Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2204
Title: THE EFFECT OF Phlebopus portentosus INOCULATION ON THE GROWTH PROMOTION OF  Dalbergia cochinchinensis SEEDLINGS AND Pterocarpus macrocarpus SEEDLINGS
ผลของการปลูกเชื้อเห็ดตับเต่า (Phlebopus portentosus) ต่อการเจริญเติบโตของกล้าพะยูง (Dalbergia cochinchinensis) และกล้าประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus)
Authors: Unchisa Vasusuntron
อัญชิสา วสุสุนทร
Wanna Mangkita
วรรณา มังกิตะ
Maejo University
Wanna Mangkita
วรรณา มังกิตะ
wanna@mju.ac.th
wanna@mju.ac.th
Keywords: ไม้เศษฐกิจ
กล้าไม้คุณภาพ
ภาวะพึ่งพาอาศัย
คลอโรฟิลล์
การปลูกป่า
Economic trees
Quality seedings
Symbiosis
Chlorophyll
Forestation
Issue Date: 2024
Publisher: Maejo University
Abstract: Study on the effect of Bolete (Phlebopus portentosus) on the growth promotion of Siamese Rosewood (Dalbergia cochinchinensis) seedlings and Burmese Rosewood (Pterocarpus macrocarpus) seedlings which is a tree with economic value were investigated. A completely randomized design (CRD) with seven treatments was used. The treatments were: control (no inoculation), inoculation with 10, 20, or 30 ml of  P. portentosus inoculum, inoculated once or twice, with a 15-day interval between inoculations. Four-month-old D. cochinchinensis seedlings and  P. macrocarpus seedlings were used in the experiment. Growth parameters were recorded for 180 days after inoculation. The result of the growth of D. cochinchinensis seedlings  and  P. macrocarpus seedlings were found to be inoculated inoculation twice with a volume of 20 ml P. portentosus gave the best results. It was found that stem height, diameter at root collar, canopy width and total biomass compared with control were increased 32.04, 41.13, 38.82 and 49.59 percent, respectively. The quantities of chlorophyll A and total chlorophyll compared with control were increased 171.48, 42.72 and 85.20 percent, respectively. The correlation analysis between amount of chlorophyll A and plant growth indicators showed that the correlation coefficient between chlorophyll A and stem height was highest (R² = 0.7512) followed by total biomass, diameter at root collar and canopy width, respectively. It was found that the average stem height, diameter at root collar, canopy width, and total biomass compared with control were increased 41.02, 42.98, 14.34 and 46.79 percent, respectively. The quantities of chlorophyll A and total chlorophyll compared with control were increased 167.78 and 67.91 percent, respectively.  The correlation analysis between amount of chlorophyll A and plant growth indicators showed that the correlation coefficient between chlorophyll A and diameter at root collar was highest  (R² = 0.8323) followed by total biomass, canopy width and stem height respectively. The results were significantly different from the control at the statistical level (p≤0.05). The roots of D. cochinchinensis seedlings and P. macrocarpus seedlings age 180 days after inoculation twice with a volume of 20 ml of P. portentosus were investigated. It was found that the average number of roots was compared with control were increased 248.24 and 254.19 percent, respectively. While the root length of D. cochinchinensis seedlings and P. macrocarpus seedlings compared with control were increased 104.41 and 145.79 percent, respectively. The results were significantly different from the control at the statistical level (p≤0.05). P. portentosus attached to D. cochinchinensis seedlings and P. macrocarpus seedlings roots were examined by Scanning Electron Microscope (SEM) at 100 μm. The results show that D. cochinchinensis seedlings roots had approximately 65.63 percent of the mushroom mycelium attached and  P. macrocarpus seedlings roots had approximately 71.88 percent of the mushroom mycelium attached. The results could be used as a guideline for promote forestation by using P. Portentosus along with economic trees for increasing plant growth.
