Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2206
Title: APPLICATION OF GEOGRAPHICAL INFORMATION SYSTEMS FOR FACTORS ANALYSIS AFFECTING TO WATER QUALITY, A CASE STUDY OF THE CENTRAL OF THACHIN RIVER
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ กรณีศึกษา แม่น้ำท่าจีนตอนกลาง
Authors: Sasiwaroon Nawagawong
ศศิวรุณ นวกวงษ์
Chanagun Chitmanat
ชนกันต์ จิตมนัส
Maejo University
Chanagun Chitmanat
ชนกันต์ จิตมนัส
chanagun@mju.ac.th
chanagun@mju.ac.th
Keywords: คุณภาพน้ำ
ดัชนีคุณภาพน้ำ
แม่น้ำท่าจีนตอนกลาง
สุขภาวะ
การใช้ประโยชน์ที่ดิน
water quality
water quality index
Middle Part of Thachin River
Hygienic
landuse
Issue Date: 2024
Publisher: Maejo University
Abstract: This research was to study on comparison of land use during the year of 2008 and 2017 including the analysis of Water Quality Index (WQI) and the factors that affected to WQI in the middle part of Thachin River. This research is a research of data surveying in order to collect data of water quality in the Central of Tha Chin river and also collect the secondary data from other relating agencies. The results of land use study found that the community area is increasing which caused from the growth of the city and the population and resulting in deterioration of the middle of Thachin river. From the analysis by multiple regression method, it was found that if BOD, NH3N and TCB increased then WQI would be decreased. In other way, if WQI increased then DO would be increased too. This research also found that, when classified data in each season, if there was an increasing of the average volume of the rain in the rain season, the WQI was an increasing but in the dry season, the WQI would be decreased accordingly. The model had accuracy equals to 100% (P-value = 0.05) in the dry season and rain season. This research is encourage to initiate the mechanism of solving the problem in relating to water quality issues in the Central Tha Chin river which have to rely on the relevant factors i.e. water quality data collection, land use, water flow rate and volume of rain fall in the relative areas.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้ประโยชนที่ดินระหว่างปี 2550 และ 2562 ของพื้นที่จังหวัดนครปฐม และสุพรรณบุรี และวิเคราะห์ข้อมูลดัชนีคุณภาพน้ำ (Water Quality Index: WQI) และปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพน้ำแม่น้ำท่าจีนตอนกลาง ซึ่งการวิจัย ในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจข้อมูลเพื่อเก็บข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำท่าจีนตอนกลางและการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยผลการศึกษา พบว่า การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้นอาจมาจากสาเหตุ การเติบโตของเมืองและประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ค่าดัชนีคุณภาพน้ำทั่วไป (WQI) ของแม่น้ำท่าจีนตอนกลางจัดอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม เมื่อคำนวณค่า WQI ร่วมกับวิเคราะห์ทางสถิติถดถอยพหุคูณ พบว่า ค่า BOD, NH3N และ TCB มีค่าสูงมาก WQI จะมีค่าลดลง ส่วน WQI จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อค่า DO เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ เมื่อจำแนกออกเป็นช่วงฤดูกาลพบว่า ในช่วงฤดูแล้งปริมาณฝนเฉลี่ยในเดือนพฤษภาคม และเดือนธันวาคม จะทำให้ WQI เปลี่ยนแปลงไปในเชิงแปรผันตรง ส่วนช่วงฤดูฝนพบว่า ปริมาณฝนเฉลี่ยในเดือนตุลาคม จะส่งผลต่อ WQI ในเชิงแปรผันตรง ส่วนเดือนกรกฎาคมจะส่งผลต่อ WQI ในเชิงแปรผกผัน และอีกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพน้ำ คือ อัตราการไหลของแม่น้ำท่าจีนในเดือนมิถุนายน เดือนกรกฎาคม และเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งค่า WQI จะเปลี่ยนแปลงในเชิงแปรผันตรง ส่วนเดือนพฤศจิกายนจะเปลี่ยนแปลงในเชิงแปรผกผัน โดยสมการทำนายสามารถทำนายผลความแม่นยำได้ 100% ทั้งฤดูแล้งและฤดูฝน ที่ระดับความเชื่อมั่น P-value=0.05 ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันกลไกการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำแม่น้ำท่าจีน โดยต้องอาศัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้านต่างๆ ได้แก่ การเก็บข้อมูลคุณภาพน้ำ การใช้ประโยชน์ที่กิน อัตราการไหลของน้ำ และปริมาณฝนในพื้นที่
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2206
Appears in Collections:Fisheries Technology and Aquatic Resources

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6310501001.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.