Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/265
Title: EFFECTS OF IMPROVE AMARANTH MEAL QUALITY (AMARANTHUS SPINOSUS L.) BY EXOGENOUS FIBROTIC ENZYME SUPPLEMENTATION OR FERMENTATION PROCESS ON GROWTH PERFORMANCES, CARCASS AND INTESTINAL HISTOMORPHOLOGY OF NATIVE LATH PIGS
ผลของการใช้ผักโขม (Amaranthus spinosus L.) ที่มีการปรับปรุง คุณภาพโดยการ เสริมด้วยเอนไซม์ย่อยเยื่อใยหรือการหมักต่อ ประสิทธิภาพการเจริญเติบโต ลักษณะ ซาก คุณภาพเนื้อ และลักษณะทางสัณฐานวิทยาของลำไส้เล็ก ของสุกรพันธุ์ราด
Authors: Souliphong Khounthavong
Souliphong Khounthavong
Julakorn Panatuk
จุฬากร ปานะถึก
Maejo University. Animal Science and Technology
Keywords: ผักโขม
เอนไซม์ย่อยเยื่อใย
การหมัก
สุกรพันธุ์ราด
amaranth meal
fibrolytic enzyme
fermentation process
Lath pigs
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: The aim of this study was to determine the effects of Amaranth (Amaranthus spinosus L.) meal quality improvement by exogenous fibrolytic enzyme supplementation or fermentation process on growth performances, carcass characteristic, meat quality and intestinal histomorphology of native Lath pigs. A total of 32 castrated male native Lath pigs (around 60-days old; initial body weight 9.04 ± 0.99 kg) were randomly allotted to 4 dietary treatments (4 replicate pens of 2 pigs per pen) in Completely Randomized Design (CRD). Four dietary treatments were T1: Basal diet (Control group), T2: Replacement soybean meal with amaranth meal 20%, T3: Replacement soybean meal with amaranth meal 20% plus Hostazym® X Enzyme 0.01 % (w/w) and T4: Replacement soybean meal with amaranth meal silage 20%. The diet in this experiment was divided into 2 phases. The first phase (pig weight 8 – 30 kg.) all dietary groups were calculated with 17 % crude protein and 3,100 kcal ME/kg and the second phase (pig weight 30 – 50 kg.) all dietary groups were calculated with 15 % crude protein and 3,100 kcal ME/kg. The results found that growth performances of Lath pigs fed with diet supplementation with amaranth meal replacement soybean meal plus enzyme and diet with amaranth meal silage 20% was higher than Lath pigs fed with control diet and diet with amaranth meal 20% (P<0.01) while feed intake were not significantly different among treatments (P>0.05). Compared to  the treatment feed conversion per gain (FCG) in treatment 2 lower 20.46% and treatment 3 and 4 lower approximately 31% Pig fed diet supplementation amaranth with enzyme and fermented amaranth meal also affected the warm carcass percentage, whole loin part percentage and water holding capacity (WHC) which was higher than control diet and diet with amaranth meal 20% (P <0.01). In addition, Pig fed diet supplementation amaranth with enzyme and fermented amaranth meal had villus high and area higher than Pig fed control diet and diet with amaranth meal 20% (P <0.01). Based on this study, it can be concluded that Amaranth meal quality improvement by exogenous fibrolytic enzyme supplementation or fermentation process could be used in 20% of feed and increase productive performances of native Lath pigs. 
