Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/796
Title: การทำแผนที่ QTL สำหรับขนาดเมล็ดในถั่วเหลืองฝักสด
Other Titles: QTL mapping for seed size of vegetable Soybean
Authors: สุพินญา ขันติภาพ, Supinya Khantipap
Keywords: พันธุกรรมพืช
ถั่วเหลือง
ถั่วเหลืองฝักสด
การปรับปรุงพันธ์
Issue Date: 2017
Publisher: Chiangmai : Maejo University
Citation: http://opac.library.mju.ac.th/opac2/BibDetail.aspx?bibno=351763
Abstract: ลักษณะขนาดเมล็ดสดในถั่วเหลืองฝักสด ได้แก่ น้ําหนัก ความกว้าง ความยาว ความหนา และปริมาตรเมล็ดเป็นลักษณะหลัก ที่นํามาพิจารณาในการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสด ตรงตาม ความต้องการของผู้บริโภค วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาการกระจายตัวของลักษณะขนาด เมล็ด และการจําแนกเครื่องหมายดีเอ็นเอแบบเอสเอสอาร์ ที่เชื่อมโยงกับลักษณะเชิงปริมาณ (Quantitative trait Loci ,QTL) ในสายพันธุ์แท้ (recombinant in bred line, RILs) ที่ได้จากคู่ผสม ระหว่างพันธุ์ “AGS292” และสายพันธุ์จากการทดลอง “K3' ได้ประเมินประชากรสายพันธุ์แท้ 92 สายพันธุ์ ร่วมกับพันธุ์พ่อแม่ โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ จํานวน 2 ซ้ํา ในฤดูฝนปี 2557 และฤดูแล้งปี 2558 ทําการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผลการทดลอง พบว่า การกระจายตัว ของลักษณะเมล็ดสดในสองฤดูเป็นแบบปกติและมีการกระจายตัวที่ดีเด่นและด้อยกว่าพ่อแม่ (transgressive segregation) การกระจายตัวของลักษณะเมล็ดแห้งในฤดูแล้งเป็นแบบปกติแต่ ลักษณะเมล็ดแห้งในฤดูฝนและมีการกระจายตัวที่ดีเด่นและด้อยกว่าพ่อแม่ (transgressive segregation) ปริมาตรของเมล็ดสดในประชากรสายพันธุ์แท้มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับความกว้างเมล็ด สดและความหนาเมล็ดสดส่วนปริมาตรเมล็ดแห้งมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับทุกลักษณะในทั้งสองฤดู การวิเคราะห์ความแปรปรวนปัจจัยเดียวได้ถูกนําไปใช้ในการจําแนกเครื่องหมายดีเอ็นเอแบบ เอสเอสอาร์ (simple sequence repeat ,SSR) ที่มีความเชื่อมโยงกับขนาดเมล็ดอย่างมีนัยสําคัญใน ทั้งสองฤดูจํานวน 292 เครื่องหมาย จาก 20 กลุ่มลิงเกจ การวิเคราะห์สมการถดถอยหลายตําแหน่ง (multiple-locus regression) เครื่องหมาย โมเลกุลแบบเอสเอสอาร์ ที่มีความเชื่อมโยงกับขนาดเมล็ดอย่างมีนัยสําคัญพบว่าเครื่องหมายโมเลกุล Sat 033 บนกลุ่มลิงเกจ N อยู่ใกล้กลุ่มยืนหลัก (major QTL) ที่ควบคุมน้ําหนักเมล็ดแห้ง 100 เมล็ด ในฤดูแล้ง สามารถอธิบายความแปรปรวนของลักษณะ (phenotypic variation explain, RR ) ได้ ร้อยละ 29.3 Satt657 บนกลุ่มลิงเกจ F อยู่ใกล้กลุ่มยืนหลัก ที่ควบคุมความกว้างเมล็ดสดในฤดูฝน สามารถอธิบายความแปรปรวนของลักษณะได้ร้อยละ 35.7 Satt038 บนกลุ่มลิงเกจ G อยู่ใกล้กลุ่ม ยืนหลัก ที่ควบคุมความหนาเมล็ดสดในฤดูฝน สามารถอธิบายความแปรปรวนของลักษณะได้ร้อยละ 29.1 Sat 403 บนกลุ่มลิงเกจ G อยู่ใกล้กลุ่มยืนหลัก ที่ควบคุมความหนาเมล็ดแห้งในฤดูแล้ง สามารถ อธิบายความแปรปรวนของลักษณะได้ร้อยละ 35.4 Satt657 บนกลุ่มลิงเกจ F อยู่ใกล้กลุ่มยืนหลัก (major QTL) สําหรับลักษณะปริมาตรเมล็ดสดในฤดูฝน สามารถอธิบายความแปรปรวนของลักษณะ ได้ร้อยละ 22.0 GMES1619 บนกลุ่มลิงเกจ J อยู่ใกล้กลุ่มยืนหลัก ที่ควบคุมปริมาตรเมล็ดแห้งในฤดู แล้ง สามารถอธิบายความแปรปรวนของลักษณะได้ร้อยละ 28.6 จากผลการศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์ ต่อโครงการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสด
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/796
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supinya_Khantipap.pdf142.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.