Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/761
Title: MARKETING STRATEGIES OF BUDDHIST COMMERCIAL:A CASE STUDY OF TEMPLE IN MUANG CHIANG MAI PROVINCE
กลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจเชิงพุทธพาณิชย์ กรณีศึกษา วัดในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Taviphat Panyawilad
ทวิภัทร ปัญญาวิลาศ
Ayooth Yooyen
อายุส หยู่เย็น
Maejo University. Business Administration
Keywords: กลยุทธ์ทางการตลาดเชิงพุทธพาณิชย์
การตลาดเชิงพุทธพาณิชย์
พุทธพาณิชย์
Marketing Strategies of Buddhist Commercial
Marketing of Buddhist Commercial
Buddhist Commercial
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: This research aims to study Marketing Strategies of Buddhist Commercial Business: A Case Study of Temples in Muang District Chiang Mai Province.The objectives were to (1) study consumer behavior in Buddhist commercial businesses and (2) to study marketing strategies of Buddhist commercial businesses in Muang district, Chiang Mai province. It is a blended study. both quantitatively The target group is those who come to use the services of various temples in the city district. Chiang Mai Province The questionnaires were collected per 400 population. The data were analyzed by frequency distribution. finding the percentage and evaluated (Likert Scale) and standard deviation The results showed that The marketing factors affecting consumer behavior in all 7 aspects of Buddhist commercial businesses were at a moderate level. Product aspect, price aspect, distribution channel aspect, personnel aspect, process aspect building and presenting physical characteristics and to a lesser extent is the promotion of marketing at a low level and in terms of quality A survey was conducted and interviewed 140 people who were involved in, or are responsible for, managing, raising money or raising funds for the temple. The researcher used participant and non-participant observations over a period of 8 months for the highest accuracy and clarity. The results showed that The belief in the next world still exists. But after the social change into capitalism. cause a change in thinking beliefs and values ​​of people In addition to the changing social conditions and people's concepts, the patterns, ideas, beliefs in creating a Buddha image that lead to commercial Buddhism in each period have changed according to the context of each society. which the use of faith faith in buddhism to cause income or money for themselves which is a very contrary approach to the teachings of Buddhism It's not just buying and selling amulets as many people understand. but also means other activities that use faith Buddhism's faith is converted into money or property. causing the process of trading beliefs and faith in Buddhism by using objects or symbols related to Buddhism or the Triple Gem to be a tool to generate income for commercial gain, that is, to use money to express the interaction between Buddhists and Buddhism that indicates the closeness and nature of the relationship that they have together through related activities or rituals Part of the problem is caused by people in the culture neglecting the value of Buddhist symbols. Lack of inheriting the right knowledge of Buddhist philosophy.
การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจเชิงพุทธพาณิชย์ กรณีศึกษา วัดในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่  มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในธุรกิจเชิงพุทธพาณิชย์ และ (2) เพื่อศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจเชิงพุทธพาณิชย์ ในพื้นที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน ทั้งเชิงปริมาณ ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่เข้ามาใช้บริการต่าง ๆ ของวัดในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามต่อประชากร 400 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ และประเมินค่า (Likert Scale) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า  ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในธุรกิจเชิงพุทธพาณิชย์ทั้งหมด 7 ด้าน อยู่ในระดับปานกลางได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านบุคคล ด้านกระบวนการ ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ และในระดับน้อย คือด้านการส่งเสริมการตลาด  ระดับน้อย และในเชิงคุณภาพ ได้ทำการสำรวจและสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีหน้าที่ดูแล จัดการ การหารายได้หรือระดมทุนเข้าสู่วัด จำนวน 140 ราย โดยการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ตลอดระยะเวลา 8 เดือน เพื่อความแม่นยำและถูกต้องชัดเจนมากที่สุด  ผลการศึกษาพบว่า   ความเชื่อเรื่องโลกหน้ายังคงอยู่ แต่ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเข้าสู่ระบบทุนนิยม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความคิด ความเชื่อและค่านิยมของคน นอกจากสภาพสังคมและแนวคิดของคนที่เปลี่ยนไปแล้ว รูปแบบ ความคิด ความเชื่อ ในการสร้างพุทธลักษณ์ที่นำไปสูพุทธพาณิชย์ในแต่ละยุคสมัยได้เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของแต่ละสังคม ซึ่งการใช้ความเชื่อ ความศรัทธาในศาสนาพุทธ มาทำให้เกิดรายได้หรือข้าวของเงินทองให้กับตนเอง ซึ่งเป็นแนวทางที่ขัดกับหลักคำสอนของพุทธศาสนาเป็นอย่างมากพุทธพาณิชย์ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงการซื้อ-ขายพระเครื่องอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ยังหมายถึงกิจกรรมอื่นๆ ที่ใช้ความเชื่อ ความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนมาแปลงเป็นเงินหรือทรัพย์สิน ทำให้เกิดกระบวนการค้าขายความเชื่อและความศรัทธาในพุทธศาสนาโดยใช้วัตถุหรือสัญลักษณ์ ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาหรือพระรัตนตรัย มาเป็นเครื่องมือสร้างรายได้แสวงหาผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ กล่าวคือ เป็นการใช้เงินเพื่อแสดงออกซึ่งปฏิสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนิกชนกับพุทธศาสนา ที่บ่งบอกถึงความใกล้ชิดและลักษณะความสัมพันธ์ที่มีร่วมกัน ผ่านกิจกรรมหรือพิธีกรรมที่เกี่ยวข้อง ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากคนในวัฒนธรรมได้ละเลยการให้คุณค่าของพุทธสัญลักษณ์ ขาดการสืบทอดองค์ความรู้ด้านปรัชญาพุทธศาสนาที่ถูกต้อง
Description: Master of Business Administration (Master of Business Administration (Business Administration))
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ))
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/761
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6206401018.pdf5.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.