Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2152
Title: ต้นทุน ผลตอบแทนและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการผลิตข้าวไร่ ของเกษตรกรชาวไทยภูเขา : กรณีศึกษาบ้านแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ปีเพาะปลูก 2536
Other Titles: Cost, return and factors affecting upland rice production by hill-tribe farmers : case study of Banmaesamai, tambon pongyang, Amphur Maerim, Changwat Chiangmai, 1993 crop year
Authors: สุรชัย กังวล, Surachai Kungwon
Keywords: เกษตรกร
ชาวไทยภูเขา
Issue Date: 1994
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยเรื่อง ต้นทุน ผลตอบแทนและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการผลิตข้าวไร่ของ เกษตรกรชาวไทยภูเขา : กรณีศึกษาบ้านแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง เภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่ ปีการเพาะปลูก 2536 มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาต้นทุนการผลิตข้าวไร่ (2) เพื่อศึกษาผลตอบแทนสุทธิการผลิตข้าวไร่ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการผลิตข้าวไร่ ของเกษตรกรชาวไทยภูเซา ประจำปีการเพาะปลูก 2536 ในการศึกษาเรื่องนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของหมู่บ้านแม่สาใหม่ ทั้งหมด 55 หลังคาเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามพร้อมการสัมภามณ์ ซึ่งข้อมูลที่ได้มานั้นวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS/PC*โดยใช้วิธีหาค่าต่างๆ เช่น ค่าร้อยละ ค่ามัชมเลขคณิต การวิเคราะห์การถอดสมการการผลิตแบบ Cobb-Doug las เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการผลิตข้าวไร่ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรชาวไทยภูเขาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 72.7 และเป็นเพศหญิง ร้อยละ 27.3 อายุเฉลี่ย 29.56 ปี สถานภาพสมรสส่วนใหญ่แต่งงานแล้ว คิดเป็นร้อยละ 85.6 และส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 50.9 ขนาดของครอบครัวเฉลี่ย 4. 89 คน และผู้ให้ช้อมูลส่วนใหญ่แล้ว สามารถพูด อ่าน เขียน ภาษาไทยได้ ร้อยละ 50 .9 และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ ทำสวนปลูกพืชผัก (11)ผลการศึกษา ต้นทุนและผลตอบเทนในการผลิตข้าวไร่ มีต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 1, 988.64 บาทต่อไร่ เป็นต้นทุนันแปรและต้นทุนคงที่เท่ากับ 1,658.60 และ 330.04 บาทต่อไร่ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาผลต่อบแทนที่ได้รับปรากฎว่าประสบกับการยาดทุน กล่าวคือ เกษตรกรชาวไทยภูเธามีรายได้สุทธิ(ร้ายได้สุทธิเหนือต้นทุนผันแปร) และกำไรสุทธิต่อต้นทุนทั้งหมด มีคำดิดลบ คือ -147.86 และ -477.9 บาทต่อไร่ ตามลำดับ แต่ถ้าคิดเฉพาะต้นทุนที่เป็นเงินสดที่จ่ายไปจริงๆ เกษดรกรชาวไทยภูเขาจะได้รับกำไรอยู่ข้างแต่ไม่มากนัก คือมีกำไรสุทธิเหนือต้นทุนเงินสด 1,273.25 บาทต่อไร่ ,ผลการศึกษาฟังก็ชั่นการผลิตโดยใช้สมการการผลิศแบบ Cobb-Douglas พบว่า ตัวแปรต่างๆ ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน เมล็ดพันธุ์ อุปกรณ์การเกษตร และปุ๋ย สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของผลผลิดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยที่ดิน เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการผลิตข้าวไร่ รองลงมาคือ แรงงาน ซึ่งมีค่สัมประสิทธิ์ในการผลิต เท่ากับ 0.65850 และ 0.40116 ตามลำดับ และมีความแดกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ ความเชื่อมั่นร้อยละ 99 ส่วนจำนวนเมล็ดพันธุ์ อุปกรณ์การเกษตร และปุ๋ยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัถทางสถิติ ซึ่งปัจจัยการผลิดทั้ง 5 ชนิดสามารถอธิบายความสัมนันธ์ของสมการได้ถึง ร้อยละ 77. 12 ส่วนที่เหลืออีก ร้อยละ 22.88 เป็นอิทธิพลของปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ได้นำมาระบุไว้ในสมการนี้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่ายังมีปัจจัยอื่นๆอีกที่เป็นตัวกำหนดผลผลิตข้าวไร่แต่มิได้นำเข้ามารวมในสมการการผลิต ได้แก่ สถานแวดล้อมต่างๆ แสงแดด(ช่วงแสง) อุณหภูมิ ความชื้น และการจัดการของเกษตรกรชาวไทยภูเขาเอง เป็นต้น ส่วนขนาดการผลิด พบว่า ขนาดการผลิตอยู่ในระยะผลดอบแทนต่อขนาดการผลิดเพิ่มขั้น โดยมีผลรวมของค่าความยึดหยุ่น เท่ากับ 1.20317"
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2152
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
surachai-kungwon.PDF2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.