Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/755
Title: FACTORS RELATED TO SOCIAL RETURN ON INVESTMENT OF CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY PROJECTS UNDER  ELECTRICITY GENERATING AUTHORITY OF THAILAND
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนของ โครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
Authors: Chanthip Piper
จันทร์ทิพย์ ไพเพอร์
Chalermchai Panyadee
เฉลิมชัย ปัญญาดี
Maejo University. School of Administrative Studies
Keywords: ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน
ความรับผิดชอบต่อสังคม
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
Social Return on Investment
Corporate Social Responsibility
Electricity Generating Authority of Thailand
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: This study aims to (1) examine the concept idea and the process of the social responsibility projects, (2) study the social return on investment (SROI) and the factors that might be related to the SROI, and (3) exhibit an appropriate strategy for the process of the corporate social responsibility project of Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT). The research method was the combination of documentary research and survey research. The sampling data, which was obtained by using survey, structured-interview, and small group discussion, was collected from 59 households whom participated in EGAT’s community project. Also, data was obtained by using semi-structure interview from 15 EGAT’s responsible employees from head office and Sirikit Dam. The results which were analyzed by using social return on investment are as followed. The results of EGATs corporate social responsibility project show that the proportion of CSR in process and CSR after process have different proportion, especially the CSR after process, which is not linked with the organization’s expertise, having greater proportion of 61.29 percent. This is an obstacle in driving social responsibility in the long term. The study of SROI, corporate social responsibility project of EGAT Sirikit Dam by using the Biological Way of Life for Sustainable Development project, revealed an SROI of 2.18 Baht (meaning, every 1 baht of investment can benefit the community of 2.18 baht). For instance, some households applied their knowledge of natural agriculture and practiced use of it to sustain themselves and to reduce their household expenses. The study of the social return on investment and the factors that might be related to the SROI of EGAT showed that number of households’ member, their land size, participating time, participation and contribution to the project, and their attitude and mindset toward this project, have relationship with rewards from EGAT Sirikit Dam’s development project. The most related factor is on social dimension of 27.50 percent, followed by environmental dimension of 19.20 percent, economic dimension of 14.60 percent, and lastly, health dimension of 9.80 percent. Appropriate strategies for the process of the corporate social responsibility project of Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) were analyzed by using SWOT analysis and TOWS Matrix, achieving 3 appropriate strategies, which are, strategy 1) to promote energy, environmental, and power conservation, and to encourage people of selfcare to keep them healthy and be cautious of any epidemic. 2) To promote the CSR sustainability by reviewed the real need of key stakeholders (from the past, present and in the future). And 3) to develop the transferring of knowledge.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่ออธิบายกรอบแนวคิดและกระบวนการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม 2) เพื่อศึกษาผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนและปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลตอบแทนจากการลงทุนทางสังคม และ 3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ร่วมกับวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เครื่องมือที่ใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured - Interview) รวมถึงการอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยังยืนของ กฟผ. จำนวน 59 ครัวเรือน และจากการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับพนักงาน กฟผ. สำนักงานกลางและเขื่อนสิริกิติ์ 15 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือวัดผลตอบแทนจากการลงทุน (Social Return on Investment: SROI) ผลการวิจัยมีดังนี้ แนวคิดและกระบวนการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พบว่า กิจกรรมและโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. มีทั้งความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการธุรกิจ (CSR In Process) และกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมนอกกระบวนการธุรกิจ (CSR After Process) ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะสัดส่วนของกิจกรรมและโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมนอกกระบวนการธุรกิจไม่มีความเชื่อมโยงกับความรู้ความเชี่ยวชาญขององค์กรมีสัดส่วนมากกว่าคิดเป็นร้อยละ 61.29  ซึ่งเป็นอุปสรรคในการขับเคลื่อนงานความรับผิดชอบต่อสังคมต่อไปในระยะยาว การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของ กฟผ. เขื่อนสิริกิติ์ ผ่านการดำเนินโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พบว่า โครงการนี้มีผลตอบแทนจากการลงทุนมีค่าเท่ากับ 2.18 บาท  (หมายความว่า เงินลงทุน  1 บาทที่จ่ายลงทุน ได้ทำประโยชน์เกิดมูลค่ากับสังคม 2.18 บาท) ตัวอย่างเช่น เกิดความรู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติที่ครัวเรือนนำไปประยุกต์ใช้จนสามารถลดรายจ่ายและพึ่งพาตนเองได้ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนของโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พบว่า ปัจจัยจำนวนสมาชิกในครัวเรือน ขนาดการถือครองที่ดิน ระยะเวลาการเข้าร่วม การมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ กฟผ. และเจตคติต่อการเข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของ กฟผ. มีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนจากการลงทุนของโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนสิริกิติ์ ในองค์ประกอบด้านสังคมมากที่สุด (ร้อยละ 27.50) รองลงมาเป็นด้านสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 19.20) ด้านเศรษฐกิจ (ร้อยละ 14.60) และด้านสุขภาพ (ร้อยละ 9.80) ตามลำดับ การนำเสนอกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  (กฟผ.) พบว่า จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก (TOWS Matrix) นำมาสู่การเสนอกลยุทธ์ที่เหมาะสมใน 3 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมด้านการอนุรักษ์พลังงาน สิ่งแวดล้อม ด้านพลังงานไฟฟ้า และสนับสนุนการป้องกันดูแลสุขภาพและเฝ้าระวังเผชิญภัยโรคระบาด ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการทบทวนความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก (ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต) และยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการถ่ายทอดองค์ความรู้
Description: Doctor of Philosophy (Doctor of Philosophy (Administrative Science))
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (บริหารศาสตร์))
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/755
Appears in Collections:School of Administrative Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5805501003.pdf4.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.