การศึกษาผลของการปลูกหัวเชื้อเห็ดตับเต่า (Phlebopus portentosus) ซึ่งเป็นเห็ดไมคอร์ไรซาที่นิยมรับประทานต่อการเจริญเติบโตของ กล้าพะยูง (Dalbergia cochinchinensis) และกล้าประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus)  ซึ่งเป็นต้นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) มี 7 ชุดการทดลอง ได้แก่ ชุดควบคุม (ไม่ปลูกหัวเชื้อ) ชุดทดลองที่ปลูกหัวเชื้อเห็ดปริมาตร 10, 20 และ 30 มิลลิลิตร จำนวน 1 และ 2 ครั้ง โดยปลูกหัวเชื้อห่างกัน 15 วัน ทดสอบกับกล้าพะยูง และกล้าประดู่ป่าอายุ 4 เดือน บันทึกผลการเจริญเติบโตทุก 30 วัน จนอายุครบ 180 วัน ผลของการปลูกหัวเชื้อเห็ดตับเต่าต่อการเจริญเติบโตของกล้าพะยูง และกล้าประดู่ป่า เมื่ออายุครบ 180 วัน พบว่า การปลูกหัวเชื้อเห็ดตับเต่าที่ปริมาตร 20 มิลลิลิตร จำนวน 2 ครั้ง ให้ผลดีที่สุด ความสูงของลำต้น เส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับคอราก ความกว้าง ของทรงพุ่ม และมวลชีวภาพโดยรวมโดยค่าเฉลี่ยสูงสุด เมื่อเทียบกับชุดควบคุมเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.04  41.13  38.82  และ 49.59 ตามลำดับ เมื่อวัดปริมาณคลอโรฟิลล์ พบว่า คลอโรฟิลล์เอ และคลอโรฟิลล์รวม เมื่อเทียบกับชุดควบคุมเพิ่มขึ้นร้อยละ 171.48  42.72 และ 85.20 ตามลำดับ และทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์เอกับการเจริญเติบโตของกล้าพะยูง พบว่า ปริมาณคลอโรฟิลล์เอมีความสัมพันธ์กับความสูงของลำต้นกล้าพะยูงมากที่สุด (R² = 0.7512) รองลงไป คือ มวลชีวภาพโดยรวม เส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับคอราก และความกว้างของทรงพุ่ม ตามลำดับ ผลของการปลูกหัวเชื้อเห็ดตับเต่าต่อการเจริญเติบโตของกล้าประดู่ป่า พบว่า ความสูงของลำต้น เส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับคอราก ความกว้างของทรงพุ่ม และมวลชีวภาพโดยรวม ค่าเฉลี่ยสูงสุดเมื่อเทียบกับชุดควบคุมเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.02  42.98  14.34 และ 46.79 ตามลำดับ เมื่อวัดปริมาณคลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์บี และคลอโรฟิลล์รวมค่าเฉลี่ยสูงสุด เมื่อเทียบกับชุดควบคุมเพิ่มขึ้นร้อยละ 167.78  3.20 และ 67.91 ตามลำดับ  และทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์เอกับการเติบโตของกล้าประดู่ป่า พบว่า ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ มีความสัมพันธ์กับเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับคอรากกล้าประดู่ป่ามากที่สุด (R² = 0.8323) รองลงไป คือ มวลชีวภาพโดยรวม ความกว้างของทรงพุ่ม และความสูงของลำต้น ตามลำดับ แตกต่างกับชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) เมื่อตรวจสอบรากกล้าพะยูง และกล้าประดู่ป่า หลังปลูกหัวเชื้อครบที่ 180 วัน พบว่า การปลูกหัวเชื้อเห็ดตับเต่าปริมาตร 20 มิลลิลิตร จำนวน 2 ครั้ง เมื่อเทียบกับชุดควบคุมเพิ่มขึ้นร้อยละ 248.24 และ 254.19 และวัดความยาวรากกล้าพะยูง และกล้าประดู่ป่า เมื่อเทียบกับชุดควบคุมเพิ่มขึ้นร้อยละ 104.41 และ 145.79 แตกต่างกับชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) การตรวจสอบลักษณะเส้นใยเห็ดตับเต่าที่อยู่กับรากฝอยของกล้าพะยูง และกล้าประดู่ป่า ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) ที่กำลังขยาย 100 ไมครอน พบว่า พื้นที่ของรากฝอยกล้าพะยูงมีการปกคลุมของเส้นใยเห็ดประมาณร้อยละ 65.63 และกล้าประดู่ป่า มีการปกคลุมของเส้นใยเห็ดประมาณร้อยละ 71.88 ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางส่งเสริมการปลูกป่าโดยใช้เชื้อเห็ดตับเต่า ร่วมกับไม้เศรษฐกิจเพื่อช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของพืช
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2204
Appears in Collections:Maejo University - Phrae Campus

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6308301017.pdf3.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.