Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/837
Title: LAND USE CHANGE IN THE CONSERVATION AREAIN DOI PHA KLONG NATIONAL PARK, PHRAE PROVINCE
การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยผากลอง จังหวัดแพร่
Authors: Nattakon Kan-in
ณัฐกณฑ์ กันอินทร์
Torlarp Kamyo
ต่อลาภ คำโย
Maejo University. Maejo University - Phrae Campus
Keywords: การใช้ประโยชน์ที่ดิน
ดัชนีพืชพรรณ
เทคโนโลยีสำรวจข้อมูลระยะไกล
อุทยานแห่งชาติ
Land use
Vegetation index
Remote sensing technology
National park
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: Studying changes in the land use of Doi Pha Klong National Park, Phrae Province, has 2 objectives: (1) to learn the changes about the land cover of the vegetation index and changes in the land use, and (2) to classify and analyse changes in the land cover of the vegetation index and changes of land use in Doi Pha Klong National Park, Phrae Province, by using a remote sensing (RS) technology from Landsat’s satellite images with normalized differences of the vegetation index as tools to examine the changes in the land cover and the land used by a supervised classification of the visual interpretation of satellite images from 2009 to 2019.               According to the study of changes in land use of Doi Pha Klong National Park during 2009 to 2013, it was discovered that forestland had been increased by 1.1 per cent, and during 2013 to 2019 the forestland decreased by 2.1 per cent. In terms of changes in land use during 2009 to 2013, the study found that it declined yearly with the average change of 6.51, 2.71, 0.39 and 0.34 per cent consecutively. However, agricultural land grew with a 9.95 per cent of the average in the change. Furthermore, during 2013 to 2019 it was revealed that the average of change in agricultural land, miscellaneous land, and water were 3.34, 0.33 and 0.07 per cent respectively. Lastly, forestland and the urban and built-up land expanded with the average of change of 0.51 and 3.22 per cent in turn.
การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์บริเวณอุทยานแห่งชาติ ดอยผากลอง จังหวัดแพร่ มีวัตถุประสงค์ คือ 1)  เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดินของ ดัชนีพืชพรรณและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และ 2)  เพื่อจำแนกและวิเคราะห์ การเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดินของดัชนีพืชพรรณและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน บริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง จังหวัดแพร่ โดยการนำเทคโนโลยีสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing: RS) จากภาพถ่ายดาวเทียม Landsat และค่าดัชนีพืชพรรณผลต่าง แบบนอร์มอลไลซ์เข้ามาเป็นเครื่องมือในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยการจำแนกประเภทข้อมูลแบบควบคุม (Supervised Classification) และวิเคราะห์ข้อมูลภาพดาวเทียมด้วยสายตา (Visual Interpretation) ในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2552 – 2562               จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดินของดัชนีพืชพรรณบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ในช่วงปี พ.ศ. 2552 - 2556 พบว่า บริเวณที่มีพืชพรรณปกคลุมที่เป็นพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น 1.1 เปอร์เซ็นต์ และในช่วงปี พ.ศ. 2556 – 2562 บริเวณที่มีพืชพรรณปกคลุมที่เป็นพื้นที่ป่าลดลง 2.1 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในช่วงปี พ.ศ. 2552 - 2556 พบว่า พื้นที่เบ็ดเตล็ด พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่แหล่งน้ำ และพื้นที่สิ่งปลูกสร้างหรือชุมชน มีอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยต่อปีลดลง เท่ากับ 6.51, 2.71, 0.39 และ 0.34 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่พื้นที่เกษตรกรรมมีอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้นเท่ากับ 9.95 เปอร์เซ็นต์ และในช่วงปี พ.ศ. 2556 – 2562 พบว่า มีอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยต่อปีลดลงในพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เบ็ดเตล็ด และพื้นที่แหล่งน้ำเท่ากับ 3.34, 0.33 และ 0.07 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่สิ่งปลูกสร้างหรือชุมชน มีอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.51 เปอร์เซ็นต์ และ 3.22 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
Description: Master of Science (Master of Science (Forest Management))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการป่าไม้))
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/837
Appears in Collections:Maejo University - Phrae Campus

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6208301007.pdf4.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.