Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2208
Title: MONITORING OF SOME SOIL PHYSICOCHEMICAL PROPERTIES OF FOREST FIRE INFLUENCES IN DOI SUTHEP-PUI NATIONAL PARK, CHIANG MAI PROVINCE, DURING 2020-2022
การติดตามสมบัติทางกายภาพและเคมีบางประการของดินที่ได้รับอิทธิพล จากไฟป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงปี พ.ศ. 2563-2565 
Authors: Theerapat Bunthee
ธีรภัทร์ บุญที
Chackapong Chaiwong
จักรพงษ์ ไชยวงศ์
Maejo University
Chackapong Chaiwong
จักรพงษ์ ไชยวงศ์
chackapong@mju.ac.th
chackapong@mju.ac.th
Keywords: ไฟป่า
ป่าอนุรักษ์
สมบัติของดินทางกายภาพและเคมีบางประการ
การสะสมคาร์บอนในดิน
Forst-fire Wildfire
Conservation forests
Some physicochemical soil properties
Carbon accumulation in soil
Issue Date: 2024
Publisher: Maejo University
Abstract: Study of monitoring of some physical and chemical properties of soil in the area of Doi Suthep-Pui National Park, Chiang Mai Province between 2020 and 2022. The objective is to study some physical and chemical soil properties of soils that have been and have not been influenced by forest fires in the area of mixed forest, pine forest and evergreen forest. Soil data from the study is used as a database of soil properties affected by forest fires. Soil samples were collected by the method of disturbed and undisturbed soils, a total of 6 plots, with topsoil samples at a depth of 0 to 30 cm. and subsoil samples taken at a depth of 30 to 100 cm. to analyze some physical and chemical properties of the soil and carbon accumulation in the soil. The results of the study from 2020-2022 show that the soil physical properties in the area of forest fire occurred have changed as follows: The amount of sand particles has increased, but the soil texture has not changed, soil bulk density and soil particle density have increased, and the soil porosity and water holding capacity have decreased. In non-forest fires, the proportion of sand particles decreased, the soil texture did not change, soil bulk density and soil particle density were decreased, and the total porosity and water-holding capacity of the soil increased. Some soil chemical properties in forest fires area in 2020-2022 showed that the soil pH increased, SOM and the CEC decreased. Avai. P, exch. K exch. Ca, exch. Mg and exch. Na increased and %BS was elevated. In areas without forest fires, soil pH decreased, SOC and CEC increased, Avail. P decreased, and the exchange of K. K increased. The influence of forest fires, which burn organic matter and weeds in the area in the first year, leads to an increase in the amount of nutrients in the soil from the ash. After the wildfire area, when it rains and the water runs off, the soil particles are moved, resulting in a loss of SOM and soil nutrients. Non-forest fires areas that have not been burned tend to accumulate more SOM and nutrients in the topsoil. This study can serve as a database for some soil physical and chemical properties affected by long-term forest fires in the Doi Suthep-Pui National Park area in Chiang Mai province.
การศึกษาการติดตามสมบัติของดินทางกายภาพและเคมีบางประการของดินในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างปี พ.ศ. 2563 เเละพ.ศ. 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติของดินทางกายภาพและเคมีบางประการของดินที่ได้รับและไม่ได้รับอิทธิพลจากไฟป่า บริเวณพื้นที่ป่าเบญจพรรณ ป่าสนเขา และป่าดิบเขา เพื่อเป็นฐานข้อมูลสมบัติดินที่รับผลกระทบจากการเกิดไฟป่า ทำการเก็บตัวอย่างดินทั้งแบบรบกวนและไม่รบกวนโครงสร้างดินของพื้นที่ป่าทั้งหมด 6 แปลง รวม 36 จุด การเก็บตัวอย่างดินบนที่ระดับความลึก 0-30 เซนติเมตร และดินล่างที่ระดับความลึก 30-100 เซนติเมตร เพื่อวิเคราะห์สมบัติดินทางกายภาพเคมีบางประการและการสะสมคาร์บอนในดิน ผลการศึกษาในปี 2563 และ2565 พบว่าพื้นที่เกิดไฟป่ามีการเปลี่ยนแปลงสมบัติดินทางกายภาพดังนี้ อนุภาคของทรายมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นแต่เนื้อดินไม่มีการเปลี่ยนแปลง ความหนาแน่นรวมของดินและความหนาแน่นอนุภาคดินเพิ่มขึ้น ค่าความพรุนดินและค่าความสามารถในการอุ้มน้ำของดินลดลง ส่วนพื้นที่ไม่เกิดไฟป่า อนุภาคของทรายมีปริมาณที่ลดลง เนื้อดินไม่มีการเปลี่ยนแปลง ความหนาแน่นรวมของดินและความหนาแน่นอนุภาคดินลดลง ค่าความพรุนดินและค่าความสามารถในการอุ้มน้ำของดินเพิ่มขึ้น สมบัติทางเคมีบางประการของดิน พื้นที่เกิดไฟป่าผลการศึกษาในปี 2563 และ2565 พบว่า ความเป็นกรดด่างของดินมีค่าเพิ่มขึ้น ปริมาณอินทรียวัตถุในดินและค่าความจุแลกเปลี่ยนไอออนบวกมีค่าลดลง ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ปริมาณโพแเทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียมและโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินมีค่าเพิ่มขึ้น และค่าอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสมีค่าเพิ่มขึ้น ส่วนพื้นที่ไม่เกิดไฟป่า ความเป็นกรดด่างของดินมีค่าลดลง ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน และค่าความจุแลกเปลี่ยนไอออนบวกมีค่าเพิ่มขึ้น ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีค่าลดลง ปริมาณโพแเทสเซียมมีค่าเพิ่มขึ้น อิทธิพลของไฟป่าที่เผาไหม้เศษซากอินทรียวัตถุและวัชพืชในพื้นที่ปีแรกส่งผลให้มีปริมาณธาตุอาหารในดินมีค่าเพิ่มขึ้นจากเถ้าถ่าน ภายหลังพื้นที่ที่เกิดไฟป่าเมื่อเกิดน้ำไหลบ่าหน้าดิน อนุภาคดินจะถูกชะล้างพัดพาไปโดยง่ายเกิดการสูญเสียปริมาณของอินทรียวัตถุ รวมถึงธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ในดิน พื้นที่ที่ไม่มีการเผาไหม้มีแนวโน้มการสะสมอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดินชั้นบนมากขึ้น โดยมีอินทรียวัตถุและเศษซากพืชปกคลุมบนผิวหน้าดิน และมีชั้นอินทรียวัตถุซึ่งสามารถลดการชะล้างและการตกกระทบของน้ำฝนโดยตรงทำให้ไม่เกิดการสูญเสียดินรวมถึงธาตุอาหารพืชได้ การศึกษาในครั้งนี้ใช้เป็นฐานข้อมูลสมบัติของดินทางกายภาพ และเคมีบางประการของดิน ที่ได้รับอิทธิพลของไฟป่าในระยะยาวเพื่อการจัดการในเขตของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่อนุรักษ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันกับพื้นที่ศึกษาได้
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2208
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6501313001.pdf7.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.