Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2158
Title: STRATEGIES OF MULTILATERAL PUBLIC SERVICE MANAGEMENTOF LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATIONIN HANG CHAT DISTRICT,LAMPANG PROVINCE  
กลยุทธ์การบริหารงานการบริการสาธารณะแบบพหุภาคีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอห้างฉัตรจังหวัดลำปาง
Authors: Niwat Parama
นิวัฒน์ ปะระมา
Weena Nilawonk
วีณา นิลวงศ์
Maejo University
Weena Nilawonk
วีณา นิลวงศ์
weena_n@mju.ac.th
weena_n@mju.ac.th
Keywords: กลยุทธ์
การบริหาร
การบริการสาธารณะแบบพหุภาค
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
strategies
management
multilateral public service
local administrative organization
Issue Date:  7
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of this mixed method study were to: 1) analyze problem conditions and efficiency in multilateral public health service management of the local administrative organization; 2) analyze guidelines for solving problems and the management; and 3) create strategy for effective management in the field of multilateral public services of the local administrative organization in Hang Chat district, Lampang province. Interview schedule was conducted with 16 community representative executives obtained by purposive sampling. This were from 4 sub-district: Wiangtan, Muangyao, Pongyangkhok and Hangchat Maetan. Also, it was conducted with 100 local people representatives. Obtained data were analyzed by using descriptive statistics, content analysis, SWOT analysis and TOWS Matrix. Results of the study revealed that there was a highest level of the efficiency in multilateral public health service management of the local administrative organization (sub-district municipality). This was particularly on equal service and punctual service. Satisfaction with the public service provision was found at a highest level. This was in terms of disaster prevention, contagious disease prevention as well as maintenance of arts and traditions. Also, there was a highest level of opinions of the local people representatives about the public services. This was particularly on community organization, infrastructure service, maintenance of arts, traditions and local wisdoms. In addition, the community representative executives had a highest level of and agreement about the management of personnel development, leading the organization, and implementation assessment. They perceived that strengths of the local administrative organization included: leaders have a clear vision and mission for their work; policy determination is consistent with the government policy; the results of the organizations are reported to the public; systematic recruitment of personnel; and competency development of personnel. Nevertheless, personnel of the organization had various responsibilities which resulted in operations that are not as efficient as they should be. Findings showed that some local people did not have knowledge and understanding about work performance of the local administrative organization. Hence, they did not understand plans or goals for the organization’s work. It was found that there was not enough personnel for various responsibilities and there was no linkage of plans of each agencies. However, the organization put the importance on local personnel development more than ever. This involved the training about work according to authority, duties and responsibilities. Hence, the personnels had freedom in their agency management. However, some laws, rules and regulations were unclear which hindered work performance and public assistance. Limited budgets, discontinuity of government policies and political change caused the development to not go according to plans as set. Therefore, the local administrative organization should offer an opportunity for the public or stakeholders to participate in strategy formulation process for better understanding. Also, continual monitoring and assessment should be practiced for solving problems in public services.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและประสิทธิภาพการดำเนินงานการ บริหารงานการบริการสาธารณะแบบพหุภาคีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการ แก้ปัญหาและการบริหารงานการบริการสาธารณะแบบพหุภาคีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) เพื่อ สร้างกลยุทธ์การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพในด้านการบริการสาธารณะแบบพหุภาคีขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง โดยผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน โดยเก็บรวบรวม ข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร ตัวแทนผู้นำชุมชน ในพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ตำบลเวียงตาล ตำบลเมืองยาว ตำบลปงยางคก และตำบลห้างฉัตรแม่ตาล จำนวน 16 คน และ ตัวแทนประชาชน 100 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ร่วมกับการ วิเคราะห์SWOT และ TOWS Matrix ผลการศึกษาพบว่า ระดับประสิทธิภาพในด้านการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบล อยู่ใน ระดับมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะการบริการอย่างเสมอภาค บริการอย่างตรงต่อเวลา ทางด้านความพึงพอใจในการจัดบริการสาธารณะอยู่ในระดับมากที่สุด ในประเด็นของการป้องกันสาธารณะ ภัย การป้องกันโรคติดต่อ การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณีฯ และความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการ ให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องการจัดระเบียบ ชุมชน การบริการโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ศาสนา จารีตประเพณีและภูมิปัญญา ท้องถิ่น สำหรับระดับความคิดเห็นการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารและปลัดเทศบาลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด จากการบริหารจัดการด้านพัฒนาบุคลากร ด้านการนำ องค์กร ด้านการประเมินผลการดำเนินการ ทั้งนี้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ด้วย SWOT Analysis โดยมี ผู้บริหาร และผู้นำชุมชนให้ความเห็น พบว่า จุดแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง คือ ผู้นำมีวิสัยทัศน์พันธกิจที่ชัดเจนในการทำงาน มีการกำหนดนโยบายในการบริหารให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล มีการรายงานผลการดำเนินงานขององค์กรให้สาธารณชนทราบ มีระบบ การสรรหาบุคลากรที่ขาดอย่างเป็นระบบ มีการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร แต่อย่างไรก็ดีบุคลากรที่ ปฏิบัติหน้าที่มีภาระงานในความรับผิดชอบที่หลากหลาย ทำให้การปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทำ ให้ไม่สามารถปฏิบัติตามงานที่ได้รับมอบหมายได้ครบถ้วน ขาดความเชี่ยวชาญและการถ่ายทอดความรู้อย่าง เป็นระบบ ประชาชนบางส่วนไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำ ให้ไม่สามารถเข้าใจแผนงานหรือเป้าหมายในการทำงานขององค์กร บุคลากรในหน่วยงานไม่เพียงพอต่อ ภาระงานที่รับผิดชอบ ขาดความเชื่อมโยงของแผนงานแต่ละหน่วยงาน ทั้งนี้กรมส่งเสริมการปกครองส่วน ท้องถิ่น จึงให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น โดยการส่งเสริมให้บุคลากรได้มีการ อบรมความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ จึงทำให้มีอิสระในการบริหาร หน่วยงานมากขึ้น แต่เนื่องจากกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ บางเรื่องไม่ชัดเจนเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติ หน้าที่และการให้ความช่วยเหลือประชาชน งบประมาณที่มีอย่างจำกัด และความไม่ต่อเนื่องของนโยบาย รัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้การพัฒนาไม่เป็นไปตามแผน จึงยังเป็นอุปสรรคต่อการ ปฏิบัติงานขององค์กร ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียใน องค์กรมีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดกลยุทธ์เพื่อเพิ่มความเข้าใจในการดำเนินงานขององค์กร และมีการ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2158
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6401735006.pdf6.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.