Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/817
Title: STATUS AND UTILIZATION OF LAN (Corypha lecomtei Becc.) IN BAN-SANPALAN COMMUNITY FOREST,TAK OK SUB-DISTRICT, BAN TAK DISTRICT,TAK PROVINCE
สถานภาพและการใช้ประโยชน์ต้นลานในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านสันป่าลาน ตำบลตากออก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก
Authors: Nopparat Kaewmora
นพรัตน์ แก้วโมรา
Kanitta Satienperakul
ขนิษฐา เสถียรพีระกุล
Maejo University. Agricultural Production
Keywords: ต้นลาน
สถานภาพ
การใช้ประโยชน์
ป่าชุมชน
Lan tree
status
utilization
community forest
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: This study aimed to explore status and utilization of Lan (Corypha lecomtei Becc.) in Ban Sanpalan community forest, Tak province.  Six temporary rectangle plots (20 x 50m) were randomly set in local of the study Lan data collection was divided into 3 levels : 1) Lan seedling, 2) Lan with a young shoot which could not be cut, and 3) big Lan which could be cut for utilization.  The size of Lan at the chest level was measured based on length of the diameter.  In-depth interview was conducted with a sample group of 143 local people collecting and utilizing Lan in Ban Sanpalan community forest. Results of the study revealed that Ban Sanpalan community forest was a dry dipterocarp forest having no different topographic condition (189.5 m above mean sea level).  The aspect was mostly to the southwestern (256.8 degree on average) and the slope was relatively flat (3.7% on average).  Regarding the forest ecology, 39 tree species, 35 genus and 16 families were found and the shannon-Wiener index value was at 2.37,  Dominant tree species there which followed by Shorea siamensis, Terminalia pierrei, Terminalia alata, Diospyros castanea, Lannea coromandelica, Sindora siamensis var. siamensis, Haldina cordifolia, Heterophragma sulfureum and Scheichera oleosa.  In locale of the study, 915 Lan trees were found with an average density of 1,525 trees/hectare.  In this respect, there were 412 Lan seedlings (687 trees/hectare; 141 Lan with a young shoot (235 trees/hectare); and 362 big Lan trees (603 trees/hectare).  An average circumference of the cut shoots was 32.43 cm with an average length of 157.50 cm.  Findings showed that a number of utilized Lan trees having natural distribution and be able to survive as Lan seedling might not concern with influence of the density and the total cross-sectional area of trees in the surveyed plots.  In contrast, Lan trees which could be utilized had a negative relationship with a number of Lan trees and the total cross-sectional area in the plots.  This was due to needs for space using to erect the trunk and needs of various environmental factors in the area to cope with Lan growth performance. Regarding Lan utilization in this community forest, it was found that most of the informants were female 56-65 years old, hired workers and elementary school graduates.  It was found that Lan leaves were utilized most as wickerwork (eg. hat, fan, and bag) and incomes depended on product types (100-1,000 baht).  Besides, Lan leaf stalks were made to be a broom, hairpin and wicker frame.  It’s young fruits were edible while old fruits could be propagated.  In addition, its trunk could be fuel or made as motar and pestle.  It was also found that people there were aware of Lan conservation and they strictly followed rules and regulations of the community forest.  There was knowledge transfer on correct Lan cutting method, Lan seeding promotion and guidelines for sustainable Lan conservation and utilization by personnel of the public sector.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพต้นลานในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านสันป่าลาน และศึกษาวิธีการใช้ประโยชน์ต้นลานในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านสันป่าลาน โดยสุ่มวางแปลงชั่วคราวแบบสี่เหลี่ยมขนาด 20 x 50 เมตร ในพื้นที่ศึกษา จำนวน 6 แปลง เก็บรวบรวมข้อมูลต้นลานในแปลงตัวอย่าง แยกเป็น 3 ระดับคือ กล้าลาน ลานที่มียอดอ่อนที่ยังไม่สามารถตัดได้ และลานที่มียอดที่สามารถตัดใช้ประโยชน์ได้ ชนิดไม้ที่พบในพื้นที่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นของชนิดไม้ที่พบที่มีความสูงระดับอก และศึกษาวิธีการใช้ประโยชน์ต้นลาน โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากกลุ่มตัวอย่างที่เข้าไปเก็บหาและใช้ประโยชน์จากต้นลานในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านสันป่าลาน