Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/436
Title: DEVELOPMENT OF STRATEGIC PLANNING FOR AGRICULTURAL PRODUCTS WITH SWITCHING OF GAS INFRARED - HOT AIR TUNNEL DRYER INWARD COMMUNITY ENTERPRISE
การพัฒนากลยุทธ์การวางแผนใช้งานตู้อบแห้งผลิตภัณฑ์เกษตรแบบอุโมงค์สลับทิศทางก๊าซอินฟราเรด - ลมร้อนสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
Authors: Pisinee Suasubphan
พิสินี เสือสืบพันธุ์
Somkiat Jaturonglumlert
สมเกียรติ จตุรงค์ล้ำเลิศ
Maejo University. Engineering and Agro - Industry
Keywords: การวางแผนใช้งาน
การอบแห้งแบบอุโมงค์สลับทิศทางก๊าซอินฟราเรด-ลมร้อน
มะม่วง
Development of planning
Gas infrared-hot air tunnel dryer
Mango
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: Ban Lam chang agricultural product community enterprise has established a dried fruit group for export and increase income for people in the community. But often encounter problems such as the quality of the product was irregularly after drying, use a lot of worker of moving or transport trolley. This research study was aimed to study the planning and development of the drying of the agricultural products with gas infrared-hot air tunnel dryer of the community enterprise group. This work was presented with the dried mango as the product case study. The study was divided into two approaches. First, planning and finding a solution to improve drying management to achieve the effectiveness of the drying mango. Second, finding the conceptual solution to improve the problem of hot air distribution in the dryer by using the computation fluid dynamic (CFD) program as a tool, by collecting the air distribution data in the dryer during drying. The result of the first approach was found that the management of drying duration and looping the moist product to repeat the drying can improve the product quality. For the second approach, the result was found the CFD can use as an effective tool for solving the problem in the dryer. Moreover, this approach could be simulated the air distribution of a modified dryer which was applied as an option for further improvement.
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรบ้านล่ามช้างได้จัดตั้งกลุ่มทำผลไม้อบแห้ง เพื่อส่งออกอีกทั้งยังเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน แต่มักประสบกับปัญหา เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ได้หลังจากการอบแห้ง มีคุณภาพที่ไม่สม่ำเสมอกัน ใช้แรงงานคนเป็นจำนวนมากในการเคลื่อนย้ายหรือขนย้ายสำหรับสลับรถเข็นหน้า และหลัง เพื่อให้คุณภาพหลังการอบดียิ่งขึ้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนการใช้งานและพัฒนาปรับปรุงตู้อบแห้งผลิตภัณฑ์เกษตรแบบต่อเนื่องชนิดอุโมงค์ด้วยก๊าซอินฟราเรด-ลมร้อนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยใช้กรณีศึกษาเป็นผลิตภัณฑ์มะม่วงอบแห้งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 เป็นการวางแผนการใช้งาน และหาแนวทางการจัดการเพื่อปรับปรุงกระบวนการอบแห้งมะม่วงให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล ส่วนแนวทางที่ 2 เป็นการแก้ไขปัญหาการกระจายลมที่ไม่สม่ำเสมอในตู้อบแห้งเชิงแนวคิด โดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ร่วมกับเทคนิคพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ (Computation Fluid Dynamic, CFD) เป็นเครื่องมือช่วยในการแก้ไขปัญหา โดยทำการเก็บความเร็วลมเพื่อทำนายการกระจายความเร็วลมภายในตู้อบแห้ง จากผลการศึกษาพบว่าแนวทางที่ 1 การวางแผนรูปแบบการอบแห้งตามระยะเวลาอบผลิตภัณฑ์ร่วมกับการบริหารจัดการด้วยการนำผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่แห้งมาอบวนซ้ำ ช่วยให้การอบแห้งผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและประสิทธิผลดีขึ้น ส่วนแนวทางการศึกษาที่ 2 เมื่อใช้โปรแกรม CFD เข้ามาช่วยแก้ปัญหา พบว่าเทคนิคนี้สามารถช่วยอธิบายการกระจายลมได้ดี หากทำการปรับปรุงแบบสลับทิศทางลมร้อน มีการกระจายลมภายในตู้อบแห้งที่ไม่สม่ำเสมอได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจการพัฒนาปรับปรุงเครื่องในอนาคตได้
Description: Master of Engineering (Master of Engineering (Food Engineering))
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมอาหาร))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/436
Appears in Collections:Engineering and Agro - Industry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6103307003.pdf8.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.