Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/758
Title: THE CONSUMER DECISION MAKING ON FOOD DELIVERY SERVICE IN CHIANG MAI
การตัดสินใจใช้บริการ Food Delivery ของผู้บริโภค ในจังหวัดเชียงใหม่
Authors: Peeranad Lowantha
พีระนัฐ โล่วันทา
Pattarika Maneepun
ภัทริกา มณีพันธ์
Maejo University. Business Administration
Keywords: การตัดสินใจใช้บริการ
ส่วนประสมทางการตลาด
Food Delivery
The Decision Making
Marketing Mix
Food Delivery
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: The objective of this study was to examine consumer decision-making behavior of food delivery service in Mueang District, Chiang Mai Province. The sample was 400 people with prior experience of ordering food delivery service through delivery application. A questionnaire was used as a research instrument for data collection. Data were analyzed using statistics including frequency, percentage, mean and standard deviation to classify data. The researcher then tested the hypothesis between independent and dependent variables as well as Independent T-Test and One Way ANOVA and LSD or Fisher's least significant difference for a pairwise comparison. The results showed that most of the respondents were female, aged 21–30 years, had monthly income less than 15,000 baht, had a bachelor's degree education, and had a career as a student. Most of the respondents used Food Panda's food delivery service. The average frequency of using food delivery was 1 - 2 times a week. The food that was used most often for delivery was a la carte. The reason for choosing food delivery service was that it was inconvenient to buy food by themselves. The service period was 12:00 - 14:00. Most of them use the food delivery service to eat alone. The cost of using the delivery service per time was 101 - 200 baht. The most used data source for decision-making was from the food delivery service application.   The results of hypothesis testing indicated that demographic factors, including gender, age, and education level influenced indifferently decision-making behavior of food delivery service. However, the respondents with different monthly income had different decision to use food delivery service in Chiang Mai Province. The difference in Product, Price, Promotion, Physical evidence, Personalization, and Privacy, and occupation influenced differently decision-making behavior of food delivery service in Chiang Mai. 
การศึกษาเรื่องการตัดสินใจใช้บริการ Food Delivery ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการ Food Delivery ของผู้บริโภคในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มที่ศึกษาคือ ผู้ที่เคยใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชัน Delivery จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตฐาน เพื่อจำแนกข้อมูลที่นำมาศึกษา จากนั้นผู้วิจัยได้ทดสอบสมมติฐานระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามด้วยสถิติ โดยการทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระจากกัน (Independent T-Test) และการทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป (One Way ANOVA) และ LSD หรือ Fisher's least significant difference ในการเปรียบเทียบรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปี มีรายได้ต่อเดือน ต่ำกว่า 15,000 บาท มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี และมีอาชีพเป็น อาชีพนักเรียน / นักศึกษา ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้บริการสั่งอาหาร Food Delivery ของ Food Panda ความถี่ในการใช้บริการ Food Delivery โดยเฉลี่ย คือ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง อาหารที่ใช้บริการ Delivery บ่อยที่สุด คือ อาหารตามสั่ง เหตุผลที่เลือกใช้บริการ Food Delivery คือ ไม่สะดวกไปซื้ออาหารด้วยตัวเอง ช่วงเวลาในการใช้บริการ คือ 12.00 – 14.00 น. ส่วนใหญ่ใช้บริการ Food Delivery เพื่อรับประทานคนเดียว ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ Delivery ต่อ 1 ครั้ง 101-200 บาท และแหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกใช้บริการมากที่สุด คือ จากแอปที่สั่งอาหาร Delivery ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกใช้บริการ Food Delivery ไม่แตกต่างกัน รายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ Food Delivery ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ แตกต่างกัน คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมกายภาพ ปัจจัยด้านการให้บริการแบบเจาะจง และปัจจัยด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว และอาชีพ ที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ Food Delivery ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ แตกต่างกัน คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมกายภาพ ปัจจัยด้านการให้บริการแบบเจาะจง และปัจจัยด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว
Description: Master of Business Administration (Master of Business Administration (Business Administration))
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ))
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/758
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6106401027.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.