Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/792
Title: การตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเภทเฟซบุ๊ค
Other Titles: The decision making to travel of tourists in Chiangmai by using communication through the online network Facebook
Authors: เพียงอัปสร ยาปาน Pieng-upson Yapan
Keywords: การท่องเที่ยว
เฟซบุ๊ค (บริการสารสนเทศ)
เครือข่ายสังคมออนไลน์
การสื่อสารการตลาด
นักท่องเที่ยว
บริการสารสนเทศ
ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
Issue Date: 2015
Publisher: Chiangmai : Maejo University
Abstract: การวิจัยเรื่อง การตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ด้วย การสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเภทเฟซบุ๊ค มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ลักษณะของ ประชากรที่ใช้เครือข่ายสังคมและลักษณะการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊คของ นักท่องเที่ยว 2) การตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวด้วยการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภท เฟซบุ๊คผ่านกระบวนการตัดสินใจเดินทาง 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊ค โดยรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมา ท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ จํานวน 400 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (snowbal Sampling)ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวที่ใช้เครือข่ายสังคม ออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊ค ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง โดยอายุเฉลี่ย 32.68 ปี มีสถานภาพโสดมากกว่าครึ่ง ระดับการศึกษาสูงสุดที่ระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และมีรายได้ต่อเดือนที่ 34,123.22 บาทผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊คของ นักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่มีระยะการเป็นสมาชิกของเครือข่ายสังคมออนไลน์มากกว่า 3 ปีขึ้นไป ในเรื่อง ความถี่ในการเข้าใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเภทเฟซบุ๊คทุกวัน มีระยะเวลาการเข้าใช้บริการ เครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเภทเฟซบุ๊คโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1-3 ชั่วโมงต่อครั้ง ช่วงเวลาที่นักท่องเที่ยวเข้าใช้ บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเภทเฟซบุ๊ค คือช่วงเวลา 18.01-24.00 น. โดยนักท่องเที่ยวเกินกว่า ครึ่งหนึ่งมีวัตถุประสงค์ที่นักท่องเที่ยวเข้าใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊ค คือ เพื่อ ติดตามข่าวสาร กิจกรรมและความคิดเห็นต่างๆ ของบุคคลที่รู้จักในเครือข่าย และอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกับ เครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเภทเฟซบุ๊คคือ โทรศัพท์มือถือ/สมาร์ทโฟน ส่วนนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการ เครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเภทเฟซบุ๊คเกินกว่าครึ่งเคยรู้จักแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ จากเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊ค โดยที่เคยค้นหาข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเภท เฟซบุ๊ค ก่อนการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว และมีการค้นหาข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวจากเครือข่ายสังคม ออนไลน์ ประเภทเฟซบุ๊คอยู่บ่อยครั้งผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊คส่งผลต่อ การตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก ซึ่งกระบวนการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวผ่านการ สื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊คส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางในด้านการค้นหา ข้อมูล/แสวงหาข้อมูล และพฤติกรรมหลังการเดินทางท่องเที่ยวมากกว่าด้านอื่นๆ โดยอาชีพมี ความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊ค นอกจากนั้นยังพบว่า วัตถุประสงค์การเข้าใช้งาน การเคยรู้จักแหล่งท่องเที่ยวใหม่ และการค้นหา ข้อมูลก่อนการเดินทางต่างมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ด้วยเช่นกัน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/792
Appears in Collections:Engineering and Agro - Industry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pieng-upson Yapan.pdf31.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.