านสูงกว่ารูปแบบเดิม ยกเว้น ด้านการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ผลการศึกษาความค้องการได้รับบริการนอกเหนือจากที่ได้รับในปัจจุบัน พบว่า สหกรณ์มีความต้องการมากในคำแนะนำส่งเสริม ด้านกฎหมาย ข้อบังกับ ระเบียบ คำสั่ง และคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์ปัญหาและอุปสรรดจากการให้บริการของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์คือ เจ้าหน้าที่มีการเปลี่ยนตัวบุคคลบ่อย ระยะเวลาการเข้าไปแนะนำสหกรณ์น้อยเกินไป เจ้าหน้าที่ยังขาดความรู้ในบางเรื่อง ข้อมูลข่าวสารได้รับช้า และขาดคู่มือหรือดำแนะนำที่เป็นเอกสารหรือบางครั้งเอกสารมีการแก้ไขปรับปรุงแต่สหกรณ์ไม่ทราบข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา คือ กรมส่งเสริมสหกรณ์ควรให้การศึกษาอบรมกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ตามกลุ่มภารกิจที่กำหนดไว้ในกรอบโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้เป็นแนวทางเดียวกัน ควรวางแผนปฏิบัติงานให้ชัดเจน และควรให้บริการสหกรณ์อย่างเท่าเทียมกัน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2150
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
surin-vathanyoo.PDF2.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.