ที่มีวัตถุประสงค์การเก็บหาเพื่อสร้างรายได้ จำนวน 143 คน    ผลการศึกษาพบว่า นิเวศวิทยาของลานในพื้นที่ป่าเต็งรังของป่าชุมชนบ้านสันป่าลาน เนื้อที่ 1,744 ไร่ พบพันธุ์ไม้ยืนต้นทั้งหมด 39 ชนิด 35 สกุล ใน 16 วงศ์ จำนวนทั้งหมด 324 ต้น มีค่าดัชนีความหลากชนิด (Shannon-Wiener Index) เท่ากับ 2.37 พันธุ์ไม้เด่นคือสะเดา มีค่าดัชนีความสำคัญ (IVI) เท่ากับ 37.05 รองลงมาเป็นรัง ตะแบกกราย รกฟ้า ตะโกพนม อ้อยช้าง มะค่าแต้ ขว้าว แครกฟ้า และตะคร้อ สภาพภูมิประเทศในแปลงสำรวจต้นลานตามธรรมชาติทั้ง 6 แปลง พบว่า สภาพระบบนิเวศป่าไม้เป็นสังคมพืชป่าเต็งรังที่มีปัจจัยแวดล้อมด้านกายภาพโดยเฉพาะสภาพภูมิประเทศไม่แตกต่างกันมากนัก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ย 189.5 เมตร ทิศด้านลาด ส่วนใหญ่แปลงมีทิศไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีค่าเฉลี่ย 256.8 องศา และความลาดชัน ค่อนข้างราบ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 3.7 ลานที่สำรวจพบจำนวนทั้งหมด 915 ต้น มีความหนาแน่นเฉลี่ย 1,525 ต้น/เฮกแตร์ จำแนกเป็นระยะกล้าลาน 412 ต้น ความหนาแน่นเฉลี่ย 687 ต้น/เฮกแตร์ จำนวนต้นของลานระยะกล้ามีความผันแปรกันในแต่ละแปลงสำรวจโดยมีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ระยะลานขนาดกลาง 141 ต้น ความหนาแน่นเฉลี่ย 235 ต้น/เฮกแตร์ และระยะลานที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ 362 ต้น ความหนาแน่นเฉลี่ย 603 ต้น/เฮกแตร์ เส้นรอบวงของยอดที่ตัดใช้ประโยชน์มีค่าเฉลี่ย 32.43 เซนติเมตร มีค่าเส้นรอบวงระหว่าง 24.65-33.33 เซนติเมตร มีความยาวเฉลี่ย 157.60 เซนติเมตร และมีค่าความยาวระหว่าง 105-225 เซนติเมตร ความสัมพันธ์แนวโน้มการสืบต่อพันธุ์ตามธรรมชาติ อนุมานได้ว่ารูปแบบการสืบต่อพันธุ์ตามธรรมชาติของลานในพื้นที่ศึกษามีการทดแทนในรูปแบบปกติ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนต้นกล้าลาน และจำนวนต้นลานที่ใช้ประโยชน์ต่อความหนาแน่นของต้นไม้รวมในแปลงสำรวจ และพื้นที่หน้าตัดรวมของต้นไม้ในแปลงสำรวจ พบว่า จำนวนกล้าของต้นลานที่กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติสามารถตั้งตัวเป็นระยะกล้าลานได้ตามปกติ อาจไม่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวข้องน้อยกับอิทธิพลของความหนาแน่น และพื้นที่หน้าตัดรวมของต้นไม้ในแปลงสำรวจ แต่เมื่อมีการพัฒนาการขึ้นเป็นลานต้นใหญ่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้กลับมีความสัมพันธ์เชิงลบกับจำนวนต้น และพื้นที่หน้าตัดรวมของต้นไม้ในแปลง อาจเนื่องมาจากการต้องการใช้พื้นที่ในการตั้งตัวของลำต้น ความต้องการของปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อเพียงพอต่อความต้องการของต้นลาน การใช้ประโยชน์ต้นลานในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านสันป่าลาน พบว่า ผู้ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 56-65 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพรับจ้าง ส่วนของต้นลานป่าที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุดคือส่วนใบ โดยนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์จักสานเป็นอาชีพเสริม จำหน่าย 2-4 เดือนต่อครั้ง รายได้ครั้งละ 100-1,000 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดของผลิตภัณฑ์ การเก็บหายอดลานอ่อนในการตัดยอดแต่ละครั้งจะได้ประมาณ 10-15 ยอด ใช้วิธีเก็บแบบหมุนเวียนตามช่วงระยะการถอดยอดของต้นลานประมาณ 25-30 วัน ส่วนใหญ่เก็บหาตลอดทั้งปี รองลงมาคือการใช้ประโยชน์ก้านใบ นำมาจักตอกมัดพืชผลทางการเกษตร โครงเครื่องจักสาน ไม้กวาด และปิ่นปักผม โดยเก็บหาจากเศษก้านที่เหลือจากการกรีดใบลาน เก็บหาได้ตลอดทั้งปี รายได้จากการจำหน่ายครั้งละ 50-1,200 บาท การใช้ประโยชน์จากผลอ่อนเพื่อรับประทาน ไม่ได้จำหน่ายเพราะ 1-2 ปี จึงจะเก็บผลได้ 1 ครั้ง ผลแก่นำไปเพาะเป็นกล้าลานเพื่อขยายพันธุ์ และลำต้นจะเลือกใช้ประโยชน์เฉพาะต้นลานที่แห้งตายแล้ว โดยนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม ครกและสาก ไม่ได้จำหน่าย การอนุรักษ์ต้นลานของคนในชุมชนที่ใช้ประโยชน์ต้นลาน พบว่าผู้ใช้ประโยชน์ในชุมชนมีความสำนึกในการอนุรักษ์ต้นลานป่า กำชับให้มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบป่าชุมชน มีการเฝ้าระวังและตรวจตราผู้ใช้ประโยชน์ที่เป็นคนนอกชุมชน มีการถ่ายทอดความรู้การตัดยอดลานที่ถูกวิธีให้คนรุ่นใหม่ กลุ่มจักสานใบลานมีการส่งเสริมเพาะกล้าลานแจกให้ผู้ใช้ประโยชน์ในชุมชนนำไปปลูกในพื้นที่ตนเองและในป่าชุมชน ส่วนแนวทางการอนุรักษ์ต้นลานเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน หน่วยงานภาครัฐควรมีเจ้าหน้าที่ที่ชำนาญการเพาะปลูกมาส่งเสริมการปลูกต้นลานในป่าชุมชนอย่างจริงจัง
Description: Master of Science (Geosocial Based Sustainable Development)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน))
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/817
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6201417002.pdf6.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.