Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2185
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการใช้บริการเอทีเอ็ม. กรณีศึกษา : พนักงานและลูกจ้างในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ
Other Titles: Factors affecting needs of ATM. services: A case study of employees in northern region industrial estate
Authors: จำเนียร พัฒนพิบูลย์, chamnian phattanapiboon
Keywords: ลำพูน
ลูกจ้าง
บัตรฝาก
ถอนเงินอัตโนมัติ
Issue Date: 2001
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการใช้บริการเอ๋ทีเอ็ม กรณีศึกษา :พนักงานและลูกจ้างในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการใช้บริการ เอทีเอ็ม.ของพนักงานและลูกจ้างในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ 2) ศึกษาลักษณะการใช้เอทีเอ็ม.ของพนักงานและลูกจ้างในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ 3) ศึกษาปัญหาที่เกิดจากการใช้บริการเอทีเอ็ม. ของพนักงานและลูกจ้างในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิจัยใช้แบบสอบถาม ได้ข้อมูลจำนวน 400 ชุด โดยการสอบถามพนักงานและลูกจ้างในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ช่วงเดือนกรกฎาคม 2543 - สิงหาคม 2543 และนำมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC* ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 79.5 มีอายุอยู่ระหว่าง 21 - 25 ปี คิดเป็นร้อยละ 36.0 มีสถานภาพการสมรส เป็นโสด ร้อยละ 56.0 ระดับการศึกษา ปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 39.3 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 10,000 บาทขึ้นไป คิดเป็นร้อยล ะ 39.5 ปัจจัยที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญมากที่สุดในการใช้บริการเอทีเอ็มได้แก่ เครื่องเอทีเอ็ม.เปิดบริการ 24 ชั่วโมง, ได้รับเงินเดือนผ่านธนาคาร,ทำบัตรได้รวดเร็วรอรับบัตรได้ทันที,จำนวนเครื่องเอทีเอ็ม.มีมาก และยกเว้นค่าธรรมเนียมทำบัตร,รายปีผู้ตอบแบบสอบถามถือบัตรเอทีเอ็ม 1 บัตร และ 2 บัตร มีจำนวนเท่ากัน คือ ร้อยละ 41.9 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) มีผู้ถือบัตรเอทีเอ็ม.มากที่สุด คือ ร้อยละ 44.5 บัตร เอทีเอ็มชนิด ธรรมดา (บัตรเงิน) มีผู้ใช้มากที่สุด ร้อยละ 69.5 ธนาคารที่ใช้บริการบ่อยที่สุดได้แก่ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด(มหาชน) คิดเป็นร้อยละ 60.5 เหตุผลที่สำคัญที่สุดในการเลือกใช้บริการธนาคาร ได้แก่การรับเงินเดือนผ่านธนาคารนั้นๆ คิดเป็นร้อยละ 92.2 ผู้ใช้บริการรับรู้ค่าธรรมเนียมในการถอนเงินจากเครื่องเอทีเอ็ม.ต่างสาขา คิดเป็นร้อยละ 97.0 และเคยใช้บัตรเอทีเอ็ม ผ่านธนาคารอื่น คิดเป็นร้อยละ 87.0เหตุผลที่สำคัญมากที่สุดในการใช้บริการเอทีเอ็ม.นั้น เหตุผลในเรื่องความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการเป็นเหตุผลที่สำคัญมากที่สุดลำดับที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 37.4 เครื่องเอทีเอ็ม.ในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือที่ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกใช้บริการบ่อยที่สุด ได้แก่เครื่องเอทีเอ็ม.ของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) คิดเป็นร้อยละ 55.2 จำนวนเงินที่ผู้ตอบแบบสอบถามถอนจากเครื่องเอทีเอ็มแต่ละครั้งนั้น ส่วนใหญ่ จะถอนครั้งละ 5,000 บาท ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 58.3 จำนวนครั้งที่ถอนเงินจากเครื่องเอทีเอ็มในแต่ละเดือน พบว่า ส่วนใหญ่จะถอนเงินจากเครื่องเอทีเอ็ม.เดือนละ 1 - 3 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 74.5 ช่วงที่ ถอนเงินจากเครื่องเอทีเอ็ม.มากที่สุดได้แก่ ช่วงปลายเดือนหรือต้นเดือน คิดเป็นร้อยละ 69.7 ช่วงเวลาที่ถอนเงิน ถอนเงินเวลา 18.01-20.00 น. คิดเป็นร้อยละ 40.2 ผู้ตอบแบบสอบถามที่ ตอบในข้อนี้ ทั้งหมดใช้บริการเครื่องเอทีเอ็ม.ถอนเงินทุกคน และผู้ตอบแบบสอบถามที่สมรสแล้วส่วนใหญ่เคยบอกรหัสเอทีเอ็ม.ให้แก่สามี - ภรรยา ร้อยละ 77.7 ปัญหาที่พบได้แก่ ปัญหากระดาษสลิปแจ้งยอดหมด มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 83.5 ส่วนปัญหาที่ผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่าเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดในการใช้บริการเอทีเอ็ม.ได้แก่ จำนวนเครื่องเอทีเอ็มไม่เพียงพอต่อการใช้ เป็นปัญหาที่ผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่าเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 16.8
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2185
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chamnian-phattanapiboon.PDF2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.