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ผักโขม (Amaranthus spinosus L.) ที่มีการปรับปรุงคุณภาพโดยการเสริมด้วยเอนไซม์ย่อยเยื่อใยหรือการหมักต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต ลักษณะซาก คุณภาพเนื้อและลักษณะทางสัณฐานวิทยาของลำไส้เล็กของสุกรพันธุ์ราด โดยใช้สุกรพื้นเมืองสายพันธุ์ราดเพศผู้ตอน อายุประมาณ 60 วัน น้ำหนักเริ่มต้นโดยเฉลี่ย 9.04±0.99 กิโลกรัม จำนวน 32 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 4 ซ้ำ ๆ ตามแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) โดยแต่ละซ้ำประกอบด้วยสุกรจำนวน 2 ตัว เลี้ยงภายในคอกเดียวกัน สุ่มสุกรในแต่ละหน่วยทดลองให้ได้รับอาหารในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 อาหารควบคุม (ไม่มีการใช้ผักโขมในสูตรอาหาร) กลุ่มที่ 2 อาหารพื้นฐานที่ทดแทนกากถั่วเหลืองด้วยผักโขมแห้งบดร้อยละ 20 กลุ่มที่ 3 อาหารพื้นฐานที่ทดแทนกากถั่วเหลืองด้วยผักโขมแห้งบดร้อยละ 20 และเสริมด้วยเอนไซม์ (Hostazym® X Enzyme; 0.01%, w/w) กลุ่มที่ 4 อาหารพื้นฐานที่ทดแทนกากถั่วเหลืองด้วยผักโขมหมักแห้งบดร้อยละ 20 โดยอาหารทดลองแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ช่วงน้ำหนัก 8 – 30 กิโลกรัม อาหารทุกกลุ่มถูกคำนวณให้มีปริมาณโปรตีน 17 เปอร์เซ็นต์และพลังงาน 3,100 กิโลแคลอรี่ และช่วงน้ำหนัก 30 – 50 กิโลกรัมอาหารทุกกลุ่มถูกคำนวณให้มีปริมาณโปรตีน 15 เปอร์เซ็นต์และพลังงาน 3,100 กิโลแคลอรี่  ผลการศึกษาพบว่า การใช้ผักโขมแห้งบดและเสริมด้วยเอนไซม์และการใช้ผักโขมหมักแห้งบดทำให้การย่อยได้ของวัตถุแห้ง และการย่อยได้ของโปรตีน เยื่อใย ไขมัน NDF และ ADF สูงกว่า (P<0.01) กลุ่มการใช้ผักโขมแห้งบดอย่างเดียว ซึ่งอาหารที่มีการใช้ผักโขมแห้งบดเสริมเอนไซม์และผักโขมหมักแห้งบดส่งผลต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของสุกรพันธุ์ราดที่สูงกว่า (P<0.01) และมีอัตราการเปลี่ยนอาหารไปเป็นน้ำหนักตัวต่ำกว่า (P<0.01) กลุ่มควบคุมและกลุ่มที่เสริมด้วยผักโขมแห้งบดอย่างเดียว และเมื่อประเมินต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (FCG) พบว่ากลุ่มที่ 2 สามารถลดต้นทุนค่าอาหาร 20.46 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มที่ 3 และ 4 ลดต้นทุนค่าอาหารเฉลี่ยได้ถึง 31 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนค่าอาหารของกลุ่มการทดลองที่ 1 ด้านลักษณะซากและคุณภาพเนื้อพบว่า อาหารที่มีการใช้ผักโขมแห้งบดเสริมเอนไซม์และผักโขมหมักแห้งบดส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์ซากอุ่น พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน ส่วนตัดชิ้นส่วนสันรวมกระดูกสูงกว่า กลุ่มควบคุมและกลุ่มที่เสริมด้วยผักโขมแห้งบด(P<0.01) แต่ความสามารถในการอุ้มน้ำของเนื้อมีค่าที่ดีกว่า (P<0.01) นอกจากนี้ พบว่า การใช้ผักโขมแห้งบดและเสริมด้วยเอนไซม์และผักโขมหมักแห้งบดส่งผลต่อพื้นที่ของวิลไลและความสูงของวิลไล (P<0.01) สูงกว่ากลุ่มที่อาหารที่ไม่ใช้ผักโขมและการใช้ผักโขมแห้งบดอย่างเดียว จากผลการทดลองในครั้งนี้สรุปได้ว่า การปรับปรุงคุณภาพของผักโขมใช้เอนไซม์หรือการใช้วิธีการหมักสามารถทำให้ใช้ผักโขมในสูตรอาหารได้สูงถึงร้อยละ 20 ในสูตรอาหารและส่งผลต่อประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตที่ดีในสุกรสายพันธุ์ราด
Description: Master of Science (Master of Science (Animal Science))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สัตวศาสตร์))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/265
Appears in Collections:Animal Science and Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6022301001.pdf8.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.