Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/261
Title: EFFECT OF TINOSPORA CORDIFOLLA CRUDE EXTRACTSSUPPLEMENTATION ON PRODUCTION PERFORMMANCEIMMUNITY LEVELS CARCASS CHARACTERISTICS ANDMEAT QUALITY IN THAI NATIVE CHICKEN(PRADU HANGDUM)
ผลการเสริมสารสกัดหยาบบอระเพ็ดในสูตรอาหารต่อสมรรถภาพการผลิต ระดับภูมิคุ้มกัน ลักษณะซากและคุณภาพเนื้อ ของไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำ
Authors: Vathsana Phonexai
Vathsana Phonexai
Buaream Maneewan
บัวเรียม มณีวรรณ์
Maejo University. Animal Science and Technology
Issue Date: 2018
Publisher: Maejo University
Abstract: The study on the use of Tinospora cordifolia crude extract (TCE) in Thai Native Chicken (Pradu Hangdum) was conducted in 2 experiments. 1st experiment; Total phenolic contents of T. cordifolia extract by Gallic acid was used as the standard. T. cordifolia dried stem powder was extracted by 95% ethanol. The results showed that the total phenolic contents in TCE was 56.33 mg GAE/g or equivalent to 5.66% (Air dry) 2nd experiment; The effect of T. cordifolia crude extract (TCE) on production performance, immunity levels, carcass characteristics, and meat quality in Thai native chicken (Pradu Hangdum)  were investigated in 240 chickens of 2 weeks old of age. The chickens were randomly assigned to 5 experimental groups (Completely randomized design; CRD), 4 replicates of 12 birds. Group 1, the chickens were fed the diet without TCE (0%). Group 2, 3, 4 and 5 the chickens were fed with the diets containing TCE at the levels of 0.05, 0.10, 0.15 and 0.20%, respectively. The production performance and antibody titer against Newcastle Disease (ND) and Infection Bronchitis Disease (IBD) vaccine were observed and at the end of the experiment the carcass characteristic and meat quality of the 14 weeks old chickens were evaluated. The results showed that the body weight gain, feed intake, feed conversion ratio, carcass characteristic, and the Antibody titer against ND vaccine were not affected by TCE (P>0.05) the levels of 0.05–0.10% the living weight increased (P<0.05) and the antibody titer against IBD vaccine tended to increase TCE at the level of 0.15% (P=0.09) at 14 weeks of age. The lightness (L*), redness (a*), yellowness (b*), pH value of breast and drumstick meat of the 0.05% TCE group were not different from those of control (P>0.05) but the drip loss of drumstick and breast meat increased while loss of breast meat by cooking were lower than that of control (P<0.05). The use of TCE at the levels of 0.15% decreased pH0 value in breast meat (P<0.01).  The shear force was not affected by TCE (P>0.05). The use of TCE move than 0.10% decreased the drip loss, lightness (L*); and redness (a*) in breast meat (P<0.05). In conclusion, total phenolic contents in TCE at 56.33 mg GAE/g and the TCE at the level of 0.05% is the most suitable level to enhance the living weight, antibody titer against IBD vaccine and meat quality in Thai Native Chicken (Pradu Hangdum).
การศึกษาการใช้สารสกัดหยาบบอระเพ็ดในอาหารไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำแบ่งออกเป็น 2 การทดลองดังนี้ การทดลงที่ 1 การหาปริมาณสารประกอบกลุ่มฟินอลรวมในสารสกัดหยาบบอระเพ็ดโดยใช้ Gallic acid เป็นสารมาตรฐาน นำผงบอระเพ็ดมาทำการสกัดด้วยเอทานอล (95 % v/v) พบว่า มีปริมาณฟีนอลรวมในสารสกัดหยาบบอระเพ็ด 56.33 mgGAE/g หรือเทียบเท่ากับ 5.66% โดยน้ำหนักแห้ง การทดลองที่ 2 การศึกษาผลของสารสกัดหยาบบอระเพ็ดต่อสมรรถภาพการผลิต ระดับภูมุ้มกัน ลักษณะซาก และคุณภาพเนื้อไก่พื้นเมือง โดยใช้ลูกไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำคละเพศ อายุ 2 สัปดาห์ จำนวน 240 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely randomized design; CRD) แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มการทดลองตามสูตรอาหาร แต่ละกลุ่มประกอบด้วย 4 ซ้ำ ซ้ำละ 12 ตัว กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มที่ได้รับอาหารที่ไม่เสริมสารสกัดหยาบจากบอระเพ็ด (0 เปอร์เซ็นต์) กลุ่มที่ 2, 3, 4 และ 5 คือ กลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมสารสกัดหยาบจากบอระเพ็ดที่ระดับ 0.05, 0.10, 0.15 และ 0.20 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ทำการศึกษาสมรรถภาพการเจริญเติบโต ระดับแอนติบอดีโรคนิวคาสเซิล และโรคหลอดลมอักเสบ สิ้นสุดการทดลองเมื่อไก่อายุ 14 สัปดาห์ ทำการศึกษาลักษณะซาก และคุณภาพเนื้อ จากผลการศึกษาพบว่า การใช้สารสกัดหยาบจากบอระเพ็ดในทุกระดับไม่มีผลต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ปริมาณอาหารที่กิน อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นหน้ำหนัก องค์ประกอบซาก อวัยวะภายใน และระดับแอนติบอดีต่อโรคนิวคาสเซิล (P>0.05) แต่การใช้สารสกัดหยาบจากบอระเพ็ดที่ระดับ 0.05-0.10 เปอร์เซ็นต์ สามารถเพิ่มน้ำหนักมีชีวิต (P<0.05) และระดับแอนติบ่อดีต่อโรคหลอดลมอักเสบของไก่อายุ 14 สัปดาห์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับสารสกัดหยาบจากบอระเพ็ดที่ระดับ 0.15 เปอร์เซ็นต์ (P=0.09) การเสริมสารสกัดหยาบบอระเพ็ดที่ระดับ 0.05 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ค่าความสว่าง (L*) ค่าความเป็นสีแดง (a*) ค่าความเป็นสีเหลือง (b*) ความเป็นกรด-ด่าง ของเนื้ออกและเนื้อสะโพกไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม (P>0.05)  แต่ทำให้การสูญเสียน้ำหนักระหว่างการเก็บรักษา (Drip loss) ของเนื้ออก และเนื้อสโพกเพิ่มขึ้น และค่าการสูญเสียน้ำจากการทำให้สุก (Cooking loss) ของเนื้ออกต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) การใช้สารสกัดบอระเพ็ดที่ระดับ 0.15 เปอร์เซ็นต์ ค่าความเป็นกรด-ด่างในเนื้อสะโพกในชั่วโมงที่ 0 มีความเป็นกรด-ด่าง (pH0) ลดลง (P<0.01) และการเสริมสารสกัดหยาบบอระเพ็ดในอาหารทุกสูตรไม่มีผลต่อค่าแรงตัดผ่านเนื้ออก และเนื้อสะโพก (P>0.05) การใช้สารสกัดหยาบบอระเพ็ดในระดับที่สูงกว่า 0.10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้การสูญเสียน้ำระหว่างการเก็บรักษา (Drip loss) ค่าความสว่าง (L*) ค่าความเป็นสีแดง (a*) ในเนื้ออกลดลง (P<0.05). จากการศึกษาครั้งนี้อาจสรุปได้ว่า ในสารสกัดหยาบบอระเพ็ดมีปริมาณสารฟินอลรวม 56.33 mg GAE/g และการเสริมสารสกัดหยาบจากบอระเพ็ดที่ระดับ 0.05 เปอร์เซ็นต์ ในอาหารไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำเป็นระดับที่เหมาะสมในการปรับปรุงน้ำหนักมีชีวิต ระดับแอนติบอดีต่อโรคหลอดลมอักเสบ ลักษณะซาก และคุณภาพเนื้อในไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำ
Description: Master of Science (Master of Science (Animal Science))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สัตวศาสตร์))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/261
Appears in Collections:Animal Science and Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5822301005.pdf2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.