Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2192
Title: การดำเนินการโครงการจัดตั้งป่าชุนชนของบ้านแม่หาร จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Other Titles: Implementation of community forest establishment project on Ban Mae Harn, Maehongson
Authors: วัชรพงศ์ บุหลันพฤกษ์, watcharapong bulanpruck
Keywords: ปัญหาพิเศษ
ป่าชุมชน
แม่ฮ่องสอน
Issue Date: 2000
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมบางประการของราษฎงบ้านแม่หาร (2) การดำเนินการโครงการจัดตั้งปาชุมชนและการมีส่วนร่วมในการจัดตั้งชุมชน (3) การดำเนินงานส่งเสริมและเผยแพร่ช้อมูลเรื่องการจัดตั้งป่าชุมชน (4) ปัญหาและอุปสรรคของราษฎรบ้านแม่หารในการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ โครงการจัดตั้งป่าชุมชนผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้คือ หัวหน้าครอบครัวที่อาศัยอยู่ในบ้านแม่หาร หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดฮ่องสอน จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม และข้อมูลได้ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า ชาวบ้านแม่หารมีอายุเฉลี่ย 44 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้น ประถมศึกษาตอนต้น จำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5 คน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด และส่วนมากมีที่ดินเป็นของตนเอง รายได้จากการประกอบอาชีพเฉลี่ย 15,465 บาทต่อปี ระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินการโครงการจัดตั้งชุมชน พบว่าชาวบ้านแม่หารสวนใหญ่มีส่วนร่วมในระดับปานกลางทุกกิจกรรมคือ ขั้นค้นหาปัญหา ขั้นวางแผนดำเนินงาน ขั้นดำเนินกิจกรรมการดำเนินโครงการจัดตั้งป่าชุมชนขั้นติดตามและขั้นประเมินผลการดำเนินการโครงการ สาเหตุการมีส่วนร่วมที่สำคัญ 3 อันดับ ได้แก่ หนึ่ง มีความสนใจและตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้เพื่อสงวนไว้เป็นแหล่งชับน้ำ สองหวังผลประโยชน์ที่ตนเองได้รับจากบำชุมชน และสามมุ่งหวังให้ความเดือดร้อนอันเกิดจากปัญหาด้านปาหมดสิ้นไปตามลำดับวิธีการดำเนินงานส่งเสริมและเผยแพร่ข้อมูลของราษฎรบ้านแม่หารพบว่า แหล่งข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชุมชนจากวิทยุ โทรทัศน์และเสียงตามสายและชาวบ้านแม่หารที่เคยผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชุมชน ได้รับการฝึกอบรมการป้องกันไฟป่และการปลูกป่า สำหรับการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนนั้นชาวบ้านแม่หารใช้ประโยชน์ในด้านผลผลิตของไม้และป่า รวมทั้งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นแหล่งชับน้ำ สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการโครงการจัดตั้งบำชุมชนที่พบมากที่สุด ได้แก่ เงินทุนของหมู่บ้านมีจำกัด ขาดการสนับสนุนด้านเงินทุนจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน การดับไฟป่ในฤดูแล้งและการขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกในบริเวณป่าชุมชน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2192
Appears in Collections:AP-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
watcharapong-bulanpruck.PDF1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.