Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/58
Title: ROLES OF LEADERS IN THE OPERATION OF COMMUNITY ENTERPRISES IN CHIANG MAI PROVINCE
บทบาทของผู้นำในการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Nisachon Techakhod
นิศาชล เตจ๊ะขอด
Kangsadan Kanokhong
กังสดาล กนกหงษ์
Maejo University. Agricultural Production
Keywords: บทบาทผู้นำ
วิสาหกิจชุมชน
จังหวัดเชียงใหม่
role of leaders
community enterprise
Chiang Mai province
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: This study aimed to investigate: 1) identity and socio-economic of community enterprise leaders in Chiang Mai province; 2) explore roles of leaders in community enterprise management; 3) factors related to roles of the leaders; and 4) limitations and suggestions of the community enterprises leaders. The study focused on the president, vice-president and secretary of community enterprises. Data were collected by using questionnaire administered with 328 samples and analyzed by using descriptive statistics and multiple regression analysis. Results of the study revealed that most of respondents were male, married and elementary school graduates. Their average age was 54 years old and they lived in the area for 46 years on average. For income aspect, they had an average income from routine work for 12,655 baht per year and from the community enterprise for 10,792 baht per year. The dividend of the community enterprise was 8,476 baht per year and an average debt to the community enterprise was 24,032 baht per year. Leaders of the community enterprises had been on their position for 8 years on average. Most of the community enterprise leaders had no experience in leading other groups. The leaders participated in community enterprise group meeting twice a year, visited other enterprises once a year and received the information about community enterprises (from all channels) four times per year. As a whole, roles of the leaders of Chiang Mai community enterprises was found at a high level (x = 3.65) as well as the role in organizational structure and leadership (x = 3.64), management (x = 3.64), development of learning process for community enterprise members (x = 3.54) and sustainability development (x = 3.92). Meanwhile, the role in network development was at a moderate level (x = 3.47). There were 3 factors related to roles of leaders in the community enterprises included income, dividend and meeting participation with a significance level at 0.01. The limitations of the community enterprise leaders included lack of market, lack of online knowledge dissemination, lack of modern production technology, inefficient accounting, and lack of new product research. Thereby, concerned organizations should participate in community enterprise management to build systematic management and activities among networks should be conducted to gain knowledge and experience among the groups.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้นำในการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทของผู้นำในการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ 4) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของผู้นำในการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชน รองประธานกลุ่มและเลขานุการ จำนวน 328 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถอถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลเป็นประธานกลุ่ม รองประธานกลุ่มและเลขานุการกลุ่ม 1) ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 54 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สถานภาพสมรส มีระยะเวลาที่อยู่อาศัยในพื้นที่เฉลี่ย 46 ปี มีรายได้หลักจากการทำงานประจำเฉลี่ย 12,655 บาทต่อปี มีรายได้จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 10,792 บาทต่อปี ได้รับเงินปันผลจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 8,476 บาทต่อปี มีหนี้สิ้นภายในกลุ่มเฉลี่ย 24,032 บาทต่อปี ส่วนใหญ่มีระยะเวลาการเป็นผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 8 ปี ผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ในการเป็นผู้นำกลุ่มอื่นๆ มีการเข้าร่วมประชุมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี มีการเข้าร่วมศึกษาดูงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 1 ครั้งต่อปี และได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน (ทุกช่องทาง) เฉลี่ย 4 ครั้งต่อปี  2) จากการศึกษาบทบาทของผู้นำในการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย 3.65) โดยมีบทบาทด้านโครงสร้างและการนำองค์กรอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย 3.64) ด้านการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย 3.68) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของสมากชิกกลุ่มอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย 3.54) ด้านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความยั่งยืนอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย 3.92) ส่วนในด้านการสร้างและพัฒนาภาคีเครือข่ายอยู่ในระดับปานกลาง (เฉลี่ย 3.47) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์กับบทบาทของผู้นำในการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ทุกด้าน ได้แก่ รายได้จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวนเงินปันผล และการเข้าร่วมประชุมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (sig < 0.01) ปัญหาและอุปสรรคของผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ การจัดจำหน่ายสินค้ายังไม่มีตลาดเข้ามารองรับ ขาดความรู้ในการจัดจำหน่ายสินค้าในช่องทางออนไลน์ ขาดเทคโนโลยีในการผลิตที่ทันสมัย ปัญหาด้านการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายภายในกลุ่ม รวมถึงการศึกษาวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดการควบคุมดูแลบริหารจัดการองค์กรอย่างเป็นระบบ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกลุ่ม ควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างกลุ่มเครือข่ายให้มีมากเพิ่มขึ้นสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มเครือข่ายได้
Description: Master of Science (Master of Science (Resources Development and Agricultural Extension))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/58
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5901332002